ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19 - Amarin Academy

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้

ใน วิกฤต COVID-19

ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ทั้งเรื่องของจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส ด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ ที่มีการรวมตัวของผู้คนจำนวนมาก จากข่าวดังกล่าวยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต จนทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลานี้ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการออกไปยังสถานที่สาธารณะ ที่มีผู้คนรวมตัวกันและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น 
  • สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เพื่อลดการพบปะกับผู้อื่นขณะออกไปซื้ออาหาร
  • ซื้อของใช้ที่จำเป็น และกักตุนอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาด
  • ซื้อของมากขึ้นในแต่ละครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น 
  • ใส่ใจเรื่องความสะอาด และที่มาของอาหารมากขึ้น 
  • เกิดกระแส “Work form home” หรือการทำงานที่บ้าน   
  • รณรงค์ให้มีการเว้นระยะห่างจากสังคม หรือ Social distancing เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัส

วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหาร ร้านอาหารต่างๆ แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีหน้าร้านเพียงอย่างเดียว เพราะตามที่มีการประกาศล่าสุดคือ ร้านอาหารสามารถเปิดให้บริการได้ แต่จะต้องเป็นการซื้อกลับบ้านเท่านั้น ทำให้หลายร้านต้องเริ่มปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้ร้านสามารถไปต่อได้ แต่เชื่อว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสบางอย่างซ่อนอยู่เสมอ ยังคงมีธุรกิจอาหารบางประเภทที่ยังสามารถไปต่อได้ในสภาวะแบบนี้ และคิดว่าผู้ประกอบการหลายรายก็ได้เริ่มทำบ้างแล้ว มาดูกันว่าธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19 มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นไอเดียให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆด้วย

 

1.ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่

จากสถิติในปี 2562 มูลค่าของธุรกิจเดลิเวอรี่สูงถึง 3 หมื่นล้านบาท จะเห็นว่าอาหารเดลิเวอรี่เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสกลายเป็น วิกฤต COVID-19 ทำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน ก็ยิ่งมีการสั่งอาหารเดลิเวอรี่เพื่อมาส่งที่บ้านมากขึ้น 

ร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน จึงเริ่มที่จะปรับตัว โดยการปรับเมนูอาหาร และเรียนรู้การเปิดให้บริการร่วมกับแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ต่างๆ มากขึ้น รวมถึงเน้นการทำโปรโมชั่นกับทางแอปพลิเคชัน และเพิ่มการทำโปรโมชั่นทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มยอดขายจากทางเดลิเวอรี่ มาชดเชยกับยอดขายจากหน้าร้านที่ลดลง

ในการบริหารจัดการร้านเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน ทั้งเมนูอาหารที่เหมาะสมต่อการขนส่ง ระบบในการจัดการ การรับคำสั่งซื้อ การบรรจุอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารที่ช่วยรักษาคุณภาพอาหาร หน้าที่ของพนักงานที่เปลี่ยนไป รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากค่าบรรจุภัณฑ์ และค่า Gross Profit (GP) หรือส่วนแบ่งจากการขายให้กับทางแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีเงินทุน และความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับสถานการณ์ปัจจุบัน 

วิกฤต COVID-19

2.อาหารที่สามารถสั่งซื้อผ่านแอปช้อปปิ้ง 

กระแสการกักตุนอาหารย่อมทำให้ความต้องการอาหารต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยวต่างๆ รวมไปถึงอาหารแห้ง เช่น หมูแผ่น น้ำพริกแห้ง กุนเชียง เป็นต้น ก็ถือเป็นโอกาสในการขายของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเหล่านี้ เพราะปัจจุบันก็มีการค้าขายออนไลน์หรือแอปช้อปปิ้งต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออาหารได้อย่างสะดวกสบาย และลดโอกาสการติดเชื้อได้ด้วย

 

3.วัตถุดิบอาหาร

นอกจากอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารแห้งแล้ว ผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารผ่านบริการออนไลน์ แทนการไปตลาดหรือห้างสรรพสินค้าด้วยตัวเองได้ และรอรับการจัดส่งวัตถุดิบสดใหม่ที่บ้านได้เลย ในช่วงเวลาที่ต้องกักตัว หรือทำงานที่บ้าน ก็สามารถสั่งวัตถุดิบผ่านมาออนไลน์มาทำอาหารทานเองได้ โดยไม่ต้องทนรับประทานแต่อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแห้งเดิมๆ อีกต่อไป 

วิกฤต COVID-19

4.อาหารที่ขายเป็นคอร์สแบบผูกปิ่นโต

การขายอาหารเป็นคอร์สแบบผูกปิ่นโต เป็นการต่อยอดจากบริการอาหารเดลิเวอรี่ โดยเปลี่ยนลูกค้าจากการสั่งอาหารเป็นครั้งๆ ให้เป็นการสั่งอาหารรายสัปดาห์หรือรายเดือน เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลา หรือเบื่ออาหารสำเร็จรูป แต่ไม่อยากทำอาหารทานเอง 

การนำเสนอขายอาหารแบบนี้ จะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าและตอบโจทย์มากที่สุด เช่น ให้ความสะดวกสบาย จัดส่งอาหารถึงที่ตรงเวลาที่กำหนด จัดโปรโมชั่นที่ถูกลง ทำอาหารปรุงสดใหม่ทุกวัน มีเมนูหลากหลายไม่จำเจ  รักษาคุณภาพและความสะอาดของอาหาร มีการบริการตอบคำถามข้อสงสัยของลูกค้าที่ดี และหากเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ก็จะยิ่งมีฐานลูกค้าประจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ผูกปิ่นโตเมนูอาหารคลีน เมนูอาหารสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาหารสุขภาพเพื่อผู้สูงวัย อาหารสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือชูจุดขายในการใช้วัตถุดิบออร์แกนิคมาทำอาหาร เป็นต้น

 

5.ธุรกิจอาหารส่งออก

ประเทศไทยมีแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นในช่วงนี้ เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสทำให้หลายประเทศมีการซื้ออาหารกักตุนไว้บริโภค สินค้าเกษตรและอาหารจึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น ข้าว อาหารกระป๋อง ผลไม้ ไก่แช่แข็ง เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ 

โดยเฉพาะความต้องการข้าวในตลาดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนเอเชีย และสามารถเก็บไว้ได้นาน ราคาข้าวส่งออกในตลาดโลกก็สูงขึ้น  ในตลาดฮ่องกงคาดว่าจะเพิ่มมากถึง 15% แม้แต่ในอเมริกา ราคาข้าวไทยในห้างสรรพสินค้าก็ปรับราคาสูงขึ้น 15-20% รวมไปถึงตลาดในจีนที่เป็นแหล่งส่งออกใหญ่ของประเทศไทย ก็เริ่มมีสถานการณ์การระบาดที่ควบคุมได้ดีขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีของธุรกิจส่งออกอาหาร หลังจากเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และเงินบาทแข็งค่ามาเป็นระยะเวลานานจาก วิกฤต COVID-19

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

กลุ่มลูกค้าองค์กร 5 ประเภท ที่ธุรกิจเดลิเวอรี่ ควรเจาะตลาด

Marketing Collaboration สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ร้านสตรีทฟู้ด

สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต?

         ร้านสตรีทฟู้ด (Street food) หรือร้านอาหารริมทาง ถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ ฯ ที่เรียกได้ว่าเป็น “เมืองหลวงของสตรีทฟู้ด” เพราะสามารถหาซื้ออาหารรสชาติดี ราคาไม่แพงได้ในทุกพื้นที่ทั่วไป อีกทั้งยังสะดวกรวดเร็วไม่แพ้ฟาสฟู้ดต่างๆ           ซึ่งร้านอาหารแบบนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก ใช้อุปกรณ์ไม่มาก และเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย รวมทั้งยังมีหลายรูปแบบ ทั้งร้านแบบรถเข็นเล็กๆ แผงลอย รถขายอาหาร (Food Truck) แบรนด์ร้านอาหารใหญ่ ๆ ก็สนใจที่จะลงมามีบทบาทในตลาดสตรีทฟู้ดมากขึ้น หรือแม้แต่คนทั่วไปก็หันมาขายอาหารข้างทาง เพื่อหารายได้ชดเชยงานที่หายไปจากวิกฤตไวรัสอีกด้วย  สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต? วิกฤตโควิด-19 มีผลกระทบอย่างไรต่อตลาดสตรีทฟู้ด?           แน่นอนว่า ร้านสตรีทฟู้ด ที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ย่อมได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่หายไป ทำให้ยอดขายลดลงอย่างมาก การประกาศเคอร์ฟิวทำให้ร้านอาหารต้องปรับเวลาเปิดปิดร้านใหม่ตามกำหนดเวลา และการสั่งปิดร้านตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ทำให้สามารถขายได้แค่แบบซื้อกลับบ้าน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของร้าน และต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน้าที่ของพนักงานบางส่วน ในมุมพนักงานก็มีทั้งโดนลดค่าแรง จนไปถึงโดนเลิกจ้างงาน   […]

ชานมไข่มุก

ชานมไข่มุก มาแรง! ลิปตัน ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวไอศกรีมรสใหม่ “ชานมลิปตันไข่มุก”

กระแส ชานมไข่มุก ยังมาแรงดีไม่มีตก ล่าสุด ลิปตัน บริษัทเครื่องดื่มชาชื่อดัง เปิดตัว “ชานมลิปตันไข่มุก” (Lipton Ice Tea Tapioka Milk Tea) ที่ประเทศญี่ปุ่น ชานมไข่มุก มาแรง! ลิปตัน ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวไอศกรีมรสใหม่ “ชานมลิปตันไข่มุก” เรียกว่าตลาด ชานมไข่มุก ในปัจจุบัน ยังคงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามอง เพราะยังคงมีกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการชานมไข่มุกรายเดิมก็ไม่หยุดที่สร้างสรรค์เมนู หาความแปลกใหม่ให้กับแบรนด์ของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ทำให้มีผู้เล่นรายใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ และมากันในหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดแบรนด์เครื่องดื่มชาชื่อดังอย่าง Lipton ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหม่ที่ตามเทรนด์กระแสชานมไข่มุก ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่ “ชานมลิปตันไข่มุก” (Lipton Ice Tea Tapioka Milk Tea) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง Lipton และ บริษัทผู้ผลิตไอศกรีมชื่อดังอย่างการิการิคุง (gari gari kun) เพื่อให้ได้ไอศกรีมชานมไข่มุกที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ไข่มุกยังมีความนุ่มหนึบ แม้จะถูกแช่แข็งขนาดไหนก็ตาม ปัจจุบันเริ่มวางขายในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนราคาอยู่ที่แท่งละ […]

โออิชิ

โออิชิ กรุ๊ป เปิดกลยุทธ์ ปี 2020 บุกตลาดเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และอาหารพร้อมทาน

ปีที่ผ่านมาธุรกิจหลักของ โออิชิ กรุ๊ป ที่เราเห็นได้ชัดก็คือ ธุรกิจเครื่องดื่ม ที่เรารู้จักกันก็คือ เครื่องดื่มชาเขียว  ต่อมาคือ ธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา โออิชิ ได้เริ่มกลับมาดันธุรกิจกลุ่มอาหารพร้อมทาน หรือแพ็กเกจจิ้งฟู้ด อีกครั้ง เพื่อตอบรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น สำหรับผลประกอบการของ โออิชิ กรุ๊ป รอบปีงบประมาณ 2562 (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 ถึง 30 ก.ย. 2562) มียอดรายได้รวม 13,631 ล้านบาท เติบโต 8.2% และผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,229 ล้านบาท ธุรกิจเครื่องดื่ม 6,501 ล้านบาท เติบโต 6% ธุรกิจอาหาร 7,130 ล้านบาท เติบโต 9% กำไรสุทธิรวมของบริษัท 1,229 ล้านบาท เติบโต 9% กำไรจากธุรกิจเครื่องดื่ม 869 ล้านบาท เติบโต […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.