เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! - Amarin Academy

เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie!

ชอบกิน ชอบลอง และชอบแชร์ประสบการณ์ร้านอาหารใหม่ ๆ กลุ่ม Foodie จึงเป็นกลุ่มที่ร้านอาหารในยุคนี้ให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถขายให้กลุ่มนี้ได้มากแล้ว คนกลุ่มนี้ยังทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย เรามาดู เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! กันครับ

 

เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie!

เซฟเงินแต่ได้ภาพ

แม้กลุ่ม Foodie ยินดีจะจ่ายเงินในการกิน ดื่ม เพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่ก็มองหาทางที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายอยู่เหมือนกัน โปรโมชั่นที่น่าสนใจคือ เป็นส่วนลดที่ให้ประสบการณ์ที่พิเศษ เช่น คูปองส่วนลดเพื่อได้ทดลองเมนูใหม่ หรือการร่วมกับบัตรเครดิตโดยการแลกแต้มบัตรสะสมในบัตรเป็นเมนูพิเศษ นอกจากนั้นโปรโมชั่นที่ทำให้ได้กินอาหารอย่างหลากหลายในราคาที่ถูกกว่า เช่น มา 4 จ่าย 3 ของร้านอาหารบุฟเฟต์ นอกจากคุ้มค่าแล้วยังได้ภาพถ่ายเยอะอีกด้วย

 

ท้าทายและน่าแชร์

กลุ่ม Foodie ชอบการแชร์ภาพถ่ายลงในโซเชียลมีเดีย สนุกกับการเล่าเรื่องอาหารในมุมมองตัวเอง ซึ่งโปรโมชั่นออนไลน์ไม่ได้มีเพียงแค่เช็คอิน แชร์ แล้วได้รับสินค้าฟรี แต่การใส่ความสนุกเข้าไปจะทำให้เกิดการแชร์ที่อิมแพคมากกว่า เช่น แคมเปญตอกไข่ของ MK หรือการจับคูปองที่มีโอกาสซื้อสินค้าพิเศษได้จำนวนจำกัด นอกจากนำเสนอจุดขายของเมนูใหม่แล้ว ยังส่งเสริมให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมอีกด้วย

 

เร็วและเอ็กซ์คลูซีฟ

ปัจจุบันลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น มีความเป็น individual สูง เพราะการนำเสนอสินค้าหรือโปรโมชั่นที่เฉพาะ จะทำให้เกิดความประทับใจมากกว่า โดยเฉพาะกลุ่ม Foodie ซึ่งร้านสามารถทำโดยการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้าไว้ และการจัดแคมเปญการตลาด ๆ ที่เจาะกลุ่มความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกับเวลา นอกจากนั้นการเล่นกับกระแสก็เป็นการดึงกลุ่ม Foodie ที่ต้องการแชร์ประสบการณ์เป็นคนแรก ๆ ในกลุ่มเพื่อนได้ดีเหมือนกัน

 

ให้ประสบการณ์ด้วยการเล่นกับเทคโนโลยี

แพลตฟอร์มระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ ทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดีในการเข้ามาใช้บริการที่ร้าน สามารถคิดโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าให้เข้าร่วม เพื่อแก้ปัญหาการจัดการหน้าร้านได้ดีอีกด้วย เช่น ให้สิทธิส่วนลดกับลูกค้าการจองคิวผ่านแอพพลิเคชั่น การสั่งอาหารที่สามารถเลือกได้เอง จ่ายเงินได้เองผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถรับบริการได้รวดเร็วขึ้น

เพราะกำลังซื้อในตลาดมุ่งไปสู่กลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่ม Young แทนกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ดังนั้นร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน จึงมีการเปลี่ยนจากกลุ่มรายได้สูงไปยังกลุ่ม foodie ซึ่งมีอายุน้อย ไม่ต้องกังวลกับเรื่องค่าใช้จ่ายแทน แต่แนวความคิดที่ว่ากลุ่ม Foodie จะเป็นคนในกลุ่ม Young ที่มีอายุ 18-24 ก็ไม่ใช่อีกต่อไป เพราะกลุ่มคนที่สูงวัยอายุ 35 ปีขึ้น แต่มีรายได้สูงก็มีพฤติกรรมที่เข้ากลุ่ม Foodie ได้เหมือนกัน ดังนั้นการเก็บ Data ลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นร้านไหนสามารถคาดการณ์ได้ถึงพฤติกรรมล่วงหน้า และวางโปรโมชั่นให้ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงได้ก่อน มีแววรุ่งมากกว่าคู่แข่งอย่างแน่นอน

 

เรื่องแนะนำ

บอนชอน

ไขสูตรลับธุรกิจดัง บอนชอน ขายไก่ยังไงให้ได้ 1000 ล้าน!

เพราะอะไรบอนชอนถึงเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังอย่าง KFC ได้ แถมยังจุดกระแสให้ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงานยอมต่อแถวรอคิวเข้าร้านเป็นชั่วโมง!

ลด แลก แจก แถม โปรโมชั่น ไหนถูกใจลูกค้า

ร้านอาหารที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ ๆ หรืออยู่ในช่วงที่ร้านซบเซา หลายร้านก็เลือกที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด หรือ โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อตามที่ต้องการแล้ว เจ้าของร้านอาหารควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้างเพื่อให้ร้านประสบความสำเร็จในการนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้ โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการผลักดันแคมเปญทางการตลาดให้กับร้านได้อย่างน่าสนใจ   ลด แลก แจก แถม โปรโมชั่น ไหนถูกใจลูกค้า   ลด ทำอย่างไรถึงจะขายได้เพิ่มมากขึ้นในช่วง Off Peak ? กลยุทธ์ในการลดสินค้านั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ และตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่แตกต่างกัน เช่น การแนะนำสินค้าใหม่ การเพิ่มยอดขายให้กับบางเมนูที่ลูกค้าไม่เคยสนใจมาก่อน  หรือลดเพื่อให้สั่งเมนูอื่น ๆ ในร้านมากขึ้นก็ตาม  ข้อสังเกตก็คือ ร้านค้าที่สามารถจับอินไซต์ลูกค้าของตัวเองได้เก่ง ก็จะได้รับการตอบรับจากลูกค้าได้ดี เช่น ร้านอาหารร้านหนึ่งตั้งอยู่ในย่าน Office ทำให้ร้านสามารถมี peak time แค่ช่วงเวลากลางวัน แต่ขายไม่ได้เลยในช่วงเวลา Off Peak  ร้านจะสังเกตได้ว่า ช่วงเวลาสักบ่ายสามพนักงานออฟฟิศอยากสั่งของทานเล่นกันมาก จึงเลือกนำเมนูทานเล่นพร้อมเซตเครื่องดื่มมาจัดโปรโมชั่นแทนที่จะเลือกเมนูหนักมาจัดทำโปรโมชั่น การกำหนดกลยุทธ์โดย Consumer Centric เช่นนี้ […]

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

ปัญหาเรื่องวัตถุดิบเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารแทบทุกคนต้องเคยปวดหัว วันนี้เราจึงขอแนะนำ เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง! ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน! . ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40% ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15% ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20% ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.