หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน - Amarin Academy

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

ทุกวันนี้มีคนสนใจหันมาลงทุนทำร้านอาหารมากขึ้น ซึ่งหลายคนเลือกเปิดร้านอาหารร่วมกับคนรู้จักหรือเพื่อนๆ จะได้ร่วมกันคิด ตัดสินใจ และกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจ แต่การจะเริ่มทำธุรกิจร้านอาหารกับใครนั้น ควรมีหลักการบริหารที่ชัดเจน ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาตามมาได้ วันนี้เราจึงมีหลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามาฝาก

1.คุยให้เคลียร์ ก่อนลงมือทำ

สาเหตุหลักที่เจ้าของร้านอาหารส่วนใหญ่มีปัญหากับหุ้นส่วนนั้น มักมาจากเรื่อง “การสื่อสาร” ไม่ว่าจะเป็นลงมือทำโดยไม่บอก หรือสื่อสารกันไม่เข้าใจ คนนึงเข้าใจว่าจะทำอย่างนี้ แต่อีกคนเข้าใจว่าอย่างนั้น ทำให้เกิดปัญหาตามมา

ฉะนั้นก่อนจะลงมือทำสิ่งใดก็ตามคุณควรต้องพูดคุย ปรึกษากันเสมอ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ (บางร้านแค่เรื่องการเลือกซื้อถ้วย ชาม ก็ทำให้หุ้นส่วนมีปัญหากันมาแล้ว) และเมื่อคุยกันแล้วก็ควรมีการสรุปประเด็นที่คุยให้เคลียร์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาด้านการสื่อสารผิดพลาด

2.แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน

อีกข้อที่ควรทำก่อนจะร่วมมือ (และลงเงิน) ทำร้านอาหารคือ ต้องแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทำงานที่ทับซ้อน ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน หรือปัญหาที่ว่า งานนี้ไม่มีใครเป็นผู้รับผิดชอบ ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จหลายๆ ร้าน มักใช้วิธีการแบ่งหน้าที่ตามความถนัด เช่น A ดูแลเรื่องการสร้างแบรนด์และการทำการตลาด B ดูแลเรื่องระบบภายในร้าน งานครัว C ดูแลเรื่องการเงิน เอกสารและงานบุคคล เป็นต้น การทำเช่นนี้นอกจากป้องกันปัญหาที่กล่าวไปข้างต้นได้แล้ว ยังทำให้พนักงานภายในร้านไม่สับสน เพราะหากไม่แบ่งหน้าที่ให้ชัด เจ้าของร้านคนนั้นเดินมาสั่งที อีกคนเดินมาสั่งที พนักงานก็ไม่รู้จะทำตามคนไหนกันแน่

3.มีปัญหาต้องรีบเคลียร์

ไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่เจอปัญหา ร้านอาหารก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องระบบงาน การบริการ พนักงาน คุณภาพอาหาร การจัดการวัตถุดิบ หรือแม้กระทั่งปัญหาระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง ที่อาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เจ้าของธุรกิจควรจำไว้เสมอว่า เมื่อคุณเจอปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ คุณต้องรีบแก้ไขโดยเร็วที่สุด ยิ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนด้วยแล้ว ยิ่งต้องรีบเคลียร์ เพราะถ้ามัวเกรงใจกัน คิดว่าเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ มองข้ามไปดีกว่า ปัญหาเหล่านั้นอาจลุกลามจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้

4.รายงานการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

การบอกให้หุ้นส่วนรู้ว่างานในส่วนของเราดำเนินไปถึงไหนแล้วเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม (หลายๆ ธุรกิจมีปัญหากันเพราะเรื่องนี้แหละ) เพราะเมื่อแบ่งหน้าที่กันชัดเจน ต่างฝ่ายต่างลงมือทำงานกัน อาจจะไม่มีเวลามานั่งดูว่า งานของอีกคนไปถึงไหนบ้าง ติดขัดอะไรหรือเปล่า หรือเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม สุดท้ายเมื่อผลงานไม่ได้ตามที่ตกลงกันไว้ (อาจเพราะเงื่อนไขต่างๆ)  หุ้นส่วนอีกคนอาจไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น จนทำให้เกิดความขัดแย้งตามมาได้

5.เรื่องเงินต้องชัดเจน

เงินทองไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าสนิทกันแค่ไหนก็ต้องคุยเรื่องเงินให้ชัดเจนว่าจะกำหนดสัดส่วนการลงทุนแต่ละส่วนเท่าไร และเมื่อธุรกิจมีผลกำไรจะแบ่งผลกำไรนั้นอย่างไร เพราะหากไม่มีการคุยกันเรื่องนี้ให้เรียบร้อยตั้งแต่ต้น ย่อมส่งผลเสียตามมาแน่นอน จนอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของคุณ “ไม่ได้ไปต่อ” ก็ได้

6.งานส่วนงาน เพื่อนส่วนเพื่อน

ส่วนใหญ่คนที่ทำธุรกิจร่วมกัน มักเป็นเพื่อนกันมาก่อน ข้อดีคือไม่ต้องปรับจูนทัศนคติ ความคิดกันมากนัก เพราะสนิทสนม รู้จักและรู้ใจกันอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการหลายคนมักไม่แบ่งแยกความสัมพันธ์ระหว่าง “เพื่อน” กับ “เพื่อนร่วมงาน” เช่น เวลานัดประชุม ไม่รักษาเวลา เพราะคิดว่าเพื่อนรอได้ หรือใช้อารมณ์ในการทำงานมากกว่าเหตุผล ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ครั้งสองครั้งอาจไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ จากเพื่อนรักที่หวังจะร่วมสร้างธุรกิจด้วยกัน อาจกลายเป็นคนไม่รู้จัก มองหน้ากันไม่ติดก็มี ฉะนั้นเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว ต้องแบ่งแยกให้ชัดเจน

นี่คือหลักการเบื้องต้นในการทำธุรกิจร่วมกับหุ้นส่วน หลายคนอ่านแล้วอาจกังวลว่าทำไมปัญหามันเยอะเหลือเกิน จนคิดว่าอย่างนั้นลงทุนเองดีว่า แต่จริงๆ แล้ว ถ้าคุณมีการวางแผนที่ดี คุยและเคลียร์ให้ชัดตั้งแต่ต้น ก็ไม่ต้องกลัวปัญหาเหล่านี้เลย

เรื่องแนะนำ

เดลิเวอรี่

5 ปัญหาต้องรู้! ก่อนนำร้านเข้าสู่ระบบ เดลิเวอรี่

เดลิเวอรี่ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางทำกำไรในธุรกิจอาหารก็ว่าได้ค่ะ แต่แน่นอนว่ามีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสีย ถ้าหากลองติดตามกลุ่มเจ้าของร้านอาหารขนาดเล็ก ก็จะพบว่าหลายรายมีปัญหากับการเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี่ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการร้านอาหารอยู่ไม่น้อย วันนี้ Amarin Academy รวม 5 ปัญหาที่ต้องเจอ เมื่อร้านของคุณเข้าสู่ระบบ เดลิเวอรี่ และร้านอาหารต้องเตรียมรับมืออย่างไร   5 ปัญหา เมื่อนำร้านเข้าสู่ระบบ เดลิเวอรี่ 1. ระบบการทำบัญชี ระบบบัญชี การเงิน และกระแสเงินสดมีความสำคัญกับธุรกิจร้านอาหารมาก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อนำร้านเข้าระบบ เดลิเวอรี่ ก็คือ การรายงานยอดขายที่ไม่ตรงกันระหว่างหน้าร้านและผู้ให้บริการ กำหนดและระบบการวางบิล การจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่นที่ไม่สอดคล้อง ซึ่งถ้าหากต้องมีการจัดการแก้ไขทุกเดือนก็จะทำให้เสียเวลาในการบริหารจัดการอยู่ไม่น้อย เพราะฉะนั้นก่อนการตกลงทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมกับผู้ให้บริการรายใด ร้านอาหารจำเป็นต้องศึกษาระบบด้านการเงิน การบัญชี เพื่อเลือกผู้ให้บริการที่สอดคล้องกับระบบร้านของตัวเอง หรือเตรียมความพร้อมด้านระบบบัญชีหลังบ้าน เพื่อลดปัญหาในการดำเนินการให้มากที่สุด และควรคำนึงถึงการจัดการด้านภาษีจากรายได้ส่วนนี้ด้วย   2. รสชาติ และคุณภาพอาหารลดลง เมื่อนำร้านเข้าระบบเดลิเวอรี่ อีกหนึ่งปัญหาที่อาจต้องเจอ ก็คือ รสชาติและคุณภาพอาหารที่ลดลง บางร้านถึงขั้นแย่เลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดส่ง หรือการบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีพอ ตัวอย่างเช่น กรณี […]

ตั้งราคาอาหาร

ปัจจัยที่ต้องคำนึงก่อน ตั้งราคาอาหาร

ตั้งราคาอาหาร เท่าไรดี? คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ ตั้งราคาอาหาร อย่าลืมคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ ไม่อย่างนั้นอาจจะขาดทุนโดยไม่ทันตั้งตัว!

Operation ไม่ดี ส่อเค้าร้านเจ๊ง Set up ด่วน

5 ปัญหาน่าท้อใจของคนทำธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเกิดจากระบบร้านอาหาร Operation ที่หย่อนประสิทธิภาพ ส่งผลต่อยอดขายและการเติบโต ขั้นร้ายแรงสุดอาจต้องปิดร้านก็เป็นได้ มาเช็กกันว่า ปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้เจ้าของร้านอาหารต้องถอดใจ   Operation ไม่ดี ส่อเค้าร้านเจ๊ง Set up ด่วน 1. ลูกค้าคอมเพลนบ่อย ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหารเปลี่ยนไป ขนาดอาหารที่เสิร์ฟน้อยลง วันก่อนไปกินเสิร์ฟแบบนี้  อีกวันไปกินเสิร์ฟอีกแบบ พนักงานบริการขาดนู่น ลืมนี่ เหล่านี้เป็นคอมเพลนยอดฮิตของลูกค้าส่วนใหญ่ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการOperation ที่ไม่นิ่งพอ การวางระบบ Operation จึงเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมการทำงานไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เพราะไม่มีลูกค้าคนไหนอยากไปร้านที่ทำให้รู้สึกผิดหวังเป็นครั้งที่ 2   2. ขายดีนะ แต่ไม่มีกำไร น่าแปลกที่ร้านอาหารขายดี แต่ต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถจัดการกับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น การวางระบบงานครัวที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการออกแบบและการวางแผนการผลิต การจัดเก็บวัตถุดิบที่ดีจะช่วยลดการสูญเสีย และเกิดการนำมาใช้เพื่อสร้างรายได้สูงสุด นอกจากนั้นยังรวมไปถึง การตรวจเช็คอาหารก่อนเสิร์ฟ การจัดการ  Recipe และ Sop เพื่อกำหนดขั้นตอนและมาตรฐานการปรุงอาหาร จะช่วยให้คุณวางแผนจัดการต้นทุน ส่งผลถึงคุณภาพอาหารที่ดี ทำให้เจ้าของร้านอาหารสามารถประเมินถึงเมนูที่ทำกำไรได้ ซึ่งการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนนั้นจะช่วยให้ไม่ประสบกับปัญหาขาดทุนจากการแบกต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น   3. […]

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” คือเมนูเดียวกันไหม?

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูคิดไม่ตก ทั้งร้านและลูกค้า สั่งอันนี้ได้อีกอย่าง ตกลงเมนูเดียวกันไหม? “กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูเดียวกันหรือเปล่า? เป็นเมนูที่ค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับทั้งคนกิน คนขาย เป็นอย่างมากกับเมนู “กะหล่ำผัดน้ำปลา” และ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” ที่บางทีก็ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างลูกค้าและร้านได้ เมื่อเมนูนี้มาเสิร์ฟ ซึ่งล่าสุดก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งได้มาทวีตภาพเปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ว่าจริง ๆ แล้ว 2 เมนูนี้ คือคนละเมนูกัน! โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ได้ทวีตรูป 2 เมนูที่เป็นประเด็นพร้อมข้อความว่า “เทียบให้เห็นภาพ ซ้าย กะหล่ำ “ผัดน้ำปลา” ขวา กะหล่ำ “ทอดน้ำปลา” ที่เรามีปัญหาเพราะร้านอาหารส่วนมากจะเขียนลงเมนูว่า กะหล่ำทอดน้ำปลา แต่ทำออกมาหน้าตาแบบกะหล่ำผัด กะหล่ำผัดน้ำปลาจะน้ำเจิ่งนอง ผัดนิ่ม กะหล่ำทอดน้ำปลาจะแห้ง น้ำมันเคลือบผิวกะหล่ำ เกรียม ๆ น้ำปลาไหม้ ต่างอย่างเห็นได้ชัด” 🔸ความเห็นชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นแชร์ประสบการณ์ของตนเองด้วยเหมือนกัน เช่น 🗣💬 “เคยทำให้แฟนกินครั้งนึง เราทำออกมาแบบขวา ผช.บอกทำกับข้าวแค่นี้ก็ไหม้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.