การตลาดแบบปากต่อปาก : ทำอย่างไรให้คนพูดถึง “แบรนด์” คุณ - Amarin Academy

การตลาดแบบปากต่อปาก : ทำอย่างไรให้คนพูดถึง “แบรนด์” คุณ

การตลาดแบบปากต่อปาก : ทำอย่างไรให้คนพูดถึง “แบรนด์” ของคุณ

ผู้คนสื่อสารกันกว่า 16,000 คำต่อวันและทุกๆ ชั่วโมง มีมากกว่า 100 ล้านประโยคสนทนาที่เกี่ยวกับ “แบรนด์” พวกเราชอบที่จะแบ่งปันเรื่องราวและข่าวสารต่างๆ ให้กับคนรอบตัวได้รับรู้ แต่ทำไมเราเลือกที่จะพูดถึงสิ่งหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็เลือกที่จะไม่พูดถึงอีกหลายสิ่งที่ได้ประสบมา นั่นเป็นที่มาของ การตลาดแบบปากต่อปาก ที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้

การตลาดแบบปากต่อปาก (Word of Mouth Marketing)

มีบริษัทจำนวนมากมายหลายแห่งทุ่มงบกว่าล้านบาทไปกับการโฆษณา เพื่อพยายามที่จะดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย แต่บางครั้งแบรนด์เหล่านั้นกลับถูกเพิกเฉย เพราะมีลูกค้าจำนวนไม่ถึง 10% ที่ยังคงจงรักภักดีกับแบรนด์เดิมอยู่

ในทางกลับกันก็มีบางบริษัทที่แทบจะไม่ได้จ่ายเงินเพื่อทำการตลาดเลย แต่กระนั้นพวกเขาก็ยังได้ใจจากลูกค้าไปเต็มๆ ยิ่งไปกว่านั้นลูกค้ากลุ่มนี้ยังเต็มใจบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสินค้า และแนะนำต่อให้กับคนรู้จัก ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการรับรู้ของแบรนด์ให้เพิ่มมากขึ้น โดยที่เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดเลยสักบาท

การส่งต่อข้อมูลจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งหรือสิ่งที่เรียกว่า ปากต่อปาก เป็นหนทางหนึ่งที่ทรงพลังมากที่สุดในโลกธุรกิจทุกวันนี้ จากผลการสำรวจของนีลเส็นบริษัทที่ให้ข้อมูลและการประเมินผลชั้นนำของโลก บ่งชี้ว่าผู้บริโภคกว่า 92% เชื่อคำแนะนำจากเพื่อนและครอบครัวมากกว่าคำโฆษณา

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของการตลาดแบบปากต่อปากคือ เป็นการคัดสรรผู้ฟังไปในตัว เพราะคนส่วนใหญ่มักจะแชร์ข้อมูลให้กับคนที่พวกเขาคิดว่ากำลังสนใจเรื่องนั้นๆ อยู่ อีกทั้งลูกค้าที่มาจากการบอกต่อ มีอัตราการใช้จ่ายเฉลี่ยมากขึ้นกว่า 20 – 50 %  ซึ่งเป็นผลมาจากคำแนะนำแบบปากต่อปาก นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม การตลาดแบบปากต่อปากจึงมีพลังมากนัก โดยกุญแจสำคัญที่จะทำให้คนอยากบอกต่อนั้นคือ ต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นแรงจูงใจให้ผู้คนอยากพูดถึงและแบ่งปันแบรนด์ของคุณให้คนอื่นได้รับรู้

5 หลักการที่ผลักดันให้ผู้คนอยากพูดคุยและแบ่งปัน

Jonah Berger ศาสตราจารย์คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เขียนหนังสือที่ชื่อว่า Contagious: Why things catch on เขาพูดถึงหลักการที่จะช่วยผลักดันให้ผู้คนอยากแชร์เรื่องราวที่ได้พบและประสบมาให้กับคนอื่นๆ ได้รับรู้ ลองเอาข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ เพื่อสร้างเนื้อหาที่น่าดึงดูดใจและทำให้ผู้คนอยากพูดถึงสินค้า บริการ หรือแม้กระทั่งชื่อแบรนด์ของคุณกันครับ

 

1.สถานะทางสังคม

ผู้คนให้ความสนใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองที่ปรากฏในสายตาของคนอื่น นี่คือเหตุผลที่ทำให้พวกเราอยากแชร์สิ่งที่ทำให้ตัวเองดูดี ดูฉลาด และเป็นคนสนุกสนาน ทำไมเราต้องพูดถึงดีลดีๆ ที่ได้รับจากร้านค้าหรือช่วงเวลาพิเศษ ที่เราได้รับการอัพเกรดตั๋วโดยสารเครื่องบินไปเป็นตั๋วประเภท First Class แต่ถ้าไม่พอใจเราก็จะมองข้ามเรื่องราวเหล่านั้นไป

ผู้คนใช้เงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการเพื่อแลกกับความพึงพอใจและการยอมรับทางสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คนที่รู้จัก ทั้งเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว เพื่อนเก่า ต่างรับรู้ได้ถึงรสนิยมของคนๆ นั้น วิธีหนึ่งที่ทำให้คนพูดถึงสินค้าของคุณได้คือ การทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษหรือสร้างบางสิ่งที่จะทำให้พวกเขาดูโดดเด่น อย่างการสร้าง Content ที่ทำให้คนแชร์รู้สึกว่าตัวเองดูฉลาดและน่าสนใจ เป็นต้น

2.อารมณ์ความรู้สึก

Berger บอกว่า เราแชร์เมื่อเราแคร์ เหมือนกับที่ลูกค้าหลายคนจงรักภักดีกับบริษัทที่พวกเขารู้สึกผูกพัน ผู้คนแบ่งปันเมื่อพวกเขารู้สึกถึงบางสิ่ง โดยประเภทของอารมณ์มีความสำคัญเช่นกัน เรามีแนวโน้มที่จะแบ่งปันเรื่องราวที่ก่อให้เกิดการเร้าอารมณ์สูง เช่น ความโกรธ ความตื่นเต้น ความสนุกสนาน อารมณ์เหล่านี้ช่วยจุดไฟในตัวคน กระตุ้นให้พวกเขามีแรงขับที่จะทำบางสิ่ง ในอีกทางหนึ่งเรามักหลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องที่ทำให้ตัวเองรู้สึกเศร้า ดังนั้นอารมณ์ความรู้สึกของเรื่องราวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดได้ว่า เราอยากจะแบ่งปันเรื่องราวเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด

3.การเลียนแบบ

เรามักชอบเลียนแบบคนอื่นๆ โดยไม่รู้ตัว วิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือการดูว่าพวกเขาทำอะไรบ้าง แล้วจึงเลียนแบบตาม การที่เราได้รับอิทธิพลจากคนอื่น โลกออนไลน์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าคำกล่าวนี้เป็นจริง เมื่อคุณเลื่อน IG แล้วเห็นใครบางคนสวมเสื้อยืดสุดเท่และคุณก็ชอบสไตล์ของคนๆ นั้น คุณอาจตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบบเดียวกันมาใส่โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการสังเกตการณ์ของผู้คนจึงเป็นส่วนสำคัญ ในการทำให้สินค้าและแนวคิดต่างๆ เป็นที่น่าจับตา

4.คุณค่า

ผู้คนทั่วไปชอบช่วยเหลือคนอื่น เรามักแบ่งปันแนวคิดและแนวทางในการแก้ปัญหาที่เคยใช้ได้ผลกับตัวเองมาแล้ว ให้คนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือได้รับรู้ เราอาจแนะนำแอปพลิเคชั่นที่ช่วยในการวางแผนทางการเงินหรือดีลส่วนลดดีๆ ให้กับคนรู้จัก เพื่อช่วยพวกเขาประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

สำหรับเจ้าของแบรนด์ คุณจำเป็นต้องไฮไลต์เอาคุณค่าของสินค้าคุณขึ้นมาให้ได้ว่า สินค้านั้นมีดีตรงไหน และมีประโยชน์ในชีวิตด้านใด เช่น ผลิตภัณฑ์นั้นช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา หรือช่วยพัฒนาลูกค้าในด้านต่างๆ เป็นต้น

5.เรื่องราว

“เราต้องการสร้างเรื่องเล่าเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องราวธรรมดาๆ แต่ต้องเป็นเรื่องที่มีแนวคิดและคอนเซ็ปต์โดดเด่นน่าสนใจ” Jonah Berger

แบรนด์อาจถ่ายทอดเรื่องราวจากความรู้สึกหรือประสบการณ์ของเจ้าของ ซึ่งทำให้แบรนด์นั้นๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวยากที่จะหาใครมาเลียนแบบได้ เรื่องราวนั้นมีได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตัวตน แนวความคิด รวมไปถึงการสร้างเรื่องเล่า เพื่อให้คนอื่นๆ มองเห็นและรับรู้ตัวตนของคุณ

เมื่อคุณสามารถทำให้เกิดการบอกต่อกันแบบปากต่อปากแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องทุ่มงบไปที่การโฆษณาหรือจ่ายเงินเพื่อให้กระทู้คุณขึ้นหน้าแรกของเว็บไซต์ Google เพราะลูกค้าเต็มใจจะบอกต่อเรื่องราวเกี่ยวกับสินค้าและบริการของคุณให้กับคนรู้จักแบบฟรีๆ ความรู้สึกที่เจ้าของกิจการได้ยินคนพูดถึงบริษัทของตัวเองในแง่ดี คงจะดีกว่าค่าความพึงพอใจที่ปรากฏออกมาในแง่ของสถิติ ลองทำตามหลักการข้างต้นนี้ แล้วคุณจะพบผลลัพธ์ที่แตกต่าง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 ปัญหาร้านอาหาร ยอดฮิต ที่เจ้าของมักเจอ

5 ข้อควรรู้ สื่อสาร บนโลกออนไลน์ไม่ให้เกิดดราม่า

เรื่องแนะนำ

วิธีตั้งชื่อแบรนด์ แบบอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารสุขภาพร้อยล้าน

ถอดบทเรียน การตั้งชื่อแบรนด์ คุณอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารเพื่อสุขภาพร้อยล้าน ผู้ไม่เคยหยุดพัฒนา กับแนวคิดการสร้างแบรนด์และการตั้งชื่อแบรนด์ต่างๆ เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะต้องรู้จักนักธุรกิจสาวไฟแรงคนนี้ “คุณอูน ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์” หรือที่ใคร ๆ รู้จักกันในชื่อ อูน Diamond Grains ต้นแบบและแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตหรือทำธุรกิจของใครหลาย ๆ คน แต่ทุกคนรู้ไหมว่าคุณอูนไม่ได้ทำแค่แบรนด์ Diamond Grains อย่างเดียวนะ แต่ยังทำแบรนด์อื่น ๆ อีกถึง 6 แบรนด์!!! ซึ่งวันก่อนแอดก็ได้มีโอกาสดูคลิปที่คุณอูนได้มาแชร์ถึงวิธีการตั้งชื่อแบรนด์ของตัวเอง ที่ต้องบอกว่าแต่ละชื่อมีเอกลักษณ์และบ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์มาก ๆ ว่าแต่วิธีของคุณอูน จะมีอะไรบ้าง ? เราลองมาถอดบทเรียนการตั้งชื่อแบรนด์ในแบบของ คุณอูน Diamond Grains กัน! เล่ากระบวนการ ในที่นี้คุณอูนเล่าที่มาของการตั้งชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากกราโนล่าและธัญพืช Diamond Grains ว่าเกิดมาจากการที่สามี คุณแพค วุฒิกานต์ กำลังดูการ์ตูนเรื่อง One Piece ทำให้รู้สึกว่า กว่าที่ธัญพืชจะผ่านกระบวนการต่าง […]

Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization อยากมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด ก็ต้องอ่านใจลูกค้าให้ออก.. ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ผู้บริโภคอยากรู้ทุกอย่าง และสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกเรื่องได้ด้วยปลายนิ้ว ฉะนั้นการทำการตลาดแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการจำชื่อลูกค้า, ส่งข้อความ หรืออีเมล์ไปอวยพรวันเกิด พร้อมส่วนลดต่างๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้กำลังจะกลายมาเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำการตลาดเท่านั้น ดังนั้นธุรกิจร้านอาหารหรือแบรนด์ที่จะสะกิดใจคนได้ ต้องเป็นแบรนด์ที่รู้จักและรู้ใจลูกค้า ด้วยการทำการตลาดแบบ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการตลาดที่เข้าถึงตัวบุคคลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ตรงใจลูกค้ามากกว่าที่เคย อย่าปล่อยให้เสียเวลาเปล่า เจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องรีบทำความเข้าใจ เรียนรู้ และปรับตัว รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ แล้วจะช่วยให้ลูกค้าเดินเข้าร้านได้อย่างยิ้มแย้มและเต็มใจ หัวใจของ Hyper Personalization อยู่ที่ “Big Data” ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก่อนว่าการตลาดแบบ Hyper Personalization เป็นการนำ Big Data แบบเรียลไทม์มาใช้ในการคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่ข้อมูลจากประวัติการสั่งซื้อทั่วไป แต่เป็นการเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นพฤติกรรมการซื้อ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าลูกค้าคนนี้อยากจะซื้อกับเราครั้งถัดไปเมื่อไหร่ หรือจะกระตุ้นเขาให้ซื้อได้ด้วยวิธีไหน ซึ่ง Big Data คือการนำข้อมูลรอบๆ ตัว จากหลายๆ ส่วนมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ  จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของร้านอาหาร ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า […]

วาเลนไทน์

กลยุทธ์เด็ด มัดใจลูกค้ารับ วาเลนไทน์

วาเลนไทน์ เป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญที่ร้านอาหารส่วนใหญ่จะมีลูกค้าแน่นเป็นพิเศษ ร้านอาหารไหนอยาก มัดใจลูกค้า รับเทศกาลวาเลนไทน์ ไม่ควรพลาดบทความนี้

การตลาดออนไลน์เบื้องต้น ที่คุณต้องรู้!

การทำธุรกิจในยุคดิจิตัลแบบนี้ คงปฏิเสธการใช้การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ได้ยาก ฉะนั้นอะไรบ้างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ การตลาดออนไลน์เบื้องต้น

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.