วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในสังคม New normal หลังวิกฤตโควิด - Amarin academy

วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในสังคม New normal หลังวิกฤตโควิด

        การระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไปในระยะเวลาอันสั้น เมื่อต้นปีใครจะเชื่อ ถ้าบอกว่าประเทศไทยจะต้องปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ หลายบริษัทจะยอมให้พนักงาน Work from home หรือร้านอาหารจะต้องหันมาขายผ่านเดลิเวอรี ทำการตลาดออนไลน์แข่งกันแบบทุกวันนี้
        ทุกอย่างนี้มีการระบาดของไวรัสมา Disrupt หรือเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น และแม้ว่าโรคนี้จะสามารถควบคุมได้แล้ว พฤติกรรมบางอย่างของผู้บริโภคก็จะต้องเปลี่ยนไปแน่นอน เรียกได้ว่าเกิดเป็นพฤติกรรมปกติในรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า “New Normal” นั่นเอง

พฤติกรรมลูกค้าในสังคม New normal 

        พฤติกรรมเบื้องต้นของคนไทยที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คือความร่วมมือกันดูแลสุขอนามัยของตัวเองและคนรอบข้าง เช่น การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการออกไปทำงาน ซื้อของกินของใช้ต่างๆ ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ส่วนของผู้ให้บริการตามบริษัท ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร หรือสถานที่ต่างๆ ก็มีการวัดอุณหภูมิผู้ที่มาใช้บริการ และมีเจลแอลกอฮอล์ให้ล้างมือ หรือแม้แต่บริษัทอนุญาติให้พนักงานลา หรือ ทำงานที่บ้านทันทีเมื่อมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม ที่ดูเป็นแค่อาการเล็กน้อยในภาวะปกติ 

New normal
        นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าอาหารก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน โดยการรับประทานอาหารนอกบ้านลดลงอย่างชัดเจน ถึงแม้ต่อจากนี้รัฐบาลจะประกาศให้เปิดหน้าร้าน แต่ลูกค้าบางส่วนก็อาจจะยังคงกังวลต่อสุขอนามัยและไม่กล้ามาใช้บริการร้านอาหาร

        หลายคนเป็นห่วงว่าร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้าจะไม่มีผู้มาใช้บริการ เพราะผู้บริโภคเคยชินกับการใช้บริการเดลิเวอรี หรือธุรกิจต่างๆ ผ่านทางออนไลน์แล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วร้านอาหารเป็นธุรกิจบริการอย่างหนึ่ง การนั่งทานอาหารในบ้านและนอกบ้านนั้นให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และไม่สามารถทดแทนกันได้ รวมถึงมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การได้ออกมาทำกิจกรรม พบเจอผู้คนนอกบ้านเป็นสิ่งที่เราโหยหามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านเป็นระยะเวลานาน

        ดังนั้น พฤติกรรมของผู้คนอาจไม่ได้เปลี่ยนโดยสิ้นเชิง ผู้บริโภคก็ยังคงต้องการเข้าร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้าอยู่ แต่อาจจะไม่สามารถเทียบกับภาวะก่อนวิกฤตได้ และด้วยการแข่งขันที่สูงมากในธุรกิจร้านอาหาร ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องติดตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปให้ทัน และวางแผนปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้เหมาะสม โดยพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารใน New Normal ที่น่าสนใจ ได้แก่


New normal

  • เทรนด์อาหารสุขภาพ (Healthy Food)

        ผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัส รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พฤติกรรมการกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ดังนั้น นอกจากผู้บริโภคจะใส่ใจกับสุขอนามัยของอาหารมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่คํานึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นอันดับแรก รวมถึงอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันก็เป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อรักษาสุขภาพตนเองไม่ให้ติดเชื้อได้ง่าย 

        ประโยชน์อีกด้านของอาหารสุขภาพ คือช่วยควบคุมน้ำหนักสำหรับคนที่ดูแลรูปร่าง ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านได้ อาหารเพื่อสุขภาพจึงกลายเป็นตัวเลือกของผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ 

        นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความต้องการของกินเล่นหรือขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น เช่น มีโปรตีนสูง ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืชที่มีวิตามินสูง เป็นสูตรหวานน้อย หรือใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนน้ำตาล เป็นต้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการร้านอาหารที่จะนำเสนอเมนูอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ รองรับการใช้ชีวิตแบบคนเมือง และสังคมที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย 

 

New normal

  • ยุคธุรกิจออนไลน์ (E-commerce)

        Social distance หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้บริโภคใช้บริการอาหารเดลิเวอรี หรือซื้อของผ่านทางออนไลน์มากขึ้น หลังจากวิกฤตนี้ผ่านไป ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังคงนิยมซื้อสินค้าบางชนิดผ่านทางโลกออนไลน์ รวมถึงบริการจัดส่งอาหารเดลิเวอรี เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาได้มาก ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของคนทุกวัย การทำงานจากที่บ้าน นักศึกษาที่เรียนผ่านทางออนไลน์มากขึ้น และผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์แล้ว

        ซึ่งการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์จะมีการพัฒนาให้หลากหลายมากขึ้น ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งแอปพลิเคชันที่มีให้บริการ ผ่านช่องทางที่ผู้ประกอบการร้านอาหารพัฒนาขึ้นเอง หรือตัวกลางอื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ ธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่จึงก้าวเข้ามาอยู่ในทั้งโลกออนไลน์ร่วมกับออฟไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการธุรกิจ ช่องทางการขาย การทำตลาดและสื่อสารกับลูกค้า รวมถึงการชำระเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากที่สุด

 

New normal

  • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession)

        ผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจทั่วโลกรุนแรงยิ่งกว่าวิกฤตการเงินที่ผ่านมาในอดีต  ทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ติดลบ และธุรกิจทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย แน่นอนว่าในภาวะเศรษฐกิจถดถอยและฟื้นตัวได้ช้าแบบนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงค่าอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารต่อมื้อลง รวมและลดความถี่ในการใช้บริการร้านอาหารตามความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางส่วนยังนิยมประกอบอาหารเองมากขึ้น และย่อมกระทบกับรายได้ของผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทุกคนก็คงได้แต่ปรับตัวตามคามสามารถ และหวังว่าจะมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เหมาะสมและทันเวลา เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้

        ความสามารถในการปรับตัวของร้านอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารดำเนินต่อไปได้ ผู้ประกอบการจึงควรอัปเดตข่าวสารต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วหลังวิกฤตโควิด เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทันเวลา

 

เรื่องแนะนำ

New normal

วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในสังคม New normal หลังวิกฤตโควิด

        การระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไปในระยะเวลาอันสั้น เมื่อต้นปีใครจะเชื่อ ถ้าบอกว่าประเทศไทยจะต้องปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ หลายบริษัทจะยอมให้พนักงาน Work from home หรือร้านอาหารจะต้องหันมาขายผ่านเดลิเวอรี ทำการตลาดออนไลน์แข่งกันแบบทุกวันนี้         ทุกอย่างนี้มีการระบาดของไวรัสมา Disrupt หรือเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น และแม้ว่าโรคนี้จะสามารถควบคุมได้แล้ว พฤติกรรมบางอย่างของผู้บริโภคก็จะต้องเปลี่ยนไปแน่นอน เรียกได้ว่าเกิดเป็นพฤติกรรมปกติในรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า “New Normal” นั่นเอง พฤติกรรมลูกค้าในสังคม New normal          พฤติกรรมเบื้องต้นของคนไทยที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คือความร่วมมือกันดูแลสุขอนามัยของตัวเองและคนรอบข้าง เช่น การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการออกไปทำงาน ซื้อของกินของใช้ต่างๆ ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ส่วนของผู้ให้บริการตามบริษัท ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร หรือสถานที่ต่างๆ ก็มีการวัดอุณหภูมิผู้ที่มาใช้บริการ และมีเจลแอลกอฮอล์ให้ล้างมือ หรือแม้แต่บริษัทอนุญาติให้พนักงานลา หรือ ทำงานที่บ้านทันทีเมื่อมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม ที่ดูเป็นแค่อาการเล็กน้อยในภาวะปกติ  […]

สำรวจตัวเอง ก่อนเข้าใจ Digital Marketing ผิด

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการทำการตลาดที่คนส่วนใหญ่หันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จนมีหลายคนเริ่มสงสัยว่า Digital Marketing มันเป็นเพียงแค่กระแสความนิยมชั่วคราวหรือเป็นแฟชั่นรึเปล่า?

Grab Kitchen

เปิดตัว Grab Kitchen ครั้งแรกในไทย รวม 12 ร้านเด็ดไว้ที่เดียว ประเดิมที่แรกสามย่าน

เพื่อตอบโจทย์ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้ให้บริการขับรถส่งอาหาร Grab จึงได้มีการเปิดตัว Grab Kitchen ครั้งแรกในไทย ภายใต้แนวคิด Cloud Kitchen ที่รวมรวบร้านเด็ดไว้มากมาย ประเดิมที่แรกใจกลางเมือง สามย่าน Grab Kitchen ครั้งแรกในประเทศไทย เรียกว่ายุคนี้แอปพลิเคชันที่มาแรงสุดๆ คงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชัน Grab โดยเฉพาะ Grab Food ที่แทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของแต่ละคนไปแล้ว ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่นิยมสั่งผ่านบริการ Food Delivery มากขึ้น จะเห็นได้ว่าในปี 2561 Grab มียอดการจัดส่งอาหารที่ 3 ล้านออร์เดอร์ และในปี 2562 แค่ 4 เดือนแรก มียอดการจัดส่งอาหารทะลุ 4 ล้านออร์เดอร์ ซึ่งจากการบริการที่ผ่านมาก็ทำให้เล็งเห็นยังคงว่ามีปัญหาบางอย่างที่ควรแก้ไข เนื่องจากความนิยมอย่างสูงของผู้ใช้บริการนี้ ทำให้ร้านอาหารหลายร้านประสบปัญหาในการบริหารจัดการ เพราะต้องทำอาหารเพื่อเสิร์ฟในร้าน และทำเพื่อลูกค้าที่สั่งผ่านบริการ Food Delivery หรือปัญหาแต่ละร้านนั้นอยู่ไกล ทำให้ค่าส่งแพงกว่าค่าอาหาร และในทางกลับกันผู้ที่เป็นคนขับส่งอาหารเอง ก็ต้องขับไปรับอาหารจากร้านที่ไกล เพื่อไปส่งจุดหมายที่ไกลเช่นกัน […]

เทรนด์อาหาร

รู้ยัง? เทรนด์อาหาร Size เล็ก กำลังมา!

หลายคนคงคุ้นเคยกับอาหารขนาดยักษ์ ที่เรียกกระแสความสนใจผู้บริโภคได้ไม่น้อย แต่รู้ไหมว่า เทรนด์อาหาร กำลังเปลี่ยนไป หันมาเสิร์ฟ อาหาร size เล็ก แทน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.