เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย - Amarin Academy

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป วันก่อนผมมีโอกาสไปรับประทานอาหาร ณ ร้านอาหารร้านหนึ่งในห้างสรรพสินค้า ก็บังเอิญอยู่ในเหตุการณ์นี้เช่นกัน ซึ่งการแก้ปัญหาของผู้จัดการร้านอาหารน่าสนใจมาก จึงอยากแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน

เรื่องมีอยู่ว่า มีลูกค้าท่านหนึ่ง ลืมโทรศัพท์มือถือไว้บนโต๊ะอาหาร จึงเดินกลับมาสอบถามพนักงาน ปรากฏว่าโทรศัพท์เครื่องนั้นอันตรธานหายไปแล้วครับ

ลูกค้ายืนยันว่าวางไว้บนโต๊ะแน่นอน เพราะเธอหยิบขึ้นมากดสิทธิ์รับโปรโมชั่นเครื่องดื่มฟรี แล้ววางไว้บนโต๊ะ หากบนโต๊ะไม่มีแสดงว่าพนักงานหยิบไปแน่นอน พนักงานเสิร์ฟก็ยืนยันเช่นกันว่าไม่เจอโทรศัพท์บนโต๊ะเลย

เอาละสิครับ…ต่างฝ่ายต่างยืนยันในความเชื่อมั่นของตนเอง ผู้จัดการร้าน จึงต้องทำหน้าที่ เข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหา ผมว่าการแก้ไขปัญหาของเขาน่าสนใจมากครับ

เริ่มจาก เขากล่าวขอโทษลูกค้าเป็นอันดับแรก แม้จะยังไม่ได้สืบสาวราวเรื่องใดๆ เลยก็ตาม เพราะลูกค้าเริ่มมีอารมณ์แล้วครับ มือถือหายทั้งเครื่อง ใครจะไปใจเย็นไหว

ถัดมาจึงขอเบอร์โทรศัพท์เครื่องที่หายจากลูกค้า แล้วโทรเข้ามือถือเครื่องที่หายไปทันที เพื่อตรวจสอบว่าตกหล่นไปที่ไหนหรือเปล่า เผื่อมีเสียงเรียกเข้าดังขึ้นมาจะได้หาเจอ ปรากฏว่าโทรติด แต่ไม่มีคนรับสาย แถมเจ้าของมือถือปิดเสียงและเปิดระบบสั่นไว้อีกด้วย

แต่โชคยังเข้าข้างครับ เพราะมีพนักงานคนหนึ่งในยินเสียงสั่นอยู่ใกล้ๆ เคาท์เตอร์วางเมนู ปรากฏว่าโทรศัพท์เครื่องเจ้าปัญหานอนสั่นอยู่ในเมนูครับ

ดูเหมือนเรื่องจะคลี่คลายแล้วใช่ไหม แต่เปล่าเลย เพราะเจ้าของโทรศัพท์กลับยิ่งโกรธ เธอบอกว่าพนักงานเก็บโต๊ะ ต้องจงใจซ่อนโทรศัพท์ของเธอในเมนูแน่นอน แล้วรอเวลาที่ปลอดคน ถึงค่อยมาหยิบไป เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เห็นว่ามีโทรศัพท์อยู่ในเมนู เธอจึงขอดูกล้องวงจรปิด เพื่อพิสูจน์ว่าใครจงใจขโมยโทรศัพท์ของเธอกันแน่

ในตอนแรกผู้จัดการร้านขอยืนยันว่าพนักงานไม่ได้มีเจตนาขโมยแน่นอน เนื่องจาก ข้อแรกเมนูเล่มใหญ่และค่อนข้างหนา พนักงานจึงอาจไม่ทันได้ตรวจสอบว่ามีโทรศัพท์ติดไปหรือไม่ ข้อสอง เมนูไม่ใช่ที่ซ่อนของที่ปลอดภัยเลย เพราะอาจถูกส่งให้ลูกค้าโต๊ะใดโต๊ะหนึ่งเมื่อไรก็ได้

แต่เจ้าของโทรศัพท์ยืนยันคำเดิมว่าจะขอดูกล้องวงจรปิด ดังนั้นผู้จัดการร้านจึงแจ้งว่า หากต้องการดูกล้องวรจรปิดก็ได้เช่นกัน จากนั้นจึงอธิบายรายละเอียดของการขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดภายในห้างฯ ว่าต้องมีเอกสารใดประกอบบ้าง หากเจ้าของโทรศัพท์เตรียมเรียบร้อยแล้ว สามารถนำเอกสารมาส่งที่ร้านได้เลย แล้วทางผู้จัดการจะเป็นผู้ประสานงานให้ทันที…เรื่องราวความวุ่นวายจึงจบลง

เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ

สุดท้ายแล้วผมบอกไม่ได้ว่าตกลงพนักงานจงใจซ่อนโทรศัพท์จริงๆ หรือเปล่า เพราะว่าเอกสารที่เจ้าของโทรศัพท์ต้องนำมายื่นเรื่องคือใบแจ้งความ ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลานานพอดู ผมเลยไม่ได้รอผล แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้คือ วิธีการปฏิบัติงานของผู้จัดการร้าน ที่เรียกได้ว่าเป็น “มืออาชีพ”

เขาสามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่ตรึงเครียดได้ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมอารมณ์ น้ำเสียงและท่าทางการแสดงออกได้ดี พูดจาด้วยความสุภาพ อธิบายขั้นตอนทุกอย่างชัดเจน และแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจได้เหมาะสม ทั้งหมดทั้งมวลผมว่าสิ่งสำคัญที่ผู้จัดการร้านคนนี้มีคือ “สติและประสบการณ์” ที่ช่วยให้เขาผ่านปัญหานี้มาได้

ผมคิดว่าวิธีการแก้ไขสถานการณ์ของเขาน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างให้เพื่อนๆ เจ้าของร้านอาหาร นำไปประยุกต์ใช้ได้ดีทีเดียว

สำหรับเพื่อนๆ เจ้าของร้านอาหารคนไหนเคยเจอปัญหาจากการทำร้านอาหาร สามารถแชร์ความรู้กันได้นะครับ เพื่อเป็นวิทยาทานต่อเพื่อนๆ ท่านอื่นต่อไป

บทความน่าสนใจ ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหาร

เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุมร้าน

เปิดร้านอาหาร ควรดูแลร้านเองหรือควรจ้างผู้จัดการร้านมาคุม ? เราจะลองมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า การดูแลร้านเอง กับ การจ้างคนมาคุมร้าน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ทุกวันนี้ร้านบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่อยู่รอด วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.