แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ? - Amarin Academy

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

เชื่อว่าการเปิดร้านอาหารคงเป็นธุรกิจในฝันของใครหลายๆ คน แต่บางคนอาจยังลังเล ไม่รู้ว่าตัวเองพร้อมสำหรับการเปิดร้านมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีแบบทดสอบง่ายๆ ให้คุณลองประเมินตัวเองดูว่าคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง

หลักเกณฑ์ง่ายๆ ลองบวกคะแนนดูว่า เมื่อตอบครบ 10 คำถามแล้วเพื่อนๆ ได้คะแนนเท่าไรกัน

1.คุณมีประสบการณ์ในการทำร้านอาหารมาก่อนไหม

  • มีประสบการณ์ (3)
  • เคยผ่านมาบ้างแต่ไม่มากนัก (2)
  • ไม่เคยมีประสบการณ์เลย (1)

2.คุณรู้จักงานด้านการบริหารจัดการร้านอาหารมากน้อยแค่ไหน

  • รู้ทุกกระบวนการแบบทะลุปรุโปร่ง ตั้งแต่หน้าร้านจนถึงหลังร้าน (3)
  • รู้คร่าวๆ ว่ามีกระบวนการใดบ้าง แต่รู้ไม่ละเอียดนัก (2)
  • ไม่มีความรู้เลย แต่ใจอยากเปิดมากๆ (1)

3.คุณพร้อมทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ตลอดทั้งปีโดยไม่มีวันหยุดหรือไม่

  • พร้อมเสมอ ถ้านั่นเป็นงานที่เรารัก (3)
  • พร้อม แต่ขอหยุดพักสัก 1 วันต่อสัปดาห์ได้ไหม (2)
  • ยังไม่ค่อยพร้อมเท่าไร (1)

4.คุณรักการบริการและมีทักษะด้านการบริหารคนหรือไม่

  • งานนี้แหละงานถนัด (3)
  • ทำได้แต่คงต้องใช้เวลาฝึกฝนอีกหน่อย (2)
  • ชอบทำงานคนเดียวมากกว่า ไม่ชอบความวุ่นวาย (1)

5.คุณมีทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะมากน้อยแค่ไหน

  • มีปัญหาปุ๊บ ก็หาทางออกได้ปั๊บ (3)
  • แก้ปัญหาได้ แต่ต้องใช้เวลาสักหน่อย (2)
  • ไม่ค่อยชอบงานที่กดดัน ต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา (1)

6.คุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องตัวเลข การคำนวณต้นทุน และการจัดการบัญชีหรือไม่

  • ความรู้แน่นปึก ถามปุ๊บ ตอบได้ปั๊บ (3)
  • พอรู้มาบ้าง ถ้าศึกษาเพิ่มเติมคงทำได้ (2)
  • ไม่มีความรู้เลย (1)

7.คุณมีสูตรอาหารเด็ดๆ ที่ร้านอาหารอื่นไม่มีหรือไม่

  • มีพร้อม มั่นใจว่าอร่อยเด็ด รสชาติคงที่ได้มาตรฐาน และโดดเด่น แตกต่างจากร้านอื่นๆ แน่นอน (3)
  • รสชาติอร่อย เด็ดโดนใจ รสชาติคงที่ทุกจาน แต่ยังไม่รู้จะหาความต่างได้อย่างไร (2)
  • รสชาติอร่อยเด็ด แต่สูตรยังไม่นิ่ง และยังไม่ความต่างจากร้านอื่นๆ ไม่ได้ (1)

8.คุณมีเงินทุนพร้อมไหม

  • มีพร้อม สามารถลงทุนเปิดร้านได้โดยไม่เดือดร้อน (3)
  • มีเงินทุนจำกัด แต่มีการวางแผนการใช้เงินเรียบร้อยแล้ว (2)
  • มีเงินทุนจัด และยังไม่รู้ว่าต้องวางแผนการใช้เงินอย่างไรบ้าง (1)

9.คุณมีความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาด ทั้งออฟไลน์และออนไลน์หรือไม่

  • ความรู้แน่น ประสบการณ์เพียบ (3)
  • ทฤษฎีเป๊ะ แต่ยังไม่เคยลงมือทำจริง (2)
  • มีความรู้บ้าง แต่ยังไม่มากนัก (1)

10.คุณพร้อมเรียนรู้ และปรับตัวตลอดเวลาหรือไม่

  • พร้อมเสมอ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นนำไปสู่ความสำเร็จ (3)
  • พร้อม แต่ต้องอาศัยเวลาสักพักเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (2)
  • ถ้าสิ่งที่ทำอยู่ มันดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงก็ได้ (1)

คะแนน 10-16 : ต้องเตรียมตัวอีกมาก

หากคุณได้คะแนนในช่วงนี้ถือว่ายังต้องเตรียมตัวค่อนข้างมาก เพราะการเปิดร้านอาหารต้องอาศัยทักษะหลากหลายด้าน ทั้งการบริหารจัดการงาน การบริหารจัดการคน การคำนวณตัวเลข เพื่อหาจุดคุ้มทุน และต้องอาศัยความเอาใจใส่ ความทุ่มเท และความละเอียดรอบคอบ เพราะเป็นธุรกิจที่โอกาสเจ๊งค่อนข้างสูง (เนื่องจากมีคู่แข่งมาก ถ้าคุณทำได้ไม่ดี ลูกค้าก็พร้อมจะวิ่งหาเจ้าอื่นทันที)

คะแนน 17 – 23 : ควรหาความรู้เพิ่มเติมสักหน่อยก็เปิดร้านได้

ถ้าได้คะแนนในช่วงนี้ ถือว่าคุณมีต้นทุนที่ดีพอสมควร เพียงหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมในด้านที่คุณยังไม่ถนัด ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนได้ โดยเจ้าของร้านอาหารบางคนอาจเลือกหาหุ้นส่วนทางธุรกิจ เพื่อช่วยดูแลงานในด้านที่คุณไม่ถนัด ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระไปได้ระดับหนึ่ง

คะแนน 24  -30  : คุณพร้อมแล้ว ลุยเลย!

หากคุณได้คะแนนในช่วงนี้ถือว่าคุณพร้อมสำหรับการเปิดร้านอาหารแล้ว! เพราะคุณมีความรู้ ความสามารถและทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจร้านอาหารครบถ้วน แต่ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะการทำร้านอาหารไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว คุณยังคงต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะพบกับความสำเร็จเอง!

คำถาม 10 ข้อที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแบบทดสอบสั้นๆ เพื่อเช็คว่าคุณพร้อมจะเปิดร้านอาหารหรือยัง แต่เมื่อเปิดร้านอาหารแล้วคุณยังต้องเจอ “แบบทดสอบ” อีกมากมายที่เข้ามาท้าทายคุณอยู่เสมอ โดยสิ่งที่จะช่วยให้คุณก้าวผ่านไปได้คือความอดทน มุ่งมั่น พร้อมเรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ร้านอาหารของคุณประสบความสำเร็จได้

เรื่องแนะนำ

อุทาหรณ์ลูกค้าโอนเงิน แต่ดูสลิปไม่ดี ดูอีกทีเงินเข้าแค่ 7 บาท วิธีป้องกันกรณีลูกค้าขอสแกน

ลูกค้า โอนเงิน แต่ดูสลิปไม่ดี สุดท้ายดูอีกทีเงินเข้าแค่ 7 บาท อุทาหรณ์แม่ค้า – สมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ให้กำลังใจ พร้อมแชร์วิธีป้องกันกรณีลูกค้าขอสแกน ถือว่าลูกค้ามาให้ประสบการณ์… ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์เรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” หลังเธอได้ขายเครื่องดื่มให้กับลูกค้า และใช้การจ่ายด้วยการ โอนเงิน แต่พอมาตรวจสอบรายการเดินบัญชีดูอีกที ถึงกับงานเข้า เมื่อยอดเงินที่ได้รับโอนมามีแค่ 7 บาท!   ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้โพสต์ว่า “ลูกค้ามาให้ประสบการณ์ค่ะ สั่งอเมริกาโน่ร้อน 1 แก้ว ราคา 35.- คาปูชิโน่เย็น 1 แก้ว ราคา 40.- ลูกค้าขอสแกน เสร็จก็ให้เราดู ไอ้เราก็ตาดี๊ดี มองเห็นเลข 7 ก็ว่าขอบคุณค่ะ พอมาดูยอด งานเข้าแล้วตรู555 ขอบคุณคุณลูกค้าที่มาให้ประสบการณ์” พร้อมแนบหลักฐานเงินเข้ามาด้วย ซึ่งในนั้นก็ได้ระบุว่ามีเงินเข้าแค่ 7 บาท จริงๆ ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มคนบ้ากาแฟทั้งผู้บริโภคและเจ้าของร้านต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย โดยส่วนใหญ่รู้สึกเห็นใจเจ้าของร้านรายนี้เป็นอย่างมาก และขอเป็นกำลังใจให้เธอ ในขณะเดียวกันหลายคนก็มองว่าลูกค้ารายนี้ใจร้ายมาก ๆ […]

เทคโนโลยีดิจิตอล ตัวช่วยร้านอาหารยุคใหม่

  ระบบจัดการร้าน POS ระบบบริหารจัดการร้าน  POS ที่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านนำมาใช้เพื่อบันทึกยอดขายหน้าร้าน   ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้รองรับการบริหารจัดการร้าน และสนับสนุนในด้านการตลาดด้วยฟังค์ชั่นที่ทำได้มากกว่าการแค่บันทึกยอดขาย หรือการจัดการที่นั่ง นั่นก็คือ การมีระบบหลังบ้านที่ช่วยบันทึกและประมวลผล ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่าง เช่น เมนูขายดี ช่วงเวลาขายดี จำนวนการซื้อต่อหัว จำนวนบิล การจัดการโปรโมชั่น และการเชื่อมต่อเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นได้ เช่น เดลิเวอร์รี่ การสั่งเมนูล่วงหน้า ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านในการบริหารจัดการเมนู และการตลาด แต่ทราบไหมว่าการใช้ POS ปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านยังใช้คุณสมบัติพิเศษของ POS ได้ไม่เต็มที่ เช่น  ความสามารถในด้านการประมวล ข้อมูลด้านต้นทุนต่อเมนู  ที่ POS สามารถบันทึก คำนวณผลกำไร การสูญเสีย รวมถึงสามารถใช้การบริหารวัตถุดิบ เพื่อจัดการสั่งซื้อได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวัตถุดิบขาด ต้องเสียต้นทุนแฝงในการไปซื้อในกรณีเร่งด่วนได้ ซึ่งหากร้านของคุณมีการจัดทำข้อมูลด้านต้นทุน หรือการทำ Recipe ที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะใช้คุณสมบัติสำคัญนี้ด้วย ระบบ  POS นับว่าเป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานต่อการบริหารให้ได้กำไรสูงสุดต่อร้านอาหารในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นร้านที่ใช้ระบบ POS อยู่แล้วควรให้ความสำคัญกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุด […]

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

คุมต้นทุนอาหาร

คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ

        หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลง คือ “การคุมต้นทุนไม่อยู่” บางร้านอาจจะขายดีมากแต่ไม่ได้กำไรเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป โดยเฉพาะต้นทุนด้านวัตถุดิบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร ร้านทั่วไปจะมีต้นทุนส่วนนี้ 30-40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรืออาจสูงกว่านี้ในร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนในส่วนนี้ให้มาก ลองมาดูสิ่งที่จะช่วย คุมต้นทุนอาหาร และเพิ่มกำไรให้ร้านอาหารของเรากันครับ คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ 1. ใส่ใจและติดตามราคาวัตถุดิบ         วิธีที่ดีในการคุมต้นทุน คือการติดตามราคาของวัตถุดิบที่ใช้ภายในร้าน บางท่านอาจจะรู้สึกยุ่งยากเพราะที่ร้านใช้วัตถุดิบหลายชนิด แต่วิธีง่ายๆ คือเลือกแค่วัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักของร้านมาบันทึกราคา ปริมาณที่ใช้ และต้นทุนทั้งหมดของวัตถุดิบแต่ละชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาในแต่ละเดือน          สมมติว่าราคากุ้งเดิมกิโลกรัมละ 180 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 220 บาทจากภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา 40 บาทนี้อาจจะดูไม่มาก แต่มันคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 22% จากราคาเดิม ยิ่งร้านที่ขายดีเท่าไหร่ กำไรที่หายไปก็จะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงภาวะต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นราคา […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.