เจาะโอกาสทอง! ร้านอาหารในยุค Aging Society ( สังคมผู้สูงอายุ ) - Amarin Academy

เจาะโอกาสทอง! ร้านอาหารในยุค Aging Society ( สังคมผู้สูงอายุ )

ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society และในปี 2564 ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุ 20 % หรือมากกว่า 13 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ และยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจอาหารไม่ควรมองข้าม ลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะอาจเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจอาหารของคุณในอนาคตก็เป็นได้ แล้วเพราะอะไรจึงต้องให้ความสำคัญ และหันมาเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ

 

เจาะโอกาสทอง!

ร้านอาหารยุค Aging Society

( สังคมผู้สูงอายุ )

  1. มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุในปัจจุบันยังมีการซื้อสินค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ
  2. มีช่องว่างทางการตลาด คู่แข่งน้อย สิ่งที่กลุ่มผู้สูงวัยต้องการเป็นอันดับ 1 คือร้านอาหารที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับให้บริการผู้สูงอายุ เช่น บริการเรื่องรถเข็น หรือการเดินของผู้สูงอายุให้มีความสะดวก ซึ่งในปัจจุบันร้านที่ตอบโจทย์สิ่งนี้ยังมีไม่มากนัก
  3. Brand Loyalty ลูกค้ากลุ่มนี้มีโอกาสในการเป็นลูกค้าประจำสูง เนื่องจากผู้สูงอายุมีความผูกพันกับร้านอาหารที่ตัวเองรู้สึกชอบมากกว่าลูกค้าในวัยอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้ร้านได้ฐานลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำสูงขึ้นมาก
  4. กลุ่มลูกค้าที่ได้กลับมาไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงลูกหลานที่พาครอบครัวมารับประทานอาหารในโอกาสต่างๆ หรือซื้อเพื่อนำกลับไปฝากผู้ใหญ่ที่บ้านด้วย

สังคมผู้สูงอายุ

สิ่งที่ต้องคำนึง ในการเปิดร้านอาหารเพื่อเจาะตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ มี 3 ข้อ ดังนี้

1.ด้านอาหาร

แน่นอนว่าผู้สูงอายุย่อมจะมีโรคประจำตัว บางคนอาจเป็นโรคประจำตัวที่เรื้อรัง ทำให้ระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพน้อยลง อาหารสำหรับผู้สูงอายุจึงแตกต่างจากกลุ่มลูกค้าในวัยอื่นๆ นอกจากอาหารควรจะมีรสชาติอร่อยถูกปากแล้ว เมนูต่างๆ ควรจะช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีวัตถุดิบที่มีสรรพคุณดีต่อร่างกาย และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น

  • อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ แต่ให้พลังงานต่ำ โดยมีส่วนประกอบหลักจากผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ ข้าวไม่ขัดสี และใช้โปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา หรือไก่ ที่ผู้สูงอายุย่อยได้ง่าย รวมถึงเลือกใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันมะกอกที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • มีใยอาหารจากผักและผลไม้ เพื่อลดอาการท้องผูก หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารในผู้สูงอายุ และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • เป็นอาหารที่เคี้ยวได้ง่าย ไม่เหนียวหรือแข็งเกินไป ไม่สุกเกินไปจนแข็งกระด้าง หรือเพิ่มเมนูอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น ซุป หรือข้าวต้มธัญพืชต่างๆ
  • รสชาติต้องไม่จัด ลดปริมาณเกลือและน้ำตาลที่ใช้ เพราะมีผลต่อความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด อาจจะเลี่ยงไปใช้ซอสสูตรโซเดียมต่ำ หรือสารให้ความหวานจากธรรมชาติแทน
  • ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ เพื่อช่วยเสริมกลิ่นและรสชาติอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้น แก้ปัญหาเบื่ออาหารที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากต่อมรับรสทำงานได้ไม่ดี หรือการหลั่งน้ำลายลดลง และยังสามารถบรรยายประโยชน์สรรพคุณต่างๆ ของสมุนไพรในอาหาร เป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อได้อีกด้วย
  • อาหารเพื่อความงามและชะลอวัย โดยสถิติแล้วผู้หญิงมีอายุเฉลี่ยเยอะกว่าผู้ชาย และเป็นกลุ่มลูกค้าที่ชอบทานอาหารนอกบ้านมากกว่าด้วย การทำอาหารหรือเครื่องดื่มโดยใช้วัตถุดิบ เช่น ผัก ผลไม้ที่มีสรรพคุณช่วยเสริมความงาม หรือบำรุงผิวพรรณก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะอายุเป็นเพียงตัวเลข และผู้หญิงทุกวัยก็ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลตัวเองเสมอ

สังคมผู้สูงอายุ

2.ด้านบรรยากาศภายในร้านอาหาร

  • การออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ สิ่งต่างๆ ภายในร้านควรจะออกแบบให้ผู้สูงอายุใช้งานได้ง่าย เช่น รายการเมนูเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ชัดเจน บอกข้อมูลทางโภชนาการ ประโยชน์หรือสรรพคุณของวัตถุดิบในอาหาร รวมถึงเลือกอุปกรณ์รับประทานอาหารมีน้ำหนักเบาเพื่อให้หยิบจับได้ง่าย
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ พื้นของร้านควรจะทำจากวัสดุที่ไม่ลื่น ทำความสะอาดง่าย ไม่มีรอยต่อหรือพื้นต่างระดับที่ทำให้สะดุดหกล้ม ตามทางเดินอาจจะเพิ่มราวจับทรงตัวเพื่อให้ลูกค้าสามารถเดินได้อย่างมั่นใจ รวมถึงในห้องน้ำเองก็ควรจะมีแผ่นกันลื่น มีราวจับ หรือออกแบบให้สามารถนำรถเข็นวีลแชร์สำหรับผู้สูงอายุเข้าไปได้ ประตูก็ควรเป็นประตูเลื่อนที่มีน้ำหนักเบา เพื่อให้ผู้สูงอายุเปิดได้โดยไม่ลำบาก
  • จัดแสงให้เหมาะสม เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาทางสายตา แสงไฟในร้านจึงควรจะมีความสว่างอย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อการรับประทานอาหาร ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป ไม่ใช้แสงจ้าหรือสีฉูดฉาด ช่วยถนอมสายตา ถ้ามีแสงธรรมชาติก็จะยิ่งทำให้บรรยากาศในร้านอบอุ่น และอาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น
  • เฟอร์นิเจอร์ในร้าน เลือกใช้โต๊ะมีความมั่นคง ไม่มีเหลี่ยมมุมที่อาจทำให้เกิดอันตราย ใต้โต๊ะควรเปิดโล่งให้สามารถนำรถเข็นวีลแชร์เข้าไปนั่งได้สะดวก เก้าอี้ควรมีพนักพิงและที่วางแขนเพื่อช่วยในการลุกขึ้นยืน ระยะห่างระหว่างโต๊ะอาหารมีที่สำหรับให้รถเข็นผ่านไปได้ และมีระยะที่เพียงพอต่อการหมุนตัวของรถเข็น รวมถึงให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวแก่ลูกค้า
  • สร้างมุมพิเศษ อาจจะเป็นมุมรวมหนังสือ โปสเตอร์หนัง แผ่นเพลง หรือขนมของใช้ในยุคต่างๆ ที่ลูกค้าสามารถมาเดินชมและนึกถึงความทรงจำดี ๆ ในวัยหนุ่มสาว อาจจะช่วยให้ลูกค้าเพิ่ม Emotional Value หรือคุณค่าทางอารมณ์ สร้างความรู้สึกเชื่อมโยงและเป็นส่วนหนึ่งกับร้านอาหารได้

สังคมผู้สูงอายุ

3.ด้านการบริการอื่นๆ 

  • บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ สำหรับผู้สูงอายุ การออกไปซื้อหรือไปทานอาหารนอกบ้านอาจจะเป็นเรื่องลำบาก ไม่สะดวกในการยกจับสิ่งของ หรือบางคนไม่ชอบออกจากบ้านไปไหน บริการนี้จึงช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสะดวกมากขึ้น 
  • สร้างความรู้สึกคุ้มค่า ผู้สูงอายุส่วนมากตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนซื้อ และมีแนวโน้มที่จะซื้อสิ่งที่รู้สึกคุ้มค่ามากกว่า ลองคิดโปรโมชั่นเพื่อเพิ่มลูกค้าใหม่ๆ หรือมีการทำบัตรสมาชิกของร้านอาหารเพื่อเพิ่มโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำ
  • ให้ร้านเป็นมากกว่าที่รับประทานอาหาร เมื่อเกษียณจากการทำงานแล้ว ผู้สูงอายุหลายๆ คนอาจจะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย เหงา หรือแม้แต่รู้สึกรู้สึกลดคุณค่าในตนเอง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ลองจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อให้ร้านอาหารของคุณเป็นสถานที่ในการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่น ผูกพันกับร้าน และอาจจะนำไปสู่ฐานลูกค้าประจำได้

เทรนด์ของสังคมผู้สูงอายุนี้ เรียกว่าเป็นโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจอาหาร คนที่มองเห็นโอกาสและปรับตัวได้เร็ว คือผู้ที่จะก้าวนำคนอื่น นอกเหนือไปจากเรื่องรสชาติอาหาร ก็คือการบริการที่ดีต่อลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการความใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ การบริการดุจดูแลญาติผู้ใหญ่ของคุณเอง อาจจะทำให้ร้านประสบความสำเร็จ และได้ใจลูกค้ากลุ่มนี้ได้ในเวลาอันสั้น

 

ขอบคุณข้อมูล   positioningmag  / officemate / scgbuildingmaterials

 


           กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขก สุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

 

เรื่องแนะนำ

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง! เชื่อหรือไม่…กว่าครึ่งของร้านอาหารที่เปิดใหม่ในทุกปี ประสบกับปัญหาจนต้องปิดตัวลง ถ้าคุณมีเงินทุนมากพออาจจะได้ประสบการณ์และเริ่มต้นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่หลายคนที่ใช้เงินเก็บมาทั้งชีวิตเพื่อลงทุนเปิดร้านอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะลุกขึ้นได้อีกครั้ง ถ้าหากความฝันของคุณคือการเปิดร้านอาหาร มีร้านกาแฟเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง นี่คือ 5 ข้อ ที่คุณต้องเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ ก่อนเริ่มต้นทำความฝันของคุณให้เป็นจริง   รู้จักตลาด….. รู้ว่าจะขายอะไร และขายอย่างไร 9 %* คือตัวเลขของร้านอาหารที่เพิ่มขึ้นในปีล่าสุด มีร้านค้ากว่าหมื่นรายกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ และจังหวัดอื่น ๆ คุณจะเป็น 1 ใน 9 % ที่คงอยู่หรือปิดตัวลงไปในแต่ละปี จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลทางการตลาดที่จะทำให้คุณมองเห็นภาพรวม สามารถกำหนดจุดยืน และทิศทางการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เห็นโอกาสทางธุรกิจ เช่น การให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพการกินอาหารมากขึ้น สังคมที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นแต่มีร้านอาหารที่ตอบโจทย์น้อย  อิทธิพลของอาหารจากต่างประเทศ พฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ ที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายร้านอาหารในปัจจุบัน *ข้อมูลอ้างอิงจากศูนย์วิจัย กสิกรไทย ณ มีนาคม 2562   รู้ทำเล….รู้ว่าจะขายที่ไหน ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญ หากตัดสินใจเลือกทำเลแล้ว คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนทำเลไปไหนได้เลยนอกเสียจากว่าเปลี่ยนร้านให้เข้ากับทำเลนั้น ๆ […]

สำรวจตัวเอง ก่อนเข้าใจ Digital Marketing ผิด

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการทำการตลาดที่คนส่วนใหญ่หันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จนมีหลายคนเริ่มสงสัยว่า Digital Marketing มันเป็นเพียงแค่กระแสความนิยมชั่วคราวหรือเป็นแฟชั่นรึเปล่า?

ตั้งชื่อร้านอาหาร

6 เทคนิค ตั้งชื่อร้านอาหาร ให้โดนใจ

การ ตั้งชื่อร้านอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายหลายคนประสบปัญหาว่า คิดชื่อร้านเท่าไร ก็คิดไม่ออกสักที อย่างนั้นมาดูเทคนิคง่ายๆ ในการตั้งชื่อร้านให้โดนกันดีกว่า

“อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์มาแรงสายคลีน โอกาสทองของคนอยากมีธุรกิจ

หนึ่งในปัจจัยภายในที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีได้นั้น คงหนีไม่พ้น “อาหาร” นาทีนี้เรื่องของ “อาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ อาหารคลีนฟู้ด กำลังได้รับความนิยม อาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์มาแรงของคนยุคใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตลาดธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพขยายตามไปด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่สนใจอยากเปิดร้านอาหาร การลงทุนกับอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและเริ่มต้นได้ไม่ยาก วันนี้เราจึงขอนำเสนอแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนตีโจทย์ลักษณะของธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเป็นแนวทางในการนำไปเริ่มธุรกิจกัน 1.จุดยืนของอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่า อาหารของเราทำมาจากวัตถุดิบที่สดใหม่และได้คุณภาพ ปรุงรสและผ่านกรรมวิธีที่ไม่ได้ลดคุณค่าทางอาหารจนเกินไป หากสนใจลงทุนกับธุรกิจด้านนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจอย่างเราก็ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโภชนาการและคุณค่าทางอาหารต่างๆ ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเอ่ยถึงอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคล้วนมองหาสิ่งดีๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีมาจากภายใน  เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี กรรมวิธีการปรุงอาหารที่ไม่มากเกินไปจนทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มคนรักสุขภาพมองเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะมองหาอาหารที่ช่วยควบคุมแคลอรี่และน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีรสชาติที่ดี  มีเมนูให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่จำเจหรือน่าเบื่อจนเกินไป จะเป็นเมนูอาหารเช้า ขนมทานเล่น ของหวาน หรือเมนูหลักก็สามารถสร้างสรรค์ให้หลากหลายได้ หลักในการปรุงส่วนใหญ่นั้น  ร้านควรเน้นวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ ไม่มีวัตถุดิบพวกหมักดอง หรือ ขัดขาว เช่นน้ำตาลทรายขาว ข้าวขาว อาหารควรไร้ไขมัน มีน้ำมันประกอบอาหารได้ในจำนวนน้อยและใช้น้ำมันพืชที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน และปรุงรสให้กลมกล่อมแบบกลางๆมากกว่าการเน้นรสจัด ที่สำคัญควรต้องครบห้าหมู่ 2.กลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ แม้จะดูเหมือนว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่แท้จริงแล้วกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกระจายอยู่ในหลายอาชีพและช่วงอายุ ทั้งกลุ่มนักศึกษาที่อยู่หอพักหรือคอนโด ซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในการทำอาหารมากนัก, กลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้มีเวลาดูแลตัวเองเท่าที่ควร หรือกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งต้องเริ่มใส่ใจกับอาหารการกินมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่กลุ่มคนรักสุขภาพที่เข้าฟิตเนส […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.