ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด - Amarin Academy

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน 

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ
เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ


ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร

  • เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ
    ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ
  • สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP)
    เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น

    ต้นทุน

 

  • ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม
    อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น
  • หลักการปรุงแบบ Zero-waste
    คือความพยายามในการนำวัตถุดิบทุกส่วนมาปรุงอาหาร โดยตัดหรือหั่นให้เหลือทิ้งน้อยที่สุด เป็นการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า เช่น เศษเนื้อปลาจากการตัดแต่งวัตถุดิบ สามารถนำไปมาดัดแปลงเป็นเมนูอื่นๆ อย่างลูกชิ้นปลา ห่อหมกปลา ก็เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบ ลดปริมาณขยะในครัว และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้
  • แบ่งหน้าที่แก่พนักงานให้ชัด
    มอบหมายงานในการจัดการสต๊อกแก่พนักงานให้ชัดเจน และนับสต๊อกหลังจากที่ปิดร้านในแต่ละวัน เพื่อตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบที่ใช้จริงในแต่ละวัน ลดการทุจริตของพนักงานและช่วยให้ง่ายต่อการจัดการ 
  • สร้างความร่วมมือในทีม
    เจ้าของร้านอาจจะสร้างมีข้อตกลงร่วมกันกับพนักงานในการลดของเสียที่เกิดขึ้นในร้าน หรือระดมความคิดเปิดรับข้อเสนอแนะ จากพนักงานในแต่ละตำแหน่งเกี่ยวกับวิธีลดต้นทุนที่สามารถทำได้

พนักงานร้านอาหาร

รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

ปัญหาพนักงานลาออกบ่อย ๆ ส่งผลให้การทำงานในร้านไม่ต่อเนื่อง เจ้าของร้านต้องเสียเวลาเปิดรับสมัครพนักงาน เสียงบประมาณในการเทรนนิ่งเรื่องต่างๆ และพนักงานเก่าเองก็ต้องแบ่งเวลามาสอนงานให้พนักงานใหม่ เรียกได้ว่าเป็นต้นทุนแฝงชนิดหนึ่ง ดังนั้น เราต้องคัดเลือกพนักงานที่มีประสิทธิภาพ และพยายามรักษาเอาไว้กับร้าน เพื่อลดปัญหาเรื่องคนและการทำงานในร้านอาหาร  

ตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

เจ้าของร้านควรตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายของทุกฝ่ายในร้าน ดูทั้งในภาพรวมและลงรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินที่ขายได้ของแต่ละวัน ค่าแรงพนักงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อให้ทราบได้ทันทีหากเกิดปัญหาในด้านไหนขึ้น เช่น ถ้ายอดขายของร้านคงที่ แต่กำไรน้อยลงกว่าเดิม อาจจะต้องกลับไปเช็กว่าปัญหาเกิดจากค่าใช้จ่ายด้านไหน และคิดหาวิธีแก้ไขต่อไปให้ถูกจุด

เมนูทำกำไร

โปรโมทสินค้าที่ทำกำไร

นอกจากลดต้นทุนแล้ว เรายังสามารถเพิ่มกำไรจากการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในเมนูที่ได้กำไรสูง ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มพวกน้ำผลไม้ ชา กาแฟ ที่ราคาไม่แพงมากนัก แต่ได้กำไรสูงและขายได้ง่ายกว่า รวมถึงอาหารประเภทแป้งอย่างสปาเกตตี พิซซ่า พาสต้า ขนมปัง ก็มีต้นทุนที่ไม่สูงนักและทำกำไรได้ดี ฉะนั้นควรให้พนักงานโปรโมทการขายเมนูที่ทำกำไรได้สูงในร้านเป็นพิเศษ 


เมื่อรู้ถึงเทคนิคต่าง ๆ แล้ว เจ้าของร้านก็ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับร้านของตัวเอง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มกำไรและพัฒนาร้านอาหารกันต่อไปนะครับ

 

เรื่องแนะนำ

เริ่มทำธุรกิจ

คำถามสำคัญที่คุณควรถามเมื่อ เริ่มทำธุรกิจ

สำหรับคนที่กำลัง เริ่มทำธุรกิจ คงมีหลายเรื่องให้ต้องคิดมากมายใช่ไหมครับ แต่เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมขายของสิ่งเดียวกัน บางร้านถึงขายดีกว่าอีกร้านหนึ่ง?

ตั้งราคาขาย

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ ตั้งราคาขาย อย่างไร  ให้ขายได้และร้านอยู่รอด         พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น          แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP […]

ต้นทุนในการทำร้านอาหาร

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

นอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหารแล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

ถอดบทเรียน MK

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ ถึงครองใจคนไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.