แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก "เสียหน้า" เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า”
เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

แชร์ประสบการณ์โดยสมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ”
พร้อมรวมคำแนะนำต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

แอดได้ไปเจอ Topic หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” แล้วเห็นว่าน่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือเรื่อง ความเข้าใจของลูกค้า กับคนขายกาแฟ ที่บางครั้งอาจจะต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด นำไปสู่การทำเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แบบที่ลูกค้าสั่ง หรือไม่ตรงกับที่ลูกค้าอยากได้ แต่เจ้าของร้านจะสื่อสารอย่างไร ไม่ให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” ล่ะ ?

ซึ่งสำหรับปัญหาความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟที่บางครั้งอาจจะต่างกันนั้น ได้มีผู้ประกอบการร้านกาแฟท่านหนึ่งได้มาแสดงความคิดเห็นเชิงแนะนำได้อย่างน่าสนใจว่า

“ความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟมักจะต่างกัน แต่หากลูกค้าเอื้อนเอ่ยออเดอร์ใด ที่เราคิดว่าชื่อไม่ถูก เราแค่ทวนออเดอร์และส่วนผสมก็พอ อย่าทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียหน้า ลูกค้าบางท่านอาจจำชื่อมาแค่นั้น หรือไม่ได้เข้าร้านกาแฟบ่อยๆ และเขาไม่ต้องการให้เราสอนเขา

1.ถ้าลูกค้าสั่งเครื่องดื่มไม่หวาน เราแค่ทวนว่าไม่หวานเลยหรือใส่นิดหน่อย
2.ถ้าลูกค้าสั่งเอสเพรสโซ่ร้อนใส่น้ำเยอะ ๆ ถ้าเขาไม่ได้เรียกอเมริกาโน่ ก็ไม่เป็นไร ทำให้เขานะ มันเหมือนกัน
3.คาปูชิโน่ไม่ใส่ฟองนม ไม่ใส่ช็อคโกเลต ก็แค่ตอบว่า ค่ะ แล้วถามว่า “หวานปกติไหมคะ”

ตอนวัยรุ่นเคยสั่งชาเขียวปั่นร้านหนึ่ง เขาบอกไม่มีค่ะ มีแต่ frappe เราก็ไม่รู้จัก ลูกค้าต่อคิวก็เยอะ แต่ความรู้สึกตอนนั้นคือกลัวการเข้าร้านกาแฟแบรนด์นี้ไปเลย ดังนั้น การทวนออเดอร์ลูกค้าและส่วนผสม สำคัญมากค่ะ อย่าทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียหน้า”
.
ด้วยความที่โพสต์นี้ได้แสดงถึงความเข้าอกเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง จึงทำให้มีทั้งผู้ประกอบการร้านกาแฟ และลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความชื่นชมในทัศนคติของผู้ประกอบการรายนี้

🔸ความเห็นจากคนทำร้านกาแฟ☕️

1- “ขอตอบในฐานะแม่ค้า ถ้าทำหน้าไม่เป็นให้ยิ้มค่ะ แล้วถามลูกค้า หรือทวนออร์เดอร์ ลูกค้าน่ารักใจดีมีเยอะค่ะ และขอตอบในฐานะลูกค้า ไม่เคยรำคาญเวลาแม่ค้าถามย้ำหรือทวนออเดอร์กันพลาดนะคะ ยอมรับว่าบางทีตัวเราสั่งผิดเองก็มีค่ะ เพราะฉะนั้นการสื่อสารที่มากขึ้นอีกนิดนึงด้วยไมตรีมันดีขึ้นเสมอค่ะ ถ้าแม่ค้าทำเหมือนลูกค้าเป็นตัวตลก หายนะเกิดแน่นอน เพราะไม่ใช่จะเสียลูกค้าไปแค่คนเดียว แต่คำว่าปากต่อปากมันอันตรายค่ะ ร้านนั้นอาจจะเสียลูกค้าไปอีกสิบอีกร้อยคนได้ค่ะ”

2- “แม่ค้ายังทำเมนูยังไม่ถูกและรสชาติก็ไม่เหมือนกัน ลูกค้าบางคนก็นานๆ สั่งกิน เรียกผิดเรียกถูก พูดคุยกันดีๆ ทั้ง 2 ฝ่ายจะน่ารักกว่ามาพูดให้ลูกค้าไม่สบายใจ บางคนกลัวไม่อยากเข้าร้านกลัวสั่งผิดแล้วเจอแม่ค้าที่คอยแต่จะเอาเรื่องก็มี”

3- “ลูกค้าบางคนไม่ค่อยได้กินกาแฟสด ไม่รู้จักชื่อเมนู มาถึงก็เอากาแฟเย็นแก้วนึง เราก็แค่ถามว่ากินแบบเข้ม-กลาง-หรือว่าอ่อนคะ หวานปกติไหม แค่นั้นเองเราไม่งงลูกค้าก็เข้าใจง่ายอย่าไปโชว์ภูมิเหนือลูกค้าเลย ยิ่งอยู่แหล่งคนท้องถิ่นเยอะ อย่าคิดไปเองว่าเขาจะรู้เมนูเราเนอะ เราก็ไม่รู้เมนู แบรนด์ดังๆ เขาหรอก”

4- “ถ้ามีลูกค้ามาซื้อละบอกว่า เอากาแฟเย็นแก้วนึง เราจะไม่ถามว่ารับเป็นเมนูอะไรดีครับ แต่เราจะถามว่า ปกติลูกค้าทานกาแฟดำหรือกาแฟนม ถ้าลูกค้าบอกว่าทานแบบใด เราก็จะบอกชื่อเมนูและส่วนผสม ให้ลูกค้าได้เลือกครับ เพราะอย่างที่บอก มันจะเป็นการทำให้ลูกค้าเสียความมั่นใจ”

🔸ความเห็นจากลูกค้า🗣

5- “ถึงจะเป็นคนดื่มกาแฟประจำ สั่งแต่เมนูเดิมๆ แต่แต่ละร้านทำไม่เหมือนกันก็มีนะ หรือบางทีสั่งหวานน้อย ร้านบอกว่าปกติไม่ใส่หวานค่ะ แล้วทำหน้าเหยียดนิดๆ บางร้านก็บอกดีๆ ว่าปกติร้านไม่ใส่หวานเลย จะให้ใส่นิดนึงไหมคะ ความรู้สึกลูกค้ามันต่างกันนะ”

6- “ในฐานะลูกค้าที่กินชาไทยทุกวัน แต่วนกินหลายร้าน ไปเที่ยวต่างจังหวัด ก็แวะซื้อตลอด ยังเกร็งๆ เวลาสั่งเลยค่ะ ไปบอกเอาชานม บางร้านก็งง ไปบอกชาไทย บางร้านก็ทวนออเดอร์ว่า ชานมไหมคะ? ทำเอากล้าๆ กลัวๆ เวลาไปซื้อร้านที่ไม่เคยซื้อ ถ้าเจอคนขายที่เข้าใจลูกค้าแบบนี้ เราก็ไม่เกร็งเวลาเข้าร้าน”

7- “บางครั้งเราก็สั่งผิดจริงๆ แต่แม่ค้าใจดี สอนเราว่าอันนั้นเรียกว่าอะไรๆ เราก็ขอบคุณไป เพราะเขาไม่ทำให้เสียหน้าค่ะ เลยกลายเป็นเจ้าประจำของเราเลย”

8- “ในฐานะลูกค้า พ่อชอบกินกาแฟเราอยากให้กินกาแฟสดหอมๆ อร่อยๆ พ่อบอก พ่อสั่งไม่เป็น เคยเจอพนักงานชักสีหน้าใส่ ทวนเมนูไม่อะไรเยอะไปหมด พ่อเลยไม่กล้าซื้อกินอีกเลย แกก็กินแต่กาแฟชงรถเข็นของแกเช่นเดิม”

9- “เวลาเราสั่งกาแฟ เราไม่กินหวานเลย และเราก็ไม่รู้ว่าแต่ละร้านเค้าทำลาเต้ใส่หวานไหม ก็จะย้ำบอกเขาไปเผื่อๆ จะได้ไม่เสียเวลาทั้งคู่ บางร้านก็พูดจารำคาญว่าลาเต้มันไม่หวานอยู่แล้ว คือเราก็รู้ค่ะ แต่หลายร้านเขาทำหวาน เราก็ต้องบอกไว้ก่อนไง บางร้านพูดเหมือนเราโง่เลย”
.
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าทัศนคติในการทำงานและใจในการบริการเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำธุรกิจบริการ อย่างธุรกิจร้านอาหารหรือเครื่องดื่มมาก ๆ เพราะงานบริการมีผลต่อความประทับใจและความรู้สึกของลูกค้า ไม่แพ้รสชาติของอาหารเลย ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญไม่ได้มีแค่เรื่องยอดขาย แต่ยังมีเรื่องของความรู้สึกของลูกค้าอีกด้วยนะ
.
Reference: https://www.facebook.com/groups/259809032544230/posts/457590396099425/
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า   เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน! WHAT  หาอะไร ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้ Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix […]

จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

ก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้างมาตรฐาน ให้ร้านอาหาร มาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.