4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน - Amarin Academy

เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ 4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ในฐานะเจ้าของธุรกิจอาหารจึงต้องปรับตัวตาม จากรายงานการวิจัย FoodTrips ของนีลเส็น บริษัทที่ให้ข้อมูลและการประเมินผลชั้นนำของโลก ได้ทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อการ กินอาหารนอกบ้าน พบว่ามีเทรนด์ที่น่าสนใจอยู่ 4 ข้อ คืออะไรบ้าง?

 

4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

1.ร้านสะดวกซื้อทางเลือกเบอร์ต้น

การ กินอาหารนอกบ้าน ที่เป็นที่นิยม 3 อันดับแรกของผู้บริโภคชาวไทย คือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารแบบแผงลอย (food stall) และอาหารข้างทาง (street food) เรียงตามลำดับ เหตุผลที่ผู้บริโภคเลือกที่จะเข้าร้านสะดวกซื้อหลักๆ แล้วเพื่อบรรเทาความหิวและเนื่องจากมีความรู้สึกว่าเป็นกิจวัตรประจำวัน

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่า เราจะเห็นได้ว่าร้านค้าปลีกต่างๆ เช่น Lawson 108, MAXVALU, และ TOPS Daily ได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการพื้นที่กินอาหารสำหรับลูกค้าที่เข้ามาเพื่อซื้ออาหารกินระหว่างเบรค หรืออย่างเช่น Family Mart ที่มีสาขาที่เป็น one-stop shopping destination ซึ่งมีทั้งขายของสด อาหาร บริการส่งสินค้า และแม้แต่ co-working space นี่อาจเป็นนัยสำคัญในการบ่งบอกถึงความสำคัญของการที่ผู้ค้าปลีกต้องตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

ซึ่งในปัจจุบัน ร้านสะดวกซื้อเหล่านี้ก็มีการพัฒนาเรื่องการบริการและความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้

 

2.เน้นกินอาหารมื้อหลักมากขึ้น

ด้านของพฤติกรรมการกินอาหารของผู้บริโภคระหว่างวัน บางคนอาจแบ่งมื้ออาหารได้ถึง 7 มื้อ ประกอบด้วยอาหารมื้อเช้า อาหารว่างก่อนมื้อเที่ยง มื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายหลังมื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายแก่ๆ มื้อเย็น และอาหารว่างรอบดึก อย่างไรก็ตามรายงาน Food Trips เผยว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมการกินอาหารว่างน้อยลง ในขณะที่เพิ่มการกินอาหารมื้อหลักอย่างมื้อเช้า กลางวัน และเย็นมากขึ้น

3.การเติบโตของร้านกาแฟ (คาเฟ่)

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมการกินอาหารนอกบ้าน คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงการดื่มชา กาแฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์การกินอาหารของคนไทยและมีการเติบโตที่น่าสนใจ ทั้งนี้อัตราการเข้าถึงของร้านเหล่านี้อยู่ที่ 60% ทั่วประเทศ และเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคชาวไทยจะเข้าร้านชา กาแฟประมาณ 6 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้บริโภคในกรุงเทพนั้นเข้าร้านกาแฟโดยเฉลี่ยถึง 8 ครั้งต่อเดือน

อย่างไรก็ตามเมื่อเรามองลึกลงไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟที่แยกเป็นแต่ละประเภท จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของกลุ่มที่ดื่มกาแฟเพราะว่าแบรนด์ของกาแฟนั้นสามารถสะท้อนและส่งเสริมภาพลักษณ์ของตัวเอง มีจำนวนที่โตขึ้น  เพราะฉะนั้น นอกเหนือจากคุณภาพและการบริการที่ดีแล้ว การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและมีจุดยืนที่ชัดเจนก็เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจกาแฟควรคำนึงถึงเพื่อดึงดูดลูกค้าในอนาคต

4.อาหารพร้อมทาน

ประเภทอาหารพร้อมทาน หรือ Ready to Eat เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการเติบโตในต่างจังหวัดมีมากกว่าในกรุงเทพ สาเหตุหลักที่ผู้บริโภคไม่ต้องการทำอาหารเองนั้นเป็นเพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบต่างๆ และไม่ชอบในส่วนของการทำความสะอาดหลังทำอาหาร

 

จากสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เราได้เห็นถึงรูปแบบการกินอาหารนอกบ้านที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปี แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้นการรู้เท่าทันตลาดจะทำให้เราสามารถนำเอาความรู้นั้นมาปรับกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

 

ข้อมูลจาก: นีลเส็น

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

เทคนิคลับ พูดอย่างไรให้ ลูกค้าสั่งอาหารเพิ่ม

ทักษะที่เจ้าของร้านควรเทรนด์พนักงานเสิร์ฟ นอกจากการบริการ คือการพูดจูงใจให้ ลูกค้าสั่งอาหารเพิ่ม แต่จะมีวิธีใดบ้าง ไปดูกันเลย

ร้านอาหาร บริการลูกค้า

ร้านอาหาร บริการลูกค้า ต่างกลุ่มยังไง ให้โดนใจทุกคน

ร้านอาหาร เลือกลูกค้าไม่ได้แต่ ร้านอาหาร บริการลูกค้า เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ประทับใจได้ จึงขอวิเคราะห์ว่า ลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องแบบใด จะได้บริการได้เหมาะสม

วิธีตั้งชื่อแบรนด์ แบบอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารสุขภาพร้อยล้าน

ถอดบทเรียน การตั้งชื่อแบรนด์ คุณอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารเพื่อสุขภาพร้อยล้าน ผู้ไม่เคยหยุดพัฒนา กับแนวคิดการสร้างแบรนด์และการตั้งชื่อแบรนด์ต่างๆ เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะต้องรู้จักนักธุรกิจสาวไฟแรงคนนี้ “คุณอูน ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์” หรือที่ใคร ๆ รู้จักกันในชื่อ อูน Diamond Grains ต้นแบบและแรงบันดาลใจในการใช้ชีผูวิตหรือทำธุรกิจของใครหลาย ๆ คน แต่ทุกคนรู้ไหมว่าคุณอูนไม่ได้ทำแค่แบรนด์ Diamond Grains อย่างเดียวนะ แต่ยังทำแบรนด์อื่น ๆ อีกถึง 6 แบรนด์!!! ซึ่งวันก่อนแอดก็ได้มีโอกาสดูคลิปที่คุณอูนได้มาแชร์ถึงวิธีการตั้งชื่อแบรนด์ของตัวเอง ที่ต้องบอกว่าแต่ละชื่อมีเอกลักษณ์และบ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์มาก ๆ ว่าแต่วิธีของคุณอูน จะมีอะไรบ้าง ? เราลองมาถอดบทเรียนการตั้งชื่อแบรนด์ในแบบของ คุณอูน Diamond Grains กัน! เล่ากระบวนการ ในที่นี้คุณอูนเล่าที่มาของการตั้งชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากกราโนล่าและธัญพืช Diamond Grains ว่าเกิดมาจากการที่สามี คุณแพค วุฒิกานต์ กำลังดูการ์ตูนเรื่อง One Piece ทำให้รู้สึกว่า กว่าที่ธัญพืชจะผ่านกระบวนการต่าง […]

4 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อน ทำโปรโมชั่นร้านอาหาร

การ ทำโปรโมชั่นร้านอาหาร คือทางเลือกที่ดีในการกระตุ้นยอดขาย แต่ผู้ประกอบการต้องทราบรายละเอียดและคำนึงถึงปัจจัยใดบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ลองศึกษากันเลย

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 Amarin Corporations Public Company Limited.