ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19 - Amarin Academy

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้

ใน วิกฤต COVID-19

ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ทั้งเรื่องของจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส ด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ ที่มีการรวมตัวของผู้คนจำนวนมาก จากข่าวดังกล่าวยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต จนทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลานี้ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการออกไปยังสถานที่สาธารณะ ที่มีผู้คนรวมตัวกันและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น 
  • สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เพื่อลดการพบปะกับผู้อื่นขณะออกไปซื้ออาหาร
  • ซื้อของใช้ที่จำเป็น และกักตุนอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาด
  • ซื้อของมากขึ้นในแต่ละครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น 
  • ใส่ใจเรื่องความสะอาด และที่มาของอาหารมากขึ้น 
  • เกิดกระแส “Work form home” หรือการทำงานที่บ้าน   
  • รณรงค์ให้มีการเว้นระยะห่างจากสังคม หรือ Social distancing เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัส

วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหาร ร้านอาหารต่างๆ แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีหน้าร้านเพียงอย่างเดียว เพราะตามที่มีการประกาศล่าสุดคือ ร้านอาหารสามารถเปิดให้บริการได้ แต่จะต้องเป็นการซื้อกลับบ้านเท่านั้น ทำให้หลายร้านต้องเริ่มปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้ร้านสามารถไปต่อได้ แต่เชื่อว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสบางอย่างซ่อนอยู่เสมอ ยังคงมีธุรกิจอาหารบางประเภทที่ยังสามารถไปต่อได้ในสภาวะแบบนี้ และคิดว่าผู้ประกอบการหลายรายก็ได้เริ่มทำบ้างแล้ว มาดูกันว่าธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19 มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นไอเดียให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆด้วย

 

1.ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่

จากสถิติในปี 2562 มูลค่าของธุรกิจเดลิเวอรี่สูงถึง 3 หมื่นล้านบาท จะเห็นว่าอาหารเดลิเวอรี่เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสกลายเป็น วิกฤต COVID-19 ทำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน ก็ยิ่งมีการสั่งอาหารเดลิเวอรี่เพื่อมาส่งที่บ้านมากขึ้น 

ร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน จึงเริ่มที่จะปรับตัว โดยการปรับเมนูอาหาร และเรียนรู้การเปิดให้บริการร่วมกับแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ต่างๆ มากขึ้น รวมถึงเน้นการทำโปรโมชั่นกับทางแอปพลิเคชัน และเพิ่มการทำโปรโมชั่นทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มยอดขายจากทางเดลิเวอรี่ มาชดเชยกับยอดขายจากหน้าร้านที่ลดลง

ในการบริหารจัดการร้านเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน ทั้งเมนูอาหารที่เหมาะสมต่อการขนส่ง ระบบในการจัดการ การรับคำสั่งซื้อ การบรรจุอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารที่ช่วยรักษาคุณภาพอาหาร หน้าที่ของพนักงานที่เปลี่ยนไป รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากค่าบรรจุภัณฑ์ และค่า Gross Profit (GP) หรือส่วนแบ่งจากการขายให้กับทางแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีเงินทุน และความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับสถานการณ์ปัจจุบัน 

วิกฤต COVID-19

2.อาหารที่สามารถสั่งซื้อผ่านแอปช้อปปิ้ง 

กระแสการกักตุนอาหารย่อมทำให้ความต้องการอาหารต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยวต่างๆ รวมไปถึงอาหารแห้ง เช่น หมูแผ่น น้ำพริกแห้ง กุนเชียง เป็นต้น ก็ถือเป็นโอกาสในการขายของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเหล่านี้ เพราะปัจจุบันก็มีการค้าขายออนไลน์หรือแอปช้อปปิ้งต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออาหารได้อย่างสะดวกสบาย และลดโอกาสการติดเชื้อได้ด้วย

 

3.วัตถุดิบอาหาร

นอกจากอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารแห้งแล้ว ผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารผ่านบริการออนไลน์ แทนการไปตลาดหรือห้างสรรพสินค้าด้วยตัวเองได้ และรอรับการจัดส่งวัตถุดิบสดใหม่ที่บ้านได้เลย ในช่วงเวลาที่ต้องกักตัว หรือทำงานที่บ้าน ก็สามารถสั่งวัตถุดิบผ่านมาออนไลน์มาทำอาหารทานเองได้ โดยไม่ต้องทนรับประทานแต่อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแห้งเดิมๆ อีกต่อไป 

วิกฤต COVID-19

4.อาหารที่ขายเป็นคอร์สแบบผูกปิ่นโต

การขายอาหารเป็นคอร์สแบบผูกปิ่นโต เป็นการต่อยอดจากบริการอาหารเดลิเวอรี่ โดยเปลี่ยนลูกค้าจากการสั่งอาหารเป็นครั้งๆ ให้เป็นการสั่งอาหารรายสัปดาห์หรือรายเดือน เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลา หรือเบื่ออาหารสำเร็จรูป แต่ไม่อยากทำอาหารทานเอง 

การนำเสนอขายอาหารแบบนี้ จะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าและตอบโจทย์มากที่สุด เช่น ให้ความสะดวกสบาย จัดส่งอาหารถึงที่ตรงเวลาที่กำหนด จัดโปรโมชั่นที่ถูกลง ทำอาหารปรุงสดใหม่ทุกวัน มีเมนูหลากหลายไม่จำเจ  รักษาคุณภาพและความสะอาดของอาหาร มีการบริการตอบคำถามข้อสงสัยของลูกค้าที่ดี และหากเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ก็จะยิ่งมีฐานลูกค้าประจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ผูกปิ่นโตเมนูอาหารคลีน เมนูอาหารสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาหารสุขภาพเพื่อผู้สูงวัย อาหารสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือชูจุดขายในการใช้วัตถุดิบออร์แกนิคมาทำอาหาร เป็นต้น

 

5.ธุรกิจอาหารส่งออก

ประเทศไทยมีแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นในช่วงนี้ เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสทำให้หลายประเทศมีการซื้ออาหารกักตุนไว้บริโภค สินค้าเกษตรและอาหารจึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น ข้าว อาหารกระป๋อง ผลไม้ ไก่แช่แข็ง เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ 

โดยเฉพาะความต้องการข้าวในตลาดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนเอเชีย และสามารถเก็บไว้ได้นาน ราคาข้าวส่งออกในตลาดโลกก็สูงขึ้น  ในตลาดฮ่องกงคาดว่าจะเพิ่มมากถึง 15% แม้แต่ในอเมริกา ราคาข้าวไทยในห้างสรรพสินค้าก็ปรับราคาสูงขึ้น 15-20% รวมไปถึงตลาดในจีนที่เป็นแหล่งส่งออกใหญ่ของประเทศไทย ก็เริ่มมีสถานการณ์การระบาดที่ควบคุมได้ดีขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีของธุรกิจส่งออกอาหาร หลังจากเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และเงินบาทแข็งค่ามาเป็นระยะเวลานานจาก วิกฤต COVID-19

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

กลุ่มลูกค้าองค์กร 5 ประเภท ที่ธุรกิจเดลิเวอรี่ ควรเจาะตลาด

Marketing Collaboration สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

เทรนด์อาหาร

รู้ยัง? เทรนด์อาหาร Size เล็ก กำลังมา!

หลายคนคงคุ้นเคยกับอาหารขนาดยักษ์ ที่เรียกกระแสความสนใจผู้บริโภคได้ไม่น้อย แต่รู้ไหมว่า เทรนด์อาหาร กำลังเปลี่ยนไป หันมาเสิร์ฟ อาหาร size เล็ก แทน

เติมไฟให้ Passion เม้าท์กันในครัว by PT ALUMAX

ก๊าซหุงต้มพีที นำก๊าซหุงต้มในถังอลูมิเนียม นวัตกรรมความปลอดภัย ถังก๊าซไร้รอยต่อ ไม่เป็นสนิม น้ำหนักเบา พร้อมดีไซน์สวย มาจัดแสดงให้ชมในงาน Amarin Expo 2023 เมื่อวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา พร้อมจัดกิจกรรมร่วมกับบ้านและสวนกินดีอยู่ดี โดยร่วมพูดคุยในหัวข้อ “เติมไฟให้Passion เม้าท์กันในครัว” กับ เฟิร์น พัสกร พลบูรณ์ พิธีกรและนักแสดงสาว ดีกรี Top3 จากเวที MasterChef Celebrity Thailand Season 2 ที่มาแชร์เคล็ดลับการเลือกก๊าซหุงต้มที่ตรงใจ มาช่วยเพิ่มความสุขในการเข้าครัว และจับสลากมอบรางวัลให้ผู้โชคดี อาทิ ถัง PT ALUMAX พร้อมก๊าซหุงต้มขนาด 12.5 กิโลกรัม บัตรสมาชิก PT Max Card Plus และแก๊สกระป๋อง PT ผู้สนใจถังก๊าซหุงต้มในถังอลูมิเนียม “PT Alumax” สั่งผ่าน PT […]

ธุรกิจผลิตอาหาร

นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

แม้ว่าสินค้าจะออกมาดี รสชาติอร่อย ก็ยังไม่จบ เพราะยังมีเรื่องของการตลาดและองค์ประกอบต่างๆ หลายอย่าง ดังนั้นธุรกิจผลิตอาหารต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ โดยนวัตกรรมถือเป็นตัวติดอาวุธให้ธุรกิจของคุณ ในการสู้กับคู่แข่งในทุกวันนี้

DBD OMG2

เริ่มแล้ว! พาณิชย์รุกหนักต่อเนื่อง สร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิจ ผนึกกำลังกูรูอีคอมเมิร์ซ เปิดหลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ รุ่นที่ 2

เริ่มแล้ว! พาณิชย์รุกหนักต่อเนื่อง สร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิจ ผนึกกำลังกูรูอีคอมเมิร์ซ เปิดหลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ รุ่นที่ 2 (Online Marketing Genius : OMG#2) 21 ก.พ. 2565 อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ท่านทศพล ทังสุบุตร เป็นประธาน พร้อมด้วยพาณิชย์จังหวัด วิทยากร และผู้ประกอบการ เปิดการสัมมนา หลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ รุ่นที่ 2 (Online Marketing Genius : OMG#2) “อัพสกิลการตลาดออนไลน์ สร้างยอดขายทะลุล้าน” โดยการสัมมนาจะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน พ.ศ 2565 พุ่งเป้าไปยังผู้ประกอบการฐานรากหรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีร้านค้าออนไลน์เข้าร่วมโครงการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยแบ่งตามยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม ของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 3,000 ราย หลักสูตรดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งแบบธุรกิจดั้งเดิมและรูปแบบออนไลน์ ให้สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการเสริมสร้างทักษะด้านการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) และการทำแผนธุรกิจออนไลน์ (Online Business Plan) พร้อมฝึกปฏิบัติ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.