7 ขั้นตอนสุดง่าย สำหรับมือใหม่ หัดเขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย

            คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

2.กำหนดรูปแบบ            

            วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีการอธิบายเป็นลำดับขั้น ( Hierarchical Format) เขียนโดยใช้ลำดับหัวข้อใหญ่ และมีหัวข้อย่อย หรือการใช้ภาพประกอบคำอธิบาย เช่น  การจัดเตรียมวัตถุดิบ การปรุงตกแต่งเมนู การจัดโต๊ะเสิร์ฟ การใช้งานเครื่องจักร  สุดท้ายคือ SOP ที่เขียนเพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงานที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในส่วนอื่น ๆ เช่น  (Flowchart) หรือการทำ Mind Map  รูปแบบนี้ยังใช้ได้ผลดีสำหรับการปฏิบัติงานที่ผลสามารถเกิดขึ้นได้หลายๆ ทางในสถานการณ์จริง เช่น การวาง SOP สำหรับบริหารจัดการลูกค้าร้องเรียน ซึ่งจะต้องกำหนดให้มีแนวทางในการแก้ไขสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

 

3.กำหนดรายละเอียด

            เจ้าของร้านอาหารบางท่าน มองว่า SOP ทำให้การดำเนินงานไม่ยืดหยุ่น มีความละเอียดมากเกินไปจนขาดอิสระในการดำเนินงาน จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการลงรายละเอียดมากนัก แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ยิ่งคุณอยากอิสระในการบริหารร้านอาหารมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องลงรายละเอียดงานที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นมาตรฐาน ลดเวลาในการฝึกอบรม เจ้าของร้านอาหารก็มีอิสระในการจัดงานส่วนอื่น แทนที่จะต้องมาใช้สัญชาตญาณในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหน้าร้านตลอดเวลา

 ก่อนเริ่มต้นเขียน SOP งานในแต่ละส่วน จะต้องลิสต์ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง  ใครเป็นผู้เกี่ยวข้อง ณ หน้างานนั้น ๆ บ้าง จากนั้นกำหนดขอบเขตเพื่อลงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนให้รัดกุม เจ้าของร้านอาหารควรได้พูดคุยกับทีมงาน และเปิดโอกาสให้ทีมที่เกี่ยวข้องเสนอแนวทาง ก่อนจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกข้อกำหนดการปฏิบัติงานที่คิดว่าได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยสามารถเลือกแนวทางที่สามารถวัดผลได้

 

4. ต้องออกแบบด้วยตัวเอง

            ทุกสิ่งที่ลูกค้าได้สัมผัสคือประสบการณ์ที่เขาได้รับจากร้านอาหารของคุณ ประสบการณ์เหล่านี้สามารถกำหนดได้ด้วย SOP เพราะฉะนั้น SOP จึงไม่ใช่การจัดทำโดยมีวัตถุประสงค์ด้าน Function เพียงอย่างเดียว แต่มีวัตถุประสงค์ด้าน Emotion ร่วมด้วย โดยเฉพาะ  SOP ด้านการบริการ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการสื่อสารโดยตรงกับลูกค้า ปัจจุบันคุณสามารถค้นหา SOP งานบริการได้จากร้านอาหารทั่วโลก มี SOP ที่ดีที่สุดที่สามารถนำมาปรับใช้กับร้านอาหารของคุณได้มากมาย  แต่การเขียน SOP ในการให้บริการที่ดีที่สุด คือการเขียนมันขึ้นมาเอง โดยสอดคล้องกับคอนเซปต์ร้านอาหารของคุณ

 

5. ตรวจสอบ

            หลังจากเขียน SOP ในแต่ละส่วนเสร็จแล้ว จำเป็นต้องมีการรีวิว SOP เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนการนำไปใช้งานจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดของ SOP คือ ทีมงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจ จดจำได้ง่าย และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบต้องคำนึงถึงผลกระทบการใช้งานจริงในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น  ความเหมาะสมกับสถานการณ์จริง ความปลอดภัย  อุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อมในการทำงานจริง

 

6.ทดสอบการใช้งาน

            ควรกำหนดให้มีการทดสอบการบริหารจัดการหน้าร้าน เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับทีมงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เห็นถึงความต่อเนื่องเพื่อปรับแก้ไขก่อนใช้งานจริง  โดย SOP ที่ให้ประสิทธิผลที่สุด ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกขั้นตอนว่าต้องทำอย่างไรเพียงเท่านั้น แต่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ทีมงานเกิดความเข้าใจว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น เช่น พนักงานเสิร์ฟถูกกำหนดให้ถามลูกค้าก่อนเสิร์ฟน้ำแก้วใหม่ให้ทุกครั้งก็อาจจะรู้สึกว่าเสียเวลา แต่เมื่อรู้เหตุผลว่า จากสถิติการถามลูกค้าก่อนจะให้บริการนั้นลูกค้ารู้สึกดีกว่าเพราะรู้สึกว่าไม่ถูกรบกวน สร้างความรู้สึกที่ดีในการบริการ และยังเป็นช่วงที่พนักงานสามารถแนะนำเครื่องดื่มที่ใกล้หมดเพื่อให้เกิดการสั่งเพิ่มเติมได้ พนักงานก็จะมีความเข้าใจและมีเป้าหมายในการปฏิบัติงานตาม SOP ที่ได้กำหนดไว้

 

7.แก้ไขและพัฒนา          

การเขียน SOP นั้นไม่ใช่งานที่ทำเสร็จเพียงครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาด้วย การเขียน SOP สามารถกำหนดให้ใช้งานได้ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งควรกำหนดให้มีการวัดผล เช่น กำหนดไตรมาส เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบในระยะเวลาที่กระชั้นชิดเกินไปส่งผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินเงิน ทำให้ระบบไม่นิ่ง  อย่างไรก็ตาม ควรรีวิว SOP เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับแก้รายละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

SOP เป็นเครื่องมือในการวางระบบที่สำคัญต่อร้านอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งหากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหารที่อยากวางระบบ SOP ร้านอาหารของคุณให้ดีมากขึ้น แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ  นี่คือโอกาสที่คุณจะได้เรียนรู้และสามารถวางแผนระบบร้านอาหารอย่างชำนาญด้วยตัวคุณเอง ในหลักสูตร “SOP & Recipe Workshop รุ่นที่ 1” สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็น ระบบ ที่จะให้คุณเรียนรู้การวางระบบร้านให้ได้มาตรฐานพร้อมกับการฝึกปฏิบัติการจริง จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ แถมเผยสูตรเด็ดจากเชฟ A Cuisine ที่สามารถนำไปใช้เพื่อทำกำไรกับที่ร้านของคุณได้ด้วย

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

เรื่องแนะนำ

5 ปัญหาร้านอาหาร ยอดฮิต ที่เจ้าของมักเจอ

ปัญหากับร้านอาหารเป็นของคู่กัน ยิ่งช่วงเปิดร้านแรกๆ อาจต้องแก้ปัญหาเป็นรายวัน วันนี้เราจึงขอรวบรวม ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมักเจอมาแชร์ให้ทุกคนทราบกัน

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

ไผ่ทอง ไอศกรีม

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้าน ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

ออกแบบเมนูร้านอาหาร เมนูไหนควรเชียร์ขาย เมนูไหนควรตัดทิ้ง!

ไม่รู้จะตัดเมนูไหนทิ้งหรือควรเชียร์ขายเมนใด เรามีหลักการง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณ ออกแบบเมนูร้านอาหาร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มาแชร์ให้รู้กัน!

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.