สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา - Amarin Academy

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

ร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปที่ร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าพยายามไปตามหาเพื่อไปกินให้ได้ หรือมีลูกค้าไปนั่งรอกินเป็นวันๆได้ นั่นเป็นเพราะร้านอาหารเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูด ที่สามารถเรียกความสนใจลูกค้าได้มากพอ ซึ่งร้านของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วย สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณให้มีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามา

 

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

‘จุดเด่น’ ที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้

            เมนูซิกเนเจอร์ ไม่ใช่เมนูอะไรก็ได้ที่ร้านของคุณทำอร่อย แต่ต้องเป็นเมนูที่โดดเด่นพอที่ลูกค้าจะต้องสั่งทุกโต๊ะ หรือดั้นด้นมากิน เพราะฉะนั้นถ้าคุณขายแซลมอน แล้วเมนูซิกเนเจอร์เป็นแซลมอนคุณภาพดี อาจจะทำให้ร้านของคุณไม่ได้แตกต่างเมื่อเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน

วิธีสร้างจุดเด่นก็คือ สร้างเสน่ห์ให้กับเมนูนั้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเมนูที่แปลกใหม่ รูปแบบการจัดจาน รูปแบบการเสิร์ฟ ชื่อของเมนู รวมถึงเรื่องราวที่คุณเล่าเกี่ยวกับเมนูนั้น ๆ เช่น กรณีแซลมอนที่เคยเสิร์ฟวางเป็นชิ้น ๆ อาจจัดวางเป็นทรงสูง ตกแต่งด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นภูเขาไฟ เสิร์ฟมาพร้อมกับควันของภูเขาไฟ แล้วตั้งชื่อว่า ฟูจิซังแซลมอน เป็นต้น

ข้อคำนึงอีกประการก็คือ โดยปกติลูกค้าโดยทั่วไปจะมีค่ามาตรฐานในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึงเป็ด คนจะนึกถึงเป็ดย่าง MK เพราะฉะนั้นถ้าร้านอาหารของคุณมีซิกเนเจอร์เป็นเป็ด ก็ควรจะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า หรือดีกว่าไปเลย หากไม่สามารถทำได้ก็ใช้เทคนิคในการสร้างความโดดเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้ว

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ  คือ ร้าน After You ที่ตั้งใจให้ขนมเค้กเป็นเมนูซิกเนเจอร์ แต่เมนูติดตลาดของทางร้านกลับกลายเป็นเมนูโทสต์ ทางร้านจึงหันมาพัฒนาและต่อยอดให้เมนูโทสต์มีความอร่อย และหลากหลาย ทำให้เมื่อลูกค้าอยากกินโทสต์อร่อย ๆ ก็จะนึกถึงและมากินที่ After You เพราะฉะนั้นบางครั้งเมนูซิกเนเจอร์อาจเกิดจากการนำสิ่งที่ลูกค้าชื่นชอบจริง ๆ และนำมาพัฒนาต่อยอดก็ได้เช่นกัน 

 สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร

ทำตัวให้ลูกค้า Needs ที่สุด

ความสะดวกเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรกก็จริง แต่บางครั้งการเล่นกับความไม่สะดวกก็ทำให้เกิดความต้องการได้เหมือนกัน เช่น การขายเมนูพิเศษมาก ๆ ในจำนวนหรือช่วงเวลาที่จำกัด  สิ่งสำคัญคือ ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายหลักของคุณด้วยว่าสอดคล้องหรือไม่

ตัวอย่างเช่น เมนูมาม่าเจ๊โอว นอกจากการทำเมนูธรรมดาให้พิเศษขึ้นมาแล้ว การจำกัดการขายแค่ช่วงเวลาดึก ยังสอดคล้องกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มที่จะชอบลองสิ่งใหม่  ๆ และสามารถใช้เวลาแลกกับประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครอบครัว การสร้างความต้องการ เป็นสิ่งที่สามารถแก้ปัญหาให้แก่พวกเขา เช่น การเพิ่มเมนูและบริการสำหรับเด็ก เมนูเซตที่เหมาะสำหรับความต้องการที่หลากหลายของแต่ละคนในครอบครัว เป็นต้น

 

สร้างร้านให้กลายเป็นแลนด์มาร์ค ทำให้ลูกค้าอยากแชร์

จงทำร้านของคุณให้เหมือนเป็นแลนด์มาร์คที่ทุกคนต้องมาถ่ายรูปด้วยสักครั้ง นั่นก็คือการสร้างคุณค่าขึ้นในใจลูกค้าพอที่จะโชว์คนอื่น อยากถ่ายรูป อยากแชร์ อยากอวด อยากกิน ซึ่งคุณสามารถสร้างได้จากรูปร่างหน้าตาของอาหารที่สวย แปลกตา การบริการที่ดี วิธีในการเสิร์ฟที่แตกต่าง หรือการตกแต่งบรรยากาศร้านที่ทำให้ลูกค้าต้องหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาถ่ายภาพเพื่อแบ่งปันประสบการณ์นี้ออกไปในโลกโซเชียล

ตัวอย่างเช่น ร้านทองย้อย คาเฟ่ ร้านขนมไทยที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นมากๆ ทั้งในเรื่องของขนมไทยที่รสชาติอร่อย เสิร์ฟมาในภาชนะทองเหลืองสวยงาม ดูมีความเป็นไทยโบราณ ที่ใครเห็นก็ต้องถ่ายรูปแชร์ก่อนทานแน่นอน รวมถึงบรรยากาศในร้านยังตกแต่งเป็นสวนดอกไม้สีสันสดใส ใครไม่ถ่ายรูปเช็คอิน ถือว่ามาไม่ถึงเลยทีเดียวสร้างเสน่ห์ร้านอาหาร

 

คุ้มค่าพอที่จะจ่ายมากขึ้น

การคิด Sale Mix ให้น่าสนใจ เร้าความต้องการให้ลูกค้าไม่รู้สึกตัวว่า กำลังจ่ายมากขึ้น แต่เมื่อจ่ายแล้วก็รู้สึกว่าคุ้มค่าทางความรู้สึก เช่น การจัดเมนูเพิ่มจากเมนูปกติ เช่น ร้านราเมง  มีการเพิ่ม Topping  เป็นไข่ระเบิด หรือเปลี่ยนจากเนื้อปกติเป็นเนื้อพรีเมี่ยม ออกแบบเมนูเซตที่จะสร้างจินตนาการในหัวของลูกค้าได้ว่า เมื่อจ่ายเพิ่มขึ้นมาอีกนิดจะได้รับในสิ่งที่ดีขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ  อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติลูกค้ามักจะคาดหวังสูงเมื่อต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น จึงควรคำนึงเรื่องการออกแบบเมนู รวมถึงรักษามาตรฐานสินค้าของตัวเองให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุดด้วย

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยววัวนู้ด เปลี่ยนจากเมนูก๋วยเตี๋ยวเนื้อธรรมดา แต่สามารถขายความพิเศษให้มากขึ้น ด้วยการใช้เนื้อพรีเมี่ยมขึ้น รวมถึงสร้างความหลากหลายให้ลูกค้ามีตัวเลือกที่เพิ่มมากขึ้น

 

จีบติดแล้ว ทำให้มาหาบ่อย ๆ

การเพิ่มสีสันให้กับร้านของคุณ จะช่วยดึงโมเมนตั้มให้ลูกค้ารู้สึกต้องติดตามร้านของคุณไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการออกเมนูใหม่ ๆ อยู่เสมอ การจัดแคมเปญ การสร้างคอนเทนต์ การจัดกิจกรรมการตลาดทั้งช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เหนือสิ่งอื่นใด สำคัญที่สุด คือต้องรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการร้านของคุณไว้ให้ได้

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร

นอกจากนั้นหากมีงบประมาณเพียงพอ ควรใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างระบบ CRM เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นลูกค้าประจำ และสามารถเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อออกแบบเมนูและโปรโมชั่นที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด สามารถส่งข้อมูล เพื่อย้ำเตือนลูกค้าให้เกิดความต้องการมากินอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น Maguro  เป็นร้านอาหารที่ได้รับการยอมรับว่าจัดหน้าตาเมนูสวยที่สุดเจ้าหนึ่งในเมืองไทย ทางร้านให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานและพัฒนาหน้าตาเมนูอยู่ตลอด และยังออกแบบให้การจัดการหน้าร้านมีการสื่อสารระหว่างทีมงานและเจ้าของได้โดยตรง  ถ้าหากมีลูกค้าตำหนิก็สามารถแจ้งทีมเพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที รวมถึงยังเป็นแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งได้อย่างน่าสนใจอีกด้วย

 

รู้แบบนี้แล้ว แต่ละร้านก็อย่าลืมที่จะนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ตามความเหมาะสมของร้าน เพื่อเป็นการ สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณ รับรองว่าลูกค้าไม่หนีไปไหนแน่นอน

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

How to 10 เทคนิค ถ่ายภาพอาหารให้น่ากิน

ส่อง 5 เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้

กลุ่มลูกค้าองค์กร 5 ประเภท ที่ธุรกิจเดลิเวอรี่ ควรเจาะตลาด

20 เทรนด์ ธุรกิจอาหาร ปี 2020 ที่ผู้ประกอบการควรรู้!

5 รูปแบบโต๊ะอาหาร เลือกอย่างไร ให้เหมาะกับร้านของคุณ

เรื่องแนะนำ

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ พลิกโฉมกาแฟห้องแถว สู่ร้านกาแฟทันสมัยแต่แฝงกลิ่นไอความคลาสสิก

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ มีวิธีการปรับตัวเพื่ออยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงอย่างไร และมีเคล็ดลับการรักษาแบรนด์อย่างไร ไม่ให้ถูกกลืนหายไปกับกระแสสังคม

ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

8 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

เปิดร้านอาหารทั้งที ก็อยากทำให้ดีที่สุด แต่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าชื่นชอบและประทับใจในทุกๆ ด้าน วันนี้เรามี 10 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ มาแนะนำ

ร้านอาหารฟื้นตัว

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่         ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ   ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต   1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ         การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.