5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก - Amarin Academy

5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก

5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก

ปัญหา พนักงานร้านอาหารลาออก ถือเป็นปัญหาที่เจ้าของร้านอาหารทุกคนต้องเผชิญ (ซึ่งทำเอาปวดหัวไม่น้อยเลย) หลายคนพยายามแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเงินเดือน เพิ่มสวัสดิการ แต่ก็ไม่เป็นผล อย่างนั้นมาดู 5 เหตุผลที่ทำให้พนักงานร้านอาหารลาออก กันดีกว่า จะได้หาทางแก้ปัญหาได้ถูก

1.รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า

พนักงานร้านอาหาร
การทำให้ พนักงานร้านอาหาร รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และมีประโยชน์ เป็นหนึ่งในสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องทำให้ได้

พนักงานบริการก็มีหัวใจเช่นเดียวกัน ใครๆ ก็ต้องการรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ ต้องการคำชื่นชมเมื่อทำงานได้ดี แต่ผู้จัดการร้านหรือเจ้าของร้านหลายคนมักมองข้าม แถมบางครั้งเมื่อพนักงานทำงานผิดพลาด ยังตำหนิด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เช่น ทำงานอย่างนี้ไม่ต้องมาทำหรอก  กลับบ้านไปเถอะ ตำแหน่งของคุณ ใครๆ ก็ทำแทนได้ คุณคิดได้เท่านี้เองหรือ เป็นต้น

การตำหนิพนักงานอย่างรุนแรง นอกจากจะทำให้พนักงานเสียความรู้สึก และไม่ช่วยให้เขาพัฒนาตนเองแล้ว ยังอาจทำให้เขาอยากลาออกไปเสียดื้อๆ

ทางที่ดี เมื่อพนักงานทำผิดพลาด เจ้าของร้านต้องใช้คำพูดที่เหมาะสม ให้คำแนะนำ หรือเรียกมาตักเตือนเพื่อหวังให้เขาพัฒนาตัวเอง เช่น หากพนักงานทำงานผิด ต้องฟังเหตุผลว่าเพราะอะไรเขาจึงทำงานผิด หากเป็นเพราะระบบของร้านก็ต้องรีบแก้ไข แต่หากปัญหาเกิดจากตัวพนักงานเอง ก็ลองให้เขาเสนอความคิดเห็นว่าควรแก้ปัญหาหาอย่างไร จึงจะเหมาะสมที่สุด การทำเช่นนี้ นอกจากจะช่วยฝึกทักษะการแก้ปัญหาให้พนักงานแล้ว ยังทำให้เขารู้สึกว่าเราให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของเขาอีกด้วย

2.ทำงานหนักเกินไป จนร่างกายรับไม่ไหว

เชฟ ร้านอาหาร
งานงานหนักเกินไป พนักงานครัว หรือพนักงานบริการอาจรู้สึกท้อได้

การทำงานร้านอาหารต้องเตรียมใจไว้เลยว่าร่างกายต้องมีปัญหา โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว เนื่องจากการเดินวนไปวนมาในร้านทั้งวัน หรือต้องยืนต้อนรับลูกค้าตลอดเวลา ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ เจ้าของร้านต้องจัดตารางเวลาและเพิ่มสวัสดิการในร้านให้เหมาะสม

แน่นอนว่าเราไม่สามารถบอกให้พนักงานไปนั่งพัก ทั้งๆ ที่มีลูกค้านั่งรอเต็มร้านได้ แต่สิ่งที่คุณพอจะทำได้คือ จัดตารางการทำงานให้พนักงานไม่เหนื่อยจนเกินไป (คนหนึ่งไม่ควรทำงานเกิน 8 ชั่วโมง หากลูกค้ามากจริงๆ ก็ควรน้อยกว่านั้น) และอาจเพิ่มสวัสดิการพิเศษเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เขารู้สึกว่าเราใส่ใจในสุขภาพของเขาจริงๆ

เช่น มีบริการตรวจสุขภาพประจำปี หรือมีสวัสดิการนวดคลายกล้ามเนื้อทุก 2 เดือน (การนวดครั้งหนึ่งไม่เกิน 300 บาท แลกกับ “ใจ” จากพนักงานก็ถือว่าคุ้มค่ามากๆ) หรืออาจสอบถามว่าเขาต้องการสวัสดิการใดเป็นพิเศษ หากพอจะจัดหาได้และไม่เหลือบ่ากว่าแรงจนเกินไป ก็ลองจัดหาให้ น่าจะช่วยให้พนักงานมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น

ลองปรับระบบการทำงานหรือสวัสดิการของพนักงาน เพื่อให้เขารู้สึกว่า ทำงานกับเราไม่ต้องกลัวว่าสุขภาพจะเสีย น่าจะช่วยจูงใจให้เขาอยากอยู่กับเรามากขึ้น

3.ตารางเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน

จริงๆ ไม่ใช่แค่พนักงานร้านอาหารที่รู้สึกอารมณ์เสียที่เมื่อถึงวันหยุดกลับไม่ได้หยุดอย่างที่คิด (แถมบ้างร้านไม่มีวันหยุดให้พนักงานอีกต่างหาก) คุณควรจัดสรรตารางการทำงาน ให้พนักงานมีวันหยุดพักผ่อนที่เพียงพอและแน่นอน ไม่ใช่ว่าวันไหนลูกค้าเยอะก็เรียกให้เขามาช่วยงานตลอดเวลา เพราะบางครั้งเขาก็มีธุระอื่นๆ หรืออยากไปเที่ยวพักผ่อนบ้าง

แม้คุณจะจ่ายค่าตอบแทนให้อย่างสมน้ำสมเนื้อ แต่แลกกับการที่เขาต้องผิดนัดคนอื่นบ่อยๆ หรือไม่ได้ทำธุระให้เสร็จสิ้นเสียที ก็สร้างความอึดอัดใจให้เขาได้เช่นกัน ฉะนั้นวางตารางการทำงานให้แน่นอน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

4.ผู้จัดการร้านเข้มงวดทุกกระเบียดนิ้ว

ผู้จัดการร้านอาหาร
ผู้จัดการร้านอาหาร มีหน้าที่ดูแลการทำงานของพนักงาน แต่ต้องไม่เข้มงวดจนเกินไป จนทำให้พนักงานอึดอัด

การเปิดร้านอาหาร หากเจ้าของร้านไม่ใช่คนดูแลร้านเอง ก็จำเป็นต้องมีผู้จัดการร้าน เพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและควบคุมงานให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ การคัดเลือกตำแหน่งผู้จัดการร้านจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะนอกจากจะส่งผลต่อการดำเนินงานของร้านโดยภาพรวมแล้ว ยังส่งผลต่อความสุขของพนักงานอีกด้วย

เนื่องจากผู้จัดการคือผู้ที่คลุกคลีและดูแลการทำงานของพนักงานอย่างใกล้ชิดที่สุด จึงจำเป็นต้องมีคุณสมบัติสำคัญบางประการ เช่น มีภาวะผู้นำ มีความยุติธรรม เป็นกันเอง ใจกว้าง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ฯลฯ

ผู้จัดการร้านบางคนมีภาวะผู้นำสูง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ขาดความเป็นกันเองก็ทำให้พนักงานอยู่กันอย่างอึดอัด หรือบางครั้งเข้มงวดจนเกินงามหรือคาดหวังในตัวพนักงานสูงเกินไป เช่น หากไม่มีลูกค้าก็ต้องยืนตลอดเวลาห้ามนั่งพัก ต้องจำส่วนผสมของทุกเมนูได้ทุกชนิด ฯลฯ ก็อาจทำพนักงานรู้สึกเหมือนถูกจับผิดตลอดเวลา ทำงานอย่างไม่ผ่อนคลายและไม่มีความสุข พานไม่อยากทำงานเสียนี่

ดังนั้นหากจะคัดเลือกผู้จัดการร้านครั้งต่อไป ต้องศึกษาอุปนิสัยของเขาให้ดี เพราะเขาคือส่วนหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พนักงานในร้านของคุณมีความสุขหรือไม่

5.ลูกค้าถูกเสมอ

ยามเกิดปัญหาขึ้นในร้านอาหาร เจ้าของร้านมักพูดว่า “ลูกค้าถูกเสมอ” แต่จริงๆ แล้วบางครั้งพนักงานอาจทำเต็มที่ที่สุดแล้ว แต่ความต้องการของลูกค้ามากเสียเหลือเกิน จนเขาไม่อาจตอบสนองความต้องการได้ ฉะนั้นแทนที่เราจะยกประโยคสุดคลาสสิก “ลูกค้าคือพระเจ้า” (ที่พูดทีไรพนักงานก็เบือนหน้าหนีทุกครั้ง) ขึ้นมาพูดเพื่อจบปัญหา คุณควรสอบถามถึงที่มาที่ไปของปัญหาที่เกิดขึ้น แสดงให้เขาเห็นว่าคุณให้ความยุติธรรมอย่างเต็มที่

คุณลองคิดอีกแง่ว่า ลูกค้าเขาจ่ายเงินให้คุณก็จริง แต่เขาอาจจะมาใช้บริการร้านคุณเพียงครั้งเดียว แต่พนักงานที่คุณเอาแต่ตำหนิ ทำงาน (และทำเงิน) ให้คุณมานานหลายปีแล้ว

ทางที่ดี เมื่อปัญหาเกิดขึ้น คุณควรแสดงความขอโทษลูกค้าอย่างจริงใจ และพยายามกันพนักงานที่กำลังมีปัญหาออกจากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อบรรเทาปัญหาให้ได้มากที่สุด และค่อยหาทางออกที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายพอใจ

พอจะทราบเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก แล้วใช่ไหม ฉะนั้นแทนที่จะปล่อยผ่านให้เขาลาออกแล้วหาคนใหม่ (ซึ่งต้องมาเสียเวลานั่งสอนงานอีกอย่างน้อย 1 เดือน) ลองกลับมาแก้ปัญหาเหล่านี้ก่อนดีกว่า


บทความน่าสนใจ

เช็ค 10 พฤติกรรมพนักงานบริการ ที่ร้านอาหารควรปรับปรุง

เรื่องแนะนำ

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี ทุกวันนี้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับอาหารการกินในทุก ๆ ทาง นี่จึงเป็นเหตุผลชวนให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจสุขลักษณะในการประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ลองเปลี่ยนมาใช้ สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ กัน! . สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ (Food Rotation Labels หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Daydot) คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดระบบวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยในสติกเกอร์จะมีหัวข้อให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบนั้น ๆ เช่น วัตถุดิบคืออะไร ผลิตวันไหน หมดอายุเมื่อไหร่ และใครเป็นคนเปิดใช้ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ในการบริโภค ตัวอย่างข้อมูลที่ควรมีบนสติกเกอร์ติดอาหาร: 1.ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น คืออะไร 2.การจัดเก็บ (Type) : มีการจัดเก็บแบบไหน เช่น แช่แข็ง (Frozen) แช่เย็น (Chiller) หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง (Ambient) 3.วันที่ผลิต (Product Date) 4.เวลาผลิต (Production Time) 5.วันที่หมดอายุ (Expiry Date) […]

เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ

อยากเปิดร้านอาหาร แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? เรามีขั้นตอน การเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร มาฝาก เผื่อจะเป็นแนวทางสำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.