Go Mass หรือ Go Niche โตแบบไหนเหมาะกับร้านของคุณ - Amarin Academy

Go Mass หรือ Go Niche โตแบบไหนเหมาะกับร้านของคุณ

 

              “เมื่อสินค้าไม่ได้แตกต่าง ลูกค้าจะเปรียบเทียบที่ราคาเสมอ” นั่นเป็นเหตุผลว่าคุณจะต้องทำร้านอาหารให้แตกต่างจากคู่แข่ง สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความแตกต่าง นอกจากการออกแบบสินค้าและบริการ ก็คือ การทำการตลาดและการสร้างแบรนด์ แล้วจะสร้างแบบไหน Go Mass หรือ Go Niche ที่เหมาะสมกับร้านของคุณ บทความนี้มีคำตอบ

 

>>MASS คืออะไร Niche เป็นแบบไหน ?

            การมุ่งตลาด Mass คือ การทำร้านอาหารเพื่อตอบโจทย์คนหลายกลุ่ม มีความต้องการชัดเจน มีขนาดตลาดที่ใหญ่ ในขณะที่ Niche คือ การเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ มีขนาดตลาดที่แคบลงมา มีผู้เล่นน้อยราย มุ่งการสร้างมูลค่าให้กับสินค้า และสามารถขายสินค้าในระดับราคาที่สูงมากกว่า Mass

ยกตัวอย่าง สมัยก่อนร้านอาหารญี่ปุ่นมีความนิยมที่จำกัด เนื่องจากมีราคาสูง นิยมแค่คนไทยที่เคยไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่น ร้านอาหารญี่ปุ่นจึงไปแฝงตัวตามย่านธุรกิจที่มีคนญี่ปุ่นทำงานและใช้ชีวิตอยู่ เช่น สุขุมวิท สีลม จึงเป็นตลาดที่ค่อนข้าง Niche เจาะลูกค้ามีกำลังซื้อสูง เมื่อเทรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมมากขึ้น การเข้าถึงมีมากขึ้น วัตถุดิบหาได้ถูกลง จึงเกิดร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีหลายตัวเลือก ราคาเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม  อาหารญี่ปุ่นจึงกลายเป็นตลาด Mass ที่มีการแข่งขันมากที่สุดในปัจจุบัน

 

>>เหตุผลที่ควรทำร้านให้เจาะลูกค้าแบบ Niche Market  

เราอยู่ในยุคที่ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความเฉพาะตัวมากขึ้น มีความต้องการแบบ Individual ตลาด Niche จึงมีความสำคัญกับการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นมาก  และด้วยปัจจัยด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณการตลาด  Niche จึงเป็นคำตอบของผู้ประกอบการใหม่  หรือผู้ประกอบการ SME ได้มากกว่า  เพราะแม้ว่าตลาด Mass จะมีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากก็จริง แต่ก็มีผู้เล่นมากขึ้นทุกวัน การต่อสู้ด้วยสงครามราคาเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากที่ผู้ประกอบการเจ้าเล็ก ๆ จะมีพลังในการสร้างแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก เพื่อแข่งขันกับเจ้าใหญ่ ๆ ได้

 

>>Niche โอกาสที่รอการเติบโต

เมื่อเทรนด์เกิดขึ้น ภาพรวมของธุรกิจเติบโตไปในทิศทางที่มุ่งตลาดเฉพาะมากขึ้น  ดังจะเห็นได้จาก ห้างร้าน หรือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เริ่มให้ความสำคัญกับตลาดที่ Niche  ที่มากขึ้น มีการเจาะความต้องการกลุ่มลูกค้าตาม Lifestyle เฉพาะ เช่น ห้างที่เจาะกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ กลุ่มครอบครัวซึ่งเน้นกิจกรรมสำหรับเด็ก การเกิดขึ้นของอาคารแบบ Mix Use  ที่เน้นทำพื้นที่ตอบโจทย์สำหรับคนทำงานของกลุ่ม Start up เท่านั้น จึงเกิดทำเลที่เลือกกลุ่มลูกค้าเฉพาะเข้ามามากขึ้น ร้านอาหารเล็ก ๆ เจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ที่สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์แบบนี้ก็มีโอกาสที่จะเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น

 

>>เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ชัด

            โดยทั่วไป การเจาะกลุ่มเป้าหมายร้านอาหาร มีปัจจัยสำคัญๆ อยู่  3 อย่างก็คือ ทำเล ราคาขาย คอนเซ็ปต์ของร้าน ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าคุณกำลังทำร้านอาหารเพื่อขายใคร ทั้งในแง่กลุ่มอายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความสามารถในการจ่าย การสร้างแบรนด์ที่ดี จะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน หรือการทำ Segmentation Target Positioning เพื่อช่วยให้คุณกำหนดกลยุทธ์ว่าจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของคุณได้ในรูปแบบไหน สามารถตอบได้ว่า จะนำเสนอจุดแข็งของร้านได้อย่างไร ขายเมนูอะไร หรือมีบริการอะไรที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้

โดยปัจจุบัน ลูกค้าส่วนใหญ่มุ่งที่จะจ่ายให้กับสินค้าที่สามารถสนองตอบด้านอารมณ์ หรือสามารถแก้ปัญหาบางอย่างให้แก่เขาได้ การจับปัญหา และความต้องการลึก ๆ ของลูกค้าให้เจอ ก็สามารถที่จะเข้าไปสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นกับลูกค้าได้

 

>>คอนเซ็ปต์ร้านช่วยดึงดูด

คอนเซ็ปต์ของร้านจะเป็นตัวดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย และทำให้ร้านของคุณแตกต่างจากร้านอื่นทั่วไป การทำคอนเซ็ปต์ร้านที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่แคบลง จะทำให้คุณทำการตลาดได้ง่ายกว่าในระยะเริ่มต้น หากสื่อสารแบรนด์ออกไปให้น่าสนใจพอ และเมื่อจุดแข็งของ Niche ก็คือ ความแตกต่างซึ่ง มีข้อดีคือเรื่องของแบรนด์ถูกเล่าโดยลูกค้าถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มที่มีความต้องการจริง ๆ การตลาดแบบปากต่อปากเกิดขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณทางการตลาดที่สูงในยุคปัจจุบัน

ในปัจจุบัน จะเห็นว่า มีร้านอาหารที่มีคอนเซ็ปต์น่าสนใจมากมาย ที่สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเฉพาะที่ยอมจ่ายในราคาที่สูงเพื่อแลกกับประสบการณ์ใหม่ เช่น ร้านเบอร์เกอร์แบบโอมากาเสะแห่งหนึ่ง ที่ไม่ได้กำหนดราคาขาย แต่เสนอราคาให้อยู่ที่ความพอใจที่จะจ่ายของลูกค้า เป็นต้น ทำให้ร้านเล็กที่ไม่ได้มีชื่อเสียงมาก่อนเป็นร้านที่สามารถติดอันดับการจองคิวที่ยากที่สุดในประเทศไทยได้ในระยะเวลาหลังจากเปิดไม่ถึงเดือน

ในขณะที่การตลาดแบบ Mass  ก็ไม่หมดโอกาสสำหรับผู้เล่นใหม่ ๆ ไปเสียหมด ถ้าเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง  ว่าปัจจัยในการเลือกร้านของลูกค้าคืออะไร เช่น ความรวดเร็ว ปริมาณ ราคา อาจจะต้องพัฒนาตรงนี้ให้เป็นจุดแข็ง

 

อย่างไรก็ตามถึงคุณจะเริ่มต้นด้วย  Niche ก็สามารถเติบโตขึ้นไปเป็น Mass ได้ เมื่อแบรนด์มีความแข็งแกร่งพอ มีฐานแฟน รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคขยายตัวมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าร้านของคุณจะมุ่งตลาดแบบไหน คุณภาพ รสชาติ และการบริการ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจร้านอาหาร และเป็นเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคที่ดีที่สุด

เรื่องแนะนำ

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

บริหาร ปัญหาคน ให้ลงตัว เรื่องที่เจ้าของร้านต้องจัดการให้ได้

การที่คุณจะประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหาร ร้านคุณจะต้องมีอาหารอร่อย บริการที่ถูกใจ  บรรยากาศที่ดี ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใช้ คนในการขับเคลื่อนทั้งสิ้น การเตรียมพร้อมเรื่อง ‘คน’ ได้ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ร้านอาหารต้องจัดการให้ได้ เพราะมีร้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลงเพราะ ปัญหาคน หรือพนักงานในร้านนั่นเอง ดังนั้น เจ้าของร้านควรรู้ก่อนเปิดร้านว่า ปัญหาเรื่องคนที่ต้องเจอมีอะไรบ้าง และมีวิธีการวางแผน หรือแก้อย่างไร   ปัญหาคน อะไรบ้างที่ร้านอาหารต้องเจอ 1. หาพนักงานยาก จะทำอย่างไรเมื่อร้านกำลังจะเปิด แต่ไม่มีคนทำงานให้ การสรรหาพนักงานจึงควรกำหนดเป็นแผนงานก่อนเปิดร้านอาหาร ถ้าเราแบ่งทีมงานด้านอาหารเป็น 2 ทีมหลัก คือทีมครัว และทีมหน้าร้าน ทีมครัวที่ควรจะหาได้เป็นอันดับแรกคือเชฟ เพราะจำเป็นต่อการกำหนดรูปแบบของอาหาร สูตรอาหารของร้าน โครงสร้างต้นทุนและวัตถุดิบ  ร้านควรกำหนดการหาพนักงานให้ได้ 90 % ก่อน 2-3 เดือนก่อนร้านเปิด เช่น ผู้จัดการร้าน  ผู้ช่วย พนักงานรับ Order  ที่เหลือสามารถหาได้ก่อนเปิดร้าน 1 เดือน  เช่น พนักล้างจาน  Food Runner   2.Turn Over สูง  ปัญหาคนเข้าออกเป็นปัญหาที่ร้านอาหารแทบทุกร้านต้องเจอ […]

4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!

เปิดร้านอาหาร เป็นหนึ่งในอาชีพแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก จึงไม่แปลกที่ในช่วงโควิด จะมีการขายของกินออนไลน์กันอย่างคึกคัก บางคนที่เริ่มทำเป็นรายได้เสริม อาจจะทำรายได้ดีกว่ารายได้หลักเสียอีก  ถ้าในอนาคตจะเปิดเป็นหน้าร้าน หรืออยากขยายกิจการต่อไป จะต้องทำอย่างไรต่อไป ลองมาดู 4 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ที่สรุปมาเพื่อให้ร้านของคุณโตได้โดยไม่ต้องเจ็บตัว และเป็นก้าวแรกที่มั่นคงของธุรกิจครับ  4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!   1.วางรูปแบบร้านให้ชัดเจน การวางรูปแบบของร้านอาหารให้ชัดเจน จะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เกิดความน่าสนใจมากกว่าร้านทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์  เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน ควรเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์และจำง่าย เข้ากับประเภทของร้านอาหาร เมนูอาหารในร้าน รวมถึงสไตล์การตกแต่งภายใน ควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  ขอยกตัวอย่างร้านกาแฟ ที่มีความหลากหลายมากในปัจจุบัน นอกจากรสชาติที่ดีของกาแฟแล้ว แต่ละร้านก็จะมีจุดขายที่แตกต่างกัน บางร้านก็ใช้การตกแต่งร้านและสวนให้สวยงาม เพื่อให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูปเช็คอินลงในโซเซียลมีเดีย บางร้านก็เปิดเป็นคาเฟ่แมว เพื่อให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายกับน้องๆ ในร้าน หรือแม้แต่การคิดเมนูที่สร้างสรรค์ต่างๆ ก็เป็นแนวทางในการสร้างจุดเด่น ที่ทำให้ลูกค้าจะเลือกมาที่ร้านของเรา และได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไป 2.เลือกทำเลที่เหมาะสม เพราะทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลประกอบการของร้าน การเลือกทำเลตั้งร้านอาหารจะต้องคำนึงถึงกลุ่มฐานลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งในละแวกเดียวกัน ที่จอดรถของร้าน ความสะดวกต่อการเข้าถึง และความสะดุดตาของร้าน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.