5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร - Amarin academy

5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร

ทุกวันนี้ธุรกิจอาหารกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมากเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง แม้แต่ร้านอาหารแบรนด์ดังยังต้องออกโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ฉีกแนวเดิมออกมาในตลาดอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะทำอะไรเดิมๆ ธุรกิจก็คงอยู่ได้ไม่ยาว ลองศึกษา 5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เพิ่มช่องทางหารายได้ ที่ปรับใช้ได้ทั้งเจ้าของร้านอาหาร และคนที่ต้องการเริ่มธุรกิจใหม่


5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก
เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร

 

  1. Ghost Kitchen และ Cloud Kitchen

Ghost Kitchen และ Cloud Kitchen เป็นโมเดลการทำธุรกิจอาหารที่นิยมมากในยุคนี้ โดยจะรับออเดอร์อาหารทางออนไลน์ จัดทำอาหารในครัวของร้าน แล้วจึงจัดส่งอาหารเดลิเวอรีผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ถือเป็นโมเดลธุรกิจที่มีความ lean สูงจากการลดต้นทุนค่าเช่าร้าน ค่าพนักงานบางส่วน หรือค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร เรียกได้ว่าดำเนินธุรกิจด้วยการลงทุนที่ต่ำกว่าการเปิดหน้าร้านมาก จึงช่วยลดความเสี่ยงหรือความสูญเสียในธุรกิจได้ 

ปัจจุบันร้านหลายๆ แบรนด์ก็แชร์ครัวกลางร่วมกันเพื่อลดต้นทุน และช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียว ข้อดีที่ชัดเจนของโมเดลนี้คือ ประหยัดต้นทุนหลายด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการเข้าถึงผู้บริโภค และอาหารที่ต้องส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีรสชาติหรือหน้าตาสู้อาหารแบบนั่งทานที่ร้านไม่ได้   

 ร้านอาหารทางเลือก

  1. Meal Kits 

จากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในยุคนี้ ทำให้ การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในเซตจะมีส่วนผสมให้พร้อมกับขั้นตอนวิธีการทำอาหาร จัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน ประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกแก่มือใหม่ โดยเฉพาะในเมนูที่เป็นอาหารนานาชาติ เช่น เมนูอาหารเกาหลี ที่ใช้วัตถุดิบที่ไม่คุ้นเคยนัก หรือแม้แต่ชาบู-หมูกะทะ ก็จัดขายเป็นเซ็ตสำหรับไปทำทานเองที่บ้านกันแทบทุกร้านแล้ว

จุดเด่นของการขายแบบนี้ คือสามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆ ได้มาก จัดส่งเดลิเวอรีได้ไม่ต้องขายแค่ทางหน้าร้าน ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น แต่ข้อจำกัดคือส่วนผสมต่างๆ ต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้สูตรอาหารออกมารสชาติอร่อยคงที่ ซึ่งไม่เหมาะกับเมนูที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำ หรืออาหารที่มีความซับซ้อนและใช้เวลามากจนเกินไป 

  1. Kiosk

 คีออส (Kiosk) คือ ร้านค้าขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นซุ้ม หรือเคาน์เตอร์ขายอาหาร สามารถอยู่ได้ทั้งในห้างและนอกห้าง โมเดลประเภทนี้เหมาะกับการขายอาหารที่มีขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อนนัก เนื่องจากมีพื้นที่ทำครัวจำกัด เช่น อาหารทานเล่น ขนม ฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทปิ้งย่าง หรือกาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ 

จุดเด่นของโมเดลนี้คือเริ่มต้นง่าย เป็นโอกาสเริ่มต้นธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยโดยที่ไม่ต้องมีเงินลงทุนสูงมากนัก และยังสามารถขนย้ายได้สะดวก ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อโมเดลนี้ คือการออกแบบที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ รวมถึงการบริการที่รวดเร็วจะทำให้ลูกค้ากลุ่มวัยทำงานมาใช้บริการมากขึ้น แต่ข้อจำกัดคือทำเลของร้านจะต้องตั้งอยู่ในที่สาธารณะ หรือละแวกชุมชนที่มีลูกค้าเดินผ่านพลุกพล่าน ซึ่งจะมีการแข่งขันระหว่างร้านอาหารสูง

Food Truck

  1. Food Truck

การดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ ยกระดับอาหารแนว Street food ให้ดูแตกต่าง มีสไตล์ที่ชัดเจน และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่นิยมการขายเบอร์เกอร์ หรืออาหารที่วิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นปริมาณการขาย

จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีความโดดเด่นของรถและกลิ่นหอมของอาหารจากครัวแบบเปิด ซึ่งก็จะเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนสามารถพัฒนาต่อไปเป็นธุรกิจร้านอาหารหลายๆ สาขาได้ในโอกาสที่เหมาะสม แต่ข้อจำกัดสำหรับบางร้านที่ขายในงานอีเว้นท์ต่างๆ เป็นหลัก จะทำให้บริหารจัดการยากขึ้น

Meal Box

  1. Meal Box

การขายอาหารกล่องจากครัวกลาง เพื่อกระจายไปขายในจุดต่างๆ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายๆ ร้าน หรือแม้แต่โรงแรมต่างๆ เลือกที่จะปรับตัวสู้กับภาวะเศรษฐกิจ โดยอาจจะแบ่งเป็นการขายปลีกเอง หรือทำขายส่งตามร้านต่างๆ  จุดเด่นของโมเดลนี้คือการลดต้นทุนของวัตถุดิบได้จากการซื้อในปริมาณมาก ลดภาระในการขายและการตลาด เข้าถึงลูกค้าได้กว้างมากขึ้น แต่แน่นอนว่ากำไรจะน้อยลงจากการแบ่งเปอร์เซนต์การขายให้กับร้านอื่นๆ 


ซึ่งโมเดลทั้ง 5 แบบนี้ เป็นเหมือนทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มธุรกิจอาหาร หรือสำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากขยายโมเดลของร้าน ให้มีรายได้หลายช่องทางมากขึ้น กระจายความเสี่ยงแก่ธุรกิจ และเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าหลาย ๆ กลุ่ม เพราะความท้าทายของธุรกิจอาหารยังคงมีอยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นทักษะที่ผู้ประกอบการทุกคนควรมี เพื่อปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่อไป 

เรื่องแนะนำ

4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

“ถ้าไม่อยากเสียเพื่อนอย่าริทำธุรกิจกับเพื่อน” เมื่อการทำธุรกิจกับเพื่อนไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด แล้วอะไรคือสัญญาณเตือนว่าคุณเองกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

ยูนิโคล่

5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

เขาเคยเขียนหนังสือที่ชื่อว่า “ชนะหนึ่ง แพ้เก้า” เอาไว้ ในหนังสือเผยให้รู้ว่าเขาวางแผนไว้ 10 อย่างแต่ล้มเหลวไปเสีย 9 อย่าง แต่ความสำเร็จหนึ่งเดียวนั้น ทำให้เขาก้าวไกลมาจนถึงวันนี้...

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP

  มาทำความรู้จักกับ “ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP ที่เจ้าของร้านทุกคนต้องมีกัน”   ผมเชื่อว่า ร้านอาหาร ก็เปรียบเสมือน ร่างกาย ของคนเรา ที่ประกอบไปด้วย อวัยวะ หลายส่วน ถ้าเจ้าของร้าน เปรียบเสมือน ส่วนหัว พนักงาน ก็จะเป็นแขนขา มือ และส่วน อื่นๆ ที่ทำงาน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน สุขภาพของร้านอาหารที่ดี ก็เหมือนร่างกายที่มีสุขภาพดี คือทำงานออกมาได้ดี มีผลงานออกมาตามแผนที่วางไว้ แต่ถ้าร่างกาย เกิดเจ็บป่วย เราก็จะเห็นว่า มีอาการแปลกประหลาด เช่น อาหารออกมารสชาติ ไม่เหมือนเดิม คุณภาพการบริการเปลี่ยนไป จนลูกค้าเริ่มต่อว่า จะดีแค่ไหนถ้าร้านของเรามีเครื่องมือบางอย่าง ที่ทำหน้าที่ เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถที่จะ ซ่อมแซมตัวเองได้ โดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องคอยควบคุมอยู่ตลอด หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น วันนี้ผม จึงอยากเสนอ เครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร้านอาหารของเรา มีสุขภาพที่แข็งแรง การทำงานราบรื่นขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า “SOP” (เอสโอพี) […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.