กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม” - Amarin Academy

กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม”

กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม”

เคยไหม? ตั้งใจจะไปซื้อของหรือเข้าร้านอาหาร พร้อมตั้งงบไว้จำกัด แต่พอไปถึงร้านกลับเจอราคาที่รู้สึกว่า ถ้าไม่ซื้อจะถือว่าพลาดมากๆ รู้ไหมว่า นั่นเป็นเพราะเจ้าของร้านใช้ กลยุทธ์การตั้งราคา ที่ทำให้เรารู้สึกว่าคุ้มค่า แม้ต้องเสียเงินเพิ่ม กลยุทธ์นี้มีหลากหลาย วันนี้เราจะขอแชร์ข้อที่น่าสนใจให้ทราบกัน

Decoy pricing กลยุทธ์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ

คือการตั้งราคาขึ้นมาราคาหนึ่ง เพื่อให้อีกราคาหนึ่งดูน่าสนใจขึ้น อธิบายอย่างนี้หลายคนอาจจะงง อย่างนั้นไปดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

สมมติคุณกำลังจะไปดูหนัง แล้วต้องการซื้อป็อปคอร์น ปรากฏว่าร้านตั้งราคาไว้ 2 ราคา คือ S 59 บาท และ L 99 บาท คนมักมีแนวโน้มจะซื้อราคา 59 บาทมากกว่า เพราะคิดว่า 99 บาทแพงเกินไป

แต่ถ้าคุณเพิ่มอีก 1 ราคาขึ้นมาคือ M 89 บาท ปรากฎว่าคนจะมีแนวโน้มที่จะซื้อราคา 99 บาทมากขึ้น เพราะคิดว่า เพิ่มอีก 10 บาท ก็จะได้ไซส์ใหญ่แล้ว ดังนั้นการตั้งราคาแบบนี้จึงทำให้ลูกค้าจ่ายเงินให้เราในราคาที่สูงขึ้น โดยที่เขายังรู้สึกว่าคุ้มค่าอยู่

พูดง่ายๆ คือราคากลางที่เราตั้งขึ้นมา ไม่ได้เพื่อให้คนเลือก แต่เพื่อนำเขาให้เลือกซื้อสินค้าในราคาที่เราต้องการนั่นเอง

ตัวอย่างวิดีโอที่น่าสนใจ

Offering 3 options กลยุทธ์ 3 ตัวเลือก

คือการกำหนดราคาขึ้นมา 3 ราคา โดยตั้งใจให้ผู้บริโภคเลือกราคากลางมากขึ้น อย่างร้าน Penguin eat shabu ผมก็ใช้กลยุทธ์นี้เช่นเดียวกัน ตอนที่เปิดร้าน ผมมีราคาบุฟเฟต์แค่ 2 ราคา คือ 359 บาทและ 459 บาท ช่วงแรกคนส่วนใหญ่มักเลือกราคา 359 เป็นหลัก ผมจึงลองตั้งราคา 659 บาทขึ้นมา โดยตั้งใจว่าอยากให้ลูกค้าจ่ายราคานี้สัก 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ จ่ายราคา 359 บาทประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือให้เป็นราคา 459 บาท

ปรากฏว่าพอมีราคา 659 บาท คนกลับเลือกราคา 459 บาท มากที่สุด และหมุนไปกิน 659 บาทด้วย ส่วน 359 บาท คนหายไปเยอะมาก เพราะคนส่วนใหญ่อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้างบไม่ถึงก็จะเลือกรองลงมา

กลยุทธ์นี้ก็ใช้กับธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น รถยนต์ ที่อาจมีราคาเริ่มที่ 500,000 บาท จนสูงสุดที่รุ่น Top ที่ราคา 8 แสนปลายๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักเลือกซื้อรุ่นรอง Top เพราะเป็นราคาที่เขารู้สึกว่าจ่ายแล้วสบายใจ

กลยุทธ์เลข 9 และกลยุทธ์ตั้งราคาเปรียบเทียบ

“39 49 99” กลยุทธ์การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 สุดคลาสสิก นับเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันบ่อยมาก แถมผู้บริโภคก็ยังคุ้นเคย แม้ว่าจะคุ้นเคย แต่โอกาสในการขายก็ยังสูงกว่าการตั้งราคา “40 50 100” อยู่ดี เพราะคนก็ยังรู้สึกว่าราคาไม่แพง แค่ 39 เอง

แต่กลยุทธ์ที่ดีกว่า คือการเขียนราคาเดิมไว้แล้วลดราคาลง เช่น ราคาเดิม 45 บาท แล้วมีป้าย sale ขีดฆ่าราคาเดิม พร้อมกำหนดราคาใหม่เหลือ 40 บาท คนจะเลือกตัวเลือกนี้ทันที เพราะเขาจะรับรู้ว่าสินค้ามีมูลค่า 45 บาท แต่เขาซื้อได้ในราคา 40 บาทเท่านั้น

แต่กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือ  การตั้งราคา 45 บาท แล้วขีดฆ่า เหลือ 39 บาท ลูกค้าจะมีแนวโน้มเลือกข้อนี้มากที่สุด เพราะเขาจะรู้สึกว่าเราลดราคาลงเยอะมาก (จากเลข 4 มาเลข 3 เลยนะ!) โดยกลยุทธ์นี้เป็นวิธีที่ห้างสรรพสินค้านิยมใช้มากๆ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด (ใครๆ ก็แพ้ของ sale กันทั้งนั้นจริงไหม)

กลยุทธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจ นอกจากจะทำให้ยอดขายของเราดีขึ้นแล้ว ผู้บริโภคยังรู้สึกพึงพอใจและพร้อมจะจ่ายในราคาที่เราตั้งขึ้นมาอีกด้วย

เรื่องแนะนำ

เทคนิคลับ พูดอย่างไรให้ ลูกค้าสั่งอาหารเพิ่ม

ทักษะที่เจ้าของร้านควรเทรนด์พนักงานเสิร์ฟ นอกจากการบริการ คือการพูดจูงใจให้ ลูกค้าสั่งอาหารเพิ่ม แต่จะมีวิธีใดบ้าง ไปดูกันเลย

โกยเงินรับปีใหม่ สิ่งที่ร้านค้าควรปรับรับนักท่องเที่ยว

ผู้ประกอบการหลายคนถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจก็คือ ทำอย่างไร?ให้ได้ “ยอดขาย” ตามที่ตั้งเอาไว้ ดังนั้นเรามี 4 เทคนิคง่ายๆ มาฝากกัน!!

ทำเลไม่ดี

เจ้าของร้านอ่านเลย! แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี

การจะเปิดร้านอาหาร ใครๆ ก็คงอยากจะได้ทำเลที่ดี หรือทำเลทองจริงไหมครับ เพราะหากเลือกทำเลในการเปิดร้านได้ดี ร้านของคุณก็มีโอกาสที่จะขายได้ หรือเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากกว่า แต่ก็ใช่ว่าทุกร้านจะได้ทำเลดีที่ต้องการเสมอไป ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ที่ทำให้ร้านของคุณต้องไปอยู่ในทำเลที่ไม่ดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ในทำเลไม่ดีแล้วคุณจะไม่มีทางออก มีเจ้าของร้านหลายรายที่ประสบความสำเร็จได้แม้จะอยู่ในทำเลที่ไม่ดี วันนี้เราเลยขอแชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี มาดูกันครับ แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี วิธีที่ 1 ทำป้ายโฆษณาให้คนรู้จัก แม้วิธีนี้จะดูเป็นวิธีที่ค่อนข้างเก่า ดั้งเดิม แต่ก็ยังคงใช้ได้อยู่ เพราะหากร้านคุณอยู่ในทำเลที่ไม่ดี ไม่มีคนเดินผ่าน ก็ทำให้ไม่มีใครเห็นร้านคุณ อย่างน้อยก็ควรมีป้ายโฆษณาเพื่อบอกว่าพิกัดร้านคุณอยู่ที่ไหน อาจจะทำป้ายแนะนำร้านแล้วนำไปวางไว้ในจุดที่มีผู้คนสัญจรไปมา เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสที่จะเดินทางเข้ามาที่ร้านได้อย่างง่ายขึ้น และเริ่มรู้จักร้านของคุณ แต่การใช้วิธีนี้ เจ้าของร้านอาจจะต้องวางแผนในการทำป้ายโฆษณาด้วย ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว แผ่นพับ หรือป้ายโฆษณา เพื่อช่วยควบคุมเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย   วิธีที่ 2 กระตุ้นยอดขาย ด้วยโปรโมชั่น การจัดโปรโมชั่นในกรณีนี้ หวังผลให้ลูกค้าได้เห็นและได้รู้จักทำเลที่ตั้งของร้าน โดยอาจใช้ส่วนลดเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาที่ร้าน แต่ทั้งนี้การจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย เพื่อดึงลูกค้าไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป เพราะจะเป็นการลดทอนคุณค่าร้านของคุณ และทำให้ลูกค้าสนใจร้านคุณแค่ช่วงมีโปรโมชั่นเท่านั้น แต่แนะนำให้ใช้วิธีนี้เป็นใบเบิกทางไปสู่วิธีการอื่น ๆ ให้คนได้รู้จักร้านของคุณมากขึ้น […]

วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ

เชื่อไหมว่า… ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านประสบชะตากรรมยอดขายตก มักจะมีคำถามว่าทำการตลาดอย่างไรดีช่วงนี้ให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ แทนที่จะตั้งคำถามว่า Operation อย่างไรให้ดี จนลูกค้าบอกต่อโดยไม่ต้องทุ่มงบทำการตลาด ซึ่งเจ้าของร้านอาหารบางท่าน ก็ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า Operation ทำหน้าที่ไล่ลูกค้าไปกี่คนแล้วต่อเดือน !   ทำไมการตลาดเรียกลูกค้า Operation ไล่ลูกค้า ?             ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การจัดทำโปรโมชั่น ล้วนเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับร้าน ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และตัดสินใจลองใช้บริการมากขึ้นในช่วงนั้น ๆ ซึ่งร้านอาหารมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็นลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าประจำมีการซื้อมากขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้า Operation มีจุดบอดก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ามาเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริการไม่ดี อาหารออกช้า ความไม่คงที่ของรสชาติและปริมาณ แทนที่จะเพิ่มยอดขาย กลับทำให้ร้านเกิดผลกระทบด้านลบในระยะยาวแทน เช่นเดียวกัน ถ้าหากร้านของคุณยังมีปัญหาด้าน Operation ก็ยากที่จะครองใจลูกค้าไว้ได้ แม้จะดันการตลาดมากแค่ไหนก็ตาม   การตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงการ Operation หน้าร้านด้วย             กรณีศึกษา เกิดขึ้นกับร้านอาหารในประเทศจีน ทำการตลาดกินฟรี โดยกำหนดช่วงเวลา เพื่อหวังให้ร้านเป็นที่รู้จักในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าการจัดการหน้าร้านไม่สามารถรองรับจำนวนลูกค้าที่ล้นหลามได้ และยังทำให้ร้านอาหารประสบกับปัญหาขาดทุนจากการจัดการต้นทุนที่ผิดพลาด แทนที่ร้านจะมีชื่อเสียงกลับทำให้เจ้าของร้านต้องตัดสินใจปิดร้านในเวลาอันรวดเร็ว การทำการตลาดจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของการจัดการหน้าร้านด้วย […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.