5 ข้อน่าอ่าน ทำไมร้านอาหารควรมี Instagram - Amarin Academy

5 ข้อน่าอ่าน ทำไมร้านอาหารควรมี Instagram

5 ข้อน่าอ่าน ทำไม ร้านอาหารควรมี Instagram

โพสต์ภาพลงเฟซแม่ก็ไลค์ด่วนจี๋ แชร์ภาพอะไรพ่อก็มาตามแชร์ต่อ” แน่นอนว่า Social Media ยอดนิยมในไทย คงหนีไม่พ้น Facebook บางคนเบื่อกับเรื่องเหล่านี้ คนที่ไม่อยากให้พ่อแม่มาติดตาม หรือ คนที่ไม่อยากให้เจ้านายมาเห็น รวมทั้งคนที่เบื่อเนื้อหาต่าง ๆ ที่แชร์ผ่าน Facebook ทำให้คนเหล่านี้ ย้ายมา Platform อื่น ๆ แทน ซึ่ง IG กลายเป็นพื้นที่ใหม่ที่ผู้บริโภคกำลังเพิ่มมากขึ้น เจ้าของธุรกิจร้านอาหารหลายเจ้า จึงเริ่มโปรโมทร้านอาหารต่อยอดทางการตลาด เน้นภาพสวย ติดแฮชแท๊ก ผ่าน Instagram (IG) ร้านไหนที่ยังไม่ได้เปิดใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ ลองมาดูกันค่ะว่า ทำไมร้านอาหารควรมี IG และ IG จะช่วยโปรโมทธุรกิจร้านอาหารได้อย่างไร

 

1. Follower บน Instagram มีคุณค่ามากกว่าบน Facebook

ด้วย IG กำลังกลายเป็นพื้นที่ที่กำลังมีความสำคัญอย่างมาก และเริ่มเข้าไปมี Activity และ Engagement ต่าง ๆ ที่สูงกว่าใน Facebook ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารหลายๆร้าน เข้าไปสร้างตัวตนใน IG และรู้ไหม หากคุณมีคนไลค์ Facebook เพจอยู่ที่ 100,000 ไลค์ เวลาที่คุณโพสต์บนเพจ 1 ครั้ง จะมีคนเห็นเพียง 1% หรือต่ำกว่านั้น (ขึ้นอยู่กับคอนเทนต์)
ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถเปิดใช้งาน Instagram Business Profile ได้ ซึ่งจะได้ประโยชน์มากกว่าการเปิด Profile Account แบบปกติ ทำให้ร้านของคุณเกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคที่เข้ามาดู สามารถติดตามเนื้อหา เรื่องราวต่างๆของร้าน และสามารถเอาไปใช้อ้างต่อหรือแชร์ต่อเพื่อสร้างกระแสโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นข่าวปลอมอีกด้วย

 

2. Instagramเหมาะที่สุดกับการโชว์รูปภาพและวิดีโอ

Instagram เป็น Social Media ที่เกิดมาเพื่อโชว์รูปภาพและวิดีโอ เรียกได้ว่าเหมาะกับธุรกิจร้านอาหารอย่างแท้จริง ทุกครั้งที่โพสต์ เปรียบได้เหมือนแท่นโชว์เมนูที่ใครสามารถเข้ามาดูก็ได้ อีกทั้งเมื่อเราใช้ IG แบบ Business Profile เราสามารถรู้ข้อมูลเบื้องหลังต่าง ๆ ในการวัดผลว่ารูปที่ขึ้นไปได้ผลอย่างไร ซึ่ง Instagram สำหรับธุรกิจนั้นสามารถให้ผลข้อมูล Insight ต่าง ๆ สำหรับเจ้าของร้านอาหารได้ไม่ว่าจะเป็น post reach, stats ของ stories, audience demographic, impression และคนคลิ๊กที่ชื่อเท่าไหร่ ข้อมูลนี้สามารถสร้างความได้เปรียบของการทำงานได้ทันที และทำให้เรานั้นสามารถทำงานในการสร้างภาพและวิดีโอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและได้ผลทางธุรกิจมากขึ้นได้

Digital Marketing สำหรับร้านอาหาร จะเริ่มจากไหน และวางแผนอย่างไรดี?

ไม่เพียงแค่บนหน้า Feed อย่างเดียว แต่ยังมี Story ที่ใส่วิดีโอที่มีความยาวสั้น ๆ หรือรูปภาพทั่วไป เพื่อให้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าต้องการลงวิดีโอที่มีความยาวมากกว่า 1 นาที ลองลงวิดีโอผ่าน IGTV ก็ทำได้เช่นกัน 

 

3. เชื่อมกับ Feature Stories

สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อดีของการใช้ IG สำหรับธุรกิจนั้นคือการสามารถเชื่อม Link ต่าง ๆ ไปกับ Feature Stories ของ IG ได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้ทำได้เฉพาะ account สำหรับธุรกิจเท่านั้น แน่นอนข้อดีของการใส่ Link เข้าไป ทำให้สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่ผู้บริโภคที่กำลังสนใจใน Feature Stories ของ IG อยู่ไปยังหน้าที่วางไว้รองรับข้อมูลที่สนใจเพิ่มเติมได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การจบการขาย หรือการเพิ่มสมาชิกได้ทันที สร้างโอกาสให้ร้านค้าอย่างมากมายในการใช้ IG ขึ้นมา

 

4. ใช้ #Hashtag บน Instagram ให้เกิดประโยชน์กับร้านอาหาร

จริงอยู่ที่ว่า ภาพเดียวแทนคำพูดได้เป็นล้านคำ แต่อย่าลืมว่าการโพสต์ภาพสวยๆลงบนอินสตาแกรม แต่ไร้คำบรรยายใต้ภาพ หรือใช้แคปชันสับสน ยาวเหยียด อ่านแล้วไม่เข้าใจก็ทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน และทำให้ผู้ติดตามเข้าใจผิดได้เช่นกัน
การใช้แฮชแท็กบน IG ช่วยทำให้รูปภาพและวิดีโอเข้าถึงได้มากขึ้น ดังนั้นลองค้นดูว่า แฮชแท็กใดที่คนนิยมใช้ จะลองเป็นแฮชแท็กภาษาไทยก็ได้ และควรสร้างแฮชแท็กขึ้นมาเองด้วยเช่นกัน อาจจะเป็นชื่อร้าน หรือชื่อเมนูจานเด็ด ผสมกันไป แน่นอนว่าเมื่อรูปภาพสวยๆไปปรากฏตามแฮชแท็กที่เกี่ยวข้อง เตรียมตัวรับ Follower เพิ่มขึ้นได้เลย เผลอ ๆ อาจได้ลูกค้ามาที่ร้านเพิ่มขึ้นก็เป็นได้

 

5. รีโพสต์รูปอาหารจากลูกค้า การตลาดดีๆแชร์ได้ฟรีที่บอกต่อ

การเลือกใช้ IG เป็นสื่อกลางที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้น จำเป็นจะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นคอนเทนต์ หรือสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดผลตอบรับที่น่าพอใจ สำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ หรือการทำการตลาดออนไลน์ ในบางครั้งคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ แต่นี่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร เพราะปัจจุบันเราสามารถทำให้คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ กลับมามีชีวิต และเป็นที่จับตามองอีกครั้งได้ ด้วยการรีโพสต์ (Repost) ที่จะทำให้คอนเทนต์ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอของคุณกลับมาอยู่ลำดับแรกๆ บนหน้าอินสตาแกรม

เมื่อมีลูกค้ามากขึ้น ใคร ๆ ก็อยากจะแชร์รูปสวย ๆ ลงบน IG ทั้งนั้น อาจมีบ้างที่เมนชัน หรือ Tag รูปมายัง IG ของร้าน ลองทักด้วย Direct Message ผ่าน IG ว่าขออนุญาตใช้รูป โดยให้เครดิตลูกค้าท่านนั้น เชื่อได้เลย ว่าลูกค้าหลายคนอนุญาตแน่ ๆ

การ Repost รูปอาหารสวย ๆ จากลูกค้า จะช่วยทำให้ร้านดูเข้าถึงได้ง่าย เป็นกันเอง และยังได้แนะนำรีวิวจริง ๆ ให้กับลูกค้าคนอื่นให้รู้ด้วย เป็นการขยายการรับรู้ให้มากขึ้น

 

สุดท้ายที่เหลือของ IG ที่ต้องทำนั้น อาจไม่ต่างไปจาก Facebook คือต้องวางแผนในการทำคอนเทนต์ล่วงหน้า ว่าในเดือนนี้จะทำ Theme เกี่ยวกับอะไร โพสต์ในวันไหนบ้าง อาจเล่นกับโปรโมชันบ้าง จะช่วยทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น หวังว่าคุณจะเริ่มใช้ IG ผสานเข้ากับธุรกิจอาหารของคุณได้เป็นอย่างดี

และสำหรับใครอยากรู้จักตัวช่วยอื่นๆสำหรับร้านอาหาร แอดมินขอแนะนำบทความนี้เลยค่ะ “7 Social Media Marketing การทำการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

แผนการตลาด

สำรวจก่อนเริ่มทำ แผนการตลาด ธุรกิจ E-Commerce

ธุรกิจ E-Commerce แต่ละประเภทอาจมีเป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกัน แต่โดยพื้นฐานส่วนใหญ่แล้วมักมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อนี้รวมอยู่ด้วย คือ เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมและสร้างการรับรู้ เปลี่ยนจากผู้เข้าชมเป็นลูกค้า และสื่อสารกับลูกค้าที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรับร้านอาหาร

ปรับร้านอาหาร รับตรุษจีน เรียกลูกค้าเข้าร้าน

ตรุษจีน เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน เราจะ ปรับร้านอาหาร เพื่อดึงลูกค้า โกยกำไรรับเทศกาลนี้ได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน

สื่อสาร

5 ข้อควรรู้ สื่อสาร บนโลกออนไลน์ไม่ให้เกิดดราม่า

สื่อออนไลน์นับเป็นช่องทางการทำการตลาดยอดนิยม แต่หากคุณ สื่อสาร บนโลกออนไลน์ผิดพลาด อาจกลายเป็น “ดราม่าใหญ่” จนทำให้ยอดขายตกฮวบได้

“อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์มาแรงสายคลีน โอกาสทองของคนอยากมีธุรกิจ

หนึ่งในปัจจัยภายในที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีได้นั้น คงหนีไม่พ้น “อาหาร” นาทีนี้เรื่องของ “อาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ อาหารคลีนฟู้ด กำลังได้รับความนิยม อาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์มาแรงของคนยุคใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตลาดธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพขยายตามไปด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่สนใจอยากเปิดร้านอาหาร การลงทุนกับอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและเริ่มต้นได้ไม่ยาก วันนี้เราจึงขอนำเสนอแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนตีโจทย์ลักษณะของธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเป็นแนวทางในการนำไปเริ่มธุรกิจกัน 1.จุดยืนของอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่า อาหารของเราทำมาจากวัตถุดิบที่สดใหม่และได้คุณภาพ ปรุงรสและผ่านกรรมวิธีที่ไม่ได้ลดคุณค่าทางอาหารจนเกินไป หากสนใจลงทุนกับธุรกิจด้านนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจอย่างเราก็ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโภชนาการและคุณค่าทางอาหารต่างๆ ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเอ่ยถึงอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคล้วนมองหาสิ่งดีๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีมาจากภายใน  เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี กรรมวิธีการปรุงอาหารที่ไม่มากเกินไปจนทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มคนรักสุขภาพมองเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะมองหาอาหารที่ช่วยควบคุมแคลอรี่และน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีรสชาติที่ดี  มีเมนูให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่จำเจหรือน่าเบื่อจนเกินไป จะเป็นเมนูอาหารเช้า ขนมทานเล่น ของหวาน หรือเมนูหลักก็สามารถสร้างสรรค์ให้หลากหลายได้ หลักในการปรุงส่วนใหญ่นั้น  ร้านควรเน้นวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ ไม่มีวัตถุดิบพวกหมักดอง หรือ ขัดขาว เช่นน้ำตาลทรายขาว ข้าวขาว อาหารควรไร้ไขมัน มีน้ำมันประกอบอาหารได้ในจำนวนน้อยและใช้น้ำมันพืชที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน และปรุงรสให้กลมกล่อมแบบกลางๆมากกว่าการเน้นรสจัด ที่สำคัญควรต้องครบห้าหมู่ 2.กลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ แม้จะดูเหมือนว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่แท้จริงแล้วกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกระจายอยู่ในหลายอาชีพและช่วงอายุ ทั้งกลุ่มนักศึกษาที่อยู่หอพักหรือคอนโด ซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในการทำอาหารมากนัก, กลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้มีเวลาดูแลตัวเองเท่าที่ควร หรือกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งต้องเริ่มใส่ใจกับอาหารการกินมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่กลุ่มคนรักสุขภาพที่เข้าฟิตเนส […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.