6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม
หลายคนที่ฝันอยากเปิดร้านอาหาร แน่นอนว่าสิ่งที่ทำอย่างแรก ก็คือหยิบกระดาษและเครื่องคิดเลขขึ้นมา ทั้งจดทั้งกดคำนวณดูว่า “เงินที่คิดว่าจะขายได้” จะมากกว่า “เงินลงทุนที่ต้องใช้” หรือไม่? ถ้าเลขสุดท้ายออกมาเป็นบวก แสดงว่าไอเดียการเปิดร้านอาหารของเรา น่าสนใจไม่น้อย แต่หลายครั้ง การคำนวณเพื่อประเมินความเป็นไปได้ ต้นทุนหลายอย่าง มักจะไม่ได้ถูกรวมเข้าไปหรือถูกรวมไม่ครบ ผลก็คือ ทุกเช้าคุณตื่นขึ้นมาพลิกป้ายหน้าประตูเป็นร้านเป็น “เปิด” ด้วยรอยยิ้ม แต่พอถึงสิ้นเดือนที่ทำบัญชี รอยยิ้มกลับหายไปเพราะขาดทุน วันนี้ผมมี 6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม มาแชร์ให้ฟังกัน
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยี
ในยุคที่เทคโนโลยีเกือบจะเป็นเหมือนอีกหนึ่งอวัยวะที่ขาดไม่ได้ แม้ว่าร้านอาหารที่เรากำลังจะเปิดไม่ได้ใหญ่โตเหมือนร้านอาหารตามห้างใหญ่ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องคำนึงถึง
ค่าใช้จ่ายที่ผมพูดถึง เช่น ราคาเครื่องเก็บเงินสด ถาดใส่เงิน เครื่องพิมพ์สลิป ค่าระบบ POS หรือกล้องวงจรปิด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์เหล่านี้มีตั้งแต่ราคาหลักพันบาท จนถึงหลายๆ หมื่น เพราะฉะนั้น ดูให้ละเอียดสักนิด ว่าร้านเราต้องการสิ่งไหนบ้าง และราคาเท่าไรที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมๆ ขึ้นมาก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยอยู่นะครับ
- การทำโฆษณา
ลองเริ่มจากการตอบคำถามว่า “คุณจะทำยังไงให้คนรู้ว่ามีร้านอาหารเปิดใหม่และอยากมาลองชิม?” วิธีเริ่มต้นก็มีมากมาย ตั้งแต่ แจกใบปลิว ลงโฆษณาในสื่อต่างๆ ทำโปสเตอร์หน้าร้าน ทำโปรโมชั่นฉลองเปิดร้านใหม่ หรือใช้การตลาดออนไลน์ เจ้าของร้านอาหารต้องประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นค่าทำใบปลิว แค่แรงคนแจกใบปลิว ค่าลงโฆษณาตามสื่อ รวมถึงต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการทำเพจของร้านด้วย
- ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค
ร้านอาหารบางประเภทใช้ไฟค่อนข้างมาก เช่น ร้านประเภทชาบู ปิ้งย่าง ในขณะที่บางประเภทก็จะหนักไปที่ค่าน้ำ ลองประเมินดูว่าพื้นที่ของร้าน จำนวนจานชาม (ถ้าร้านบุฟฟเฟ่ต์ก็ล้างกันมันเลยนะครับ) และรูปแบบการตกแต่งที่คิดไว้ จะมีผลอย่างไรต่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้บ้าง ที่สำคัญ หากกำลังจะเช่าพื้นที่ร้านต่อจากคนอื่น อย่าลืมเด็ดขาดนะครับ !!! เช็คให้มั่นใจว่าไม่มีค่าสาธารณูปโภคอะไรที่ยังค้างจ่ายอยู่ ไม่อย่างนั้นละก็ ยังไม่ทันเปิดร้านเลย ก็มีภาะต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ซะแล้ว
- ค่าเพลงต่างๆ ที่จะใช้เปิดในร้าน
ข้อนี้แล้วแต่รูปแบบร้าน บางร้านที่ไม่ได้ต้องการสร้างบรรยากาศเพิ่มเติมก็ไม่จำเป็นต้องมี แต่สำหรับใครที่คิดอยู่ว่า อยากจะมีวงดนตรีสด ก็อย่าลืมดูค่าใช้จ่ายด้วยว่า วงดนตรีที่ชอบคิดค่าใช้จ่ายวันละเท่าไร เล่นกี่ชั่วโมง กี่เบรค รวมเครื่องดนตรีครบเซ็ทหรือไม่ ทางร้านต้องเตรียมจัดเตรียมบางส่วนหรือเปล่า
แต่บางคนคิดว่า ไม่ต้องขนาดนั้น เดี๋ยวใช้วิธีเปิดเพลงแทน ก็อย่าลืมดูเรื่องค่าลิขสิทธิ์เพลงด้วยนะครับ ตอนนี้เจ้าของค่ายเพลงเริ่มเอาจริง เดี๋ยวจะเป็นเรื่องบานปลาย
- ค่าธรรมเนียมกรณีรับชำระลูกค้าเป็นบัตรเครดิต
สมัยนี้ลูกค้าพกเงินสดน้อยลงเรื่อยๆ และบัตรเครดิตก็เป็นตัวเลือกสำคัญที่เขานิยมใช้ เพราะฉะนั้นการรับบัตรเครดิตอาจจะไม่ใช่จุดเด่นของธุรกิจอีกต่อไป แต่แทบจะเป็นสิ่งพื้นฐานที่ร้านอาหารต้องมีเพื่อบริการลูกค้า
อย่าลืมว่าการรับบัตรเครดิต เราจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 2-3% จากทางบัตรเครดิต ดังนั้น เผื่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย และที่สำคัญ เตรียมเงินหมุนเวียนให้เพียงพอนะครับ เพราะการรับชำระเงินทางบัตรเครดิต ร้านอาหารไม่ได้รับเงินสดในทันที แต่ใช้เวลาอีกอย่างน้อยเกือบ 1 สัปดาห์ที่จะได้รับเงิน
ความคิดเห็น ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน
การวางแผนให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่งครับ แต่อีกครึ่งหนึ่งก็อยู่ที่การแก้ปัญหาของเรา ไม่มีใครรู้หรอกว่าระหว่างทางเราจะเจออะไรบ้าง หรือจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้แผนที่วางไว้อย่างดี ไม่เป็นไปตามนั้น แต่ที่แน่ๆ คือความมุ่งมั่น และพยายาม จะทำให้เราผ่านมันไปได้
บทความที่เกี่ยวข้อง