ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ ! - Amarin Academy

ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ !

ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ !

ทุกวันนี้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเบเกอร์รี่ มีผู้เล่นรายใหม่ๆ กระโดดเข้ามาในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการรายใหม่มักให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้าน การพัฒนาสูตรอาหาร การทำโปรโมชั่น การประชาสัมพันธ์ร้านอาหารให้เป็นที่รู้จัก ฯลฯ แต่ลืมมองข้ามสิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือ เตรียมทีมงานร้านอาหาร ให้พร้อม

ลองสังเกตดูว่าวันแรกของการเปิดร้าน เจ้าของร้านจะพบสารพัดปัญหา ทั้งๆ ที่ตัวร้านก็เรียบร้อยดี แอร์เย็น อุปกรณ์เครื่องครัวก็พร้อม สินค้าและวัตถุดิบก็สั่งเข้ามาครบถ้วน ฯลฯ แต่ปัญหามักเกิดขึ้นที่การบริการ ทีมงานรับออร์เดอร์ผิด เสิร์ฟอาหารผิดโต๊ะ ลูกค้าโต๊ะนั้นมา 2 คนแต่พนักงานดันพาไปนั่งโต๊ะใหญ่ พอลูกค้ากลุ่มใหญ่เข้ามา ที่นั่งเต็ม…นั่นเป็นเพราะเราไม่มีการเทรนด์พนักงานให้พร้อมก่อนเริ่มเปิดร้านนั่นเอง

อย่างที่รู้กันว่าหัวใจของการทำธุรกิจอาหารให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การบริหารคุณภาพ (Quality) บริการ (Service) และความสะอาด (Cleanliness) ซึ่งผู้ที่กุมหัวใจสำคัญนี้ก็คือทีมงานนั่นเอง หากเราไม่เตรียมทีมงานให้พร้อมก่อนการเปิดให้บริการ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเกิดขึ้นแน่นอน และจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าผู้ประกอบการจะวิเคราะห์และแก้ปัญหานั้นได้ บางครั้งกว่าจะถึงเวลานั้นก็อาจสายเกินจะเยียวยา เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักไม่ให้โอกาสคุณแก้ตัวมากนัก

แล้วประเด็นสำคัญที่ต้องสร้างทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดร้านมีอะไรบ้างล่ะ?

1.จำนวนพนักงานต้องเพียงพอ: เมื่อพูดถึงเรื่องจำนวนพนักงาน ผมมักเจอคำถามจากผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มอยู่เสมอว่าต้องใช้จำนวนเท่าไร ซึ่งคำถามนี้ไม่มีกูรูท่านใดสามารถตอบได้ชัดเจน เนื่องจากจำนวนพนักงานจะขึ้นอยู่กับ concept ที่ผู้ประกอบการวางไว้ ร้านประเภท Fast Food อาจไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานมากเท่ากับร้านประเภท Casual เพราะไม่ต้องบริการลูกค้ามากนัก ฉะนั้นเราจะเห็นว่าร้านอาหารบางร้านมีพื้นที่เท่ากัน แต่จำนวนพนักงานที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการบริหารจัดการไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป ดังนั้นข้อนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าของร้านเองว่าจะจัดสรรกำลังคนทำงานอย่างไร

2.ค่าจ้างแรงงานควรเป็นเท่าไร: เรื่องอัตราค่าจ้าง เจ้าของร้านอาหารควรกำหนดให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ ควรได้เท่าไร ผู้ที่มีประสบการณ์แล้ว ควรได้เท่าไร หรือบางคนระบุว่ามีประสบการณ์ก็จริง แต่ไม่ใช่ธุรกิจร้านอาหารโดยตรง จะถือว่ามีประสบการณ์หรือเปล่า ข้อนี้ต้องกำหนดให้ชัดเจน เพราะหากไม่มีหลักเกณฑ์กำหนด สุดท้ายคุณจะเจอปัญหาพนักงานการลาออกหรือขาดความตั้งใจในการทำงาน เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม

พนักงานร้านอาหาร
พนักงานร้านอาหาร ในร้าน Copper Buffet ที่ได้ชื่อว่าเป็นร้านอาหานที่บริการดีเทียบเท่า Fine Dining

3.การแบ่งหน้าที่ของพนักงาน: การกำหนดหน้าที่ให้พนักงานแต่ละคนก็สำคัญ อย่าใช้คำว่าช่วยๆ กัน เด็ดขาด เพราะจะทำให้พนักงานสับสน สรุปหน้าที่นี้ใครต้องทำ งานนี้ของฉันหรือเปล่า? เอ๊ะ..แต่ฉันว่างานนี้น่าจะเป็นของเธอ? หรือ งานของเราที่ทำอยู่นี้ต้องประสานกับใคร? แค่ประเด็นนี้ก็ส่งผลกระทบต่อการบริการลูกค้าอย่างที่คุณคาดไม่ถึงแล้วครับ ยิ่งถ้างานผิดพลาด ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?

4.ศึกษาข้อกฎหมายและจ้างแรงงานให้ถูกต้อง: สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะทำธุรกิจอาหาร จำเป็นต้องรู้ข้อนี้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้ เช่น การประกอบกิจการใดๆ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานเขตพื้นที่ภายใน 7 วัน เป็นต้น เพราะถ้าเกิดปัญหา หรือโดนตรวจสอบขึ้นมาเมื่อไหร่ แล้วร้านอาหารเราทำไม่ถูกต้อง เจ้าของร้านปวดหัวแน่นอนครับ

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของการเตรียมความพร้อมเรื่องการสร้างทีมงานที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีรายละเอียดอีกมากที่เราต้องรู้ ลองค่อยๆ ศึกษากันดูนะครับ !

บทความโดย อาจารย์เต้ย – พีรพัฒน์ กองทอง อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท แมคไทย จำกัด (แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก

เรื่องแนะนำ

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย             คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2.กำหนดรูปแบบ                         วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง […]

เบื้องหลัง การทำร้านกาแฟ กับดักที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

ปัจจุบันร้านกาแฟกลายเป็นสินค้าที่ขายไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่เครื่องดื่ม ลูกค้าจึงต้องการมากกว่ารสชาติ แต่ต้องการประสบการณ์การดื่มที่ดีด้วย ไม่ว่าคุณจะ ทำร้านกาแฟ ร้านเล็กๆ หรือร้านกาแฟที่ติดตลาดมีลูกค้าขาประจำ ก็อาจพลาดท่าเสียทีกับดักเหล่านี้ได้เหมือนกัน มาดูกันว่า อะไรบ้างที่ทำให้ร้านกาแฟไม่โตได้อย่างที่หวัง เบื้องหลังการ ทำร้านกาแฟ กับดักคุณที่อาจจะไม่เคยรู้ กับดัก…ลูกค้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดกรณีเจ้าของร้านกาแฟไล่ลูกค้า เนื่องจากลูกค้านั่งนาน ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างกันจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่โทษลูกค้าว่าเอาเปรียบร้าน และอีกฝ่ายที่โทษร้านว่าใจแคบและโต้ตอบกับลูกค้าเกินกว่าเหตุ คำถามคือ คุณจะทำอย่างไรหากสถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับร้านของคุณ คำตอบก็คือ การบริหารจัดการลูกค้า ที่ทำให้หลายร้านติดกับดัก.. ในความเป็นจริงเราไม่สามารถกำหนดว่า ลูกค้าต้องซื้อเครื่องดื่มขั้นต่ำเท่าไหร่ นั่งได้ครั้งละกี่ชั่วโมงเสมอไป โดยเฉพาะร้านกาแฟดี ๆ ย่อมหลีกเลี่ยงกรณีแบบนี้ได้ยาก แต่คุณสามารถทำได้ 3 อย่าง คือ       1. การเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร       2. การออกแบบการบริการที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น       3 .การจัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านบริการ  เพราะฉะนั้นในกรณีที่ลูกค้ากลุ่มหลัก เป็นกลุ่มที่มาใช้ร้านกาแฟเพื่อนั่งทำงานระยะเวลา 2-3 […]

ถอดบทเรียน ทำไมสุกี้ตี๋น้อยถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.?

ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.! ถ้าเราลูกค้าเยอะ เปิดเพิ่มอย่างเขาได้ไหม ? เชื่อว่าใครที่เป็นชาวธนบุเรี่ยน หรือคนฝั่งธนฯ น่าจะต้องเคยเห็นหรือได้ยินว่าตอนนี้เขามีตลาดมาเปิดใหม่ตรงถนนบรมฯ ชื่อ “ตลาดธนบุรี” อยู่แถว ๆ พุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ และรวมร้านเด็ด ร้านดังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงแบรนด์ร้านอาหารมากมายไว้ที่นี่ หนึ่งในนั้นก็คือ “ สุกี้ตี๋น้อย ” แต่ทว่าใกล้ ๆ นี้ ที่ The Paseo Park กาญจนาภิเษก ก็มีสาขาของ สุกี้ตี๋น้อย อยู่นี่นา ลองเปิด Google Map ดู ก็คืออยู่ห่างกันไม่ถึง 5 กิโลเมตรเลยนะ เพราะอะไร ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเลือกเปิดสาขาใกล้ ๆ กันขนาดนี้ล่ะ เราลองมาวิเคราะห์กัน   กฎการเลือกทำเลของ “สุกี้ตี้น้อย”ถ้าใครเคยได้ฟังบทสัมภาษณ์ของคุณเฟิร์น นัทธมน […]

ร้านอาหารฟื้นตัว

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่         ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ   ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต   1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ         การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.