5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ - Amarin Academy

5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ

5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงวัย’ (Aging society) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึง 36.9 ล้านคน คิดเป็น 5.89 % ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาค ขณะที่ประเทศไทยมีประชากรกว่า 66 ล้านคน มีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ราว 6.5 ล้านคน คิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยเรากำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2564 และจากตัวเลขนี้ทำให้เห็นว่าธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุกำลังมาแรง เราจึงขอแนะนำ 5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ ดังนี้

1.สินค้าอุปโภคบริโภคและการดูแลสุขภาพ

ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ กำลังมาแรงมากๆ เพราะไม่ได้เจาะกลุ่มลูกค้าสูงอายุได้เท่านั้น แต่ยังเจาะกลุ่มคนที่รักสุขภาพด้วยเช่นกัน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารคลีน หรืออาหารไขมันต่ำปราศจากคอเลสเตอรอล เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยหรือไม่มีเลย เป็นต้น ในช่วงปีที่ผ่านมาเราจะเริ่มเห็นธุรกิจนี้เพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกปั่น ที่จำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ปั่นเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ หรืออาหารเสริมที่ช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เบาหวาน และระบบย่อยอาหาร ก็กำลังเริ่มเป็นที่นิยม โดยส่วนใหญ่มักชูจุดเด่นว่ามาผลิตจากสมุนไพร ไร้ผลข้างเคียง ทั้งนี้ผู้ที่สนใจทำธุรกิจด้านนี้ควรต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ต้องจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ถูกต้อง และต้องมั่นใจจริงว่าผลิตภัณฑ์ของคุณดีต่อสุขภาพจริงๆ ด้วย

  1. การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีออกแบบและพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุมากขึ้น (รวมทั้งรองรับการเดินทางของผู้พิการด้วย หรือบางคนอาจรู้จักกันในชื่อ Universal Design) ส่งผลให้การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุสะดวกขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ นั่นคือ การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการเดินทางที่มีกิจกรรมไม่หนักนัก สถานที่ที่ไปมักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น รถรับ-ส่ง รถวีลแชร์ หน่วยพยาบาล เป็นต้น และใช้เวลาท่องเที่ยวแต่ละสถานที่ค่อนข้างนาน มีการแวะพักบ่อยครั้งเพื่อเอื้อต่อการเข้าห้องน้ำที่บ่อยขึ้น เป็นต้น และที่ขาดไม่ได้เลยคือ มีสินค้าที่เหมาะกับผู้สูงอายุจำหน่ายระหว่างเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้สูงอายุซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน โดยอาจใช้ชื่อว่า “มุมสุขภาพ” เพื่อให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกเขิน

  1. เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ

เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตมากขึ้น เช่น สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้านควรปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมมากขึ้น เช่น เตียงนอนที่สามารถปรับระดับได้และไม่สูงเกินไป ที่นอนยางพาราที่มีความแข็งตัว เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง และหมอนเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตมากขึ้น

4.อสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้สูงอายุ

คือโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ นั่นคือ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เช่น การดูแลระหว่างวันแบบไปเช้า-เย็นกลับ และการพักฟื้นระยะยาว  เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้ร่วมทำตลอดเวลา เป็นต้น จะเห็นได้ว่าปัจจุบันโรงพยาบาลเริ่มเปิดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลมีศักยภาพเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ที่เอื้ออำนวย เครื่องมืออุปกรณ์ และบุคลากรที่เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจคอนโดมินียมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีบริการครบวงจร เช่น โครงการสวางคนิเวศที่จัดทำโดยสภากาชาดไทย ออกแบบเพื่อให้ผู้สูงอายุ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีหน่วยพยาบาล และที่สำคัญคือมีการคัดสรรผู้พักอาศัยที่มีรสนิยมเดียวกัน สร้างเป็นสังคมระบบพึ่งพา มีการจัดกิจกรรมต่างๆ สม่ำเสมอ ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เหงา และมีความสุขมากขึ้น

5.ปรับบริการเพื่อผู้สูงวัย

นอกจากการสร้างธุรกิจใหม่เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุแล้ว ผู้ประกอบการรายเดิมอาจใช้วิธีปรับรูปแบบธุรกิจของตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับการบริการผู้สูงวัยมากขึ้น เช่น ปรับเวลาการเปิดบริการให้เช้าขึ้น เดิมอาจเปิดร้าน 9.00 น. เปลี่ยนเป็น 7.00 น. เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุจะมีพฤติกรรม ตื่นเช้า นอนเร็ว หรือร้านอาหาร ควรออกแบบทางเดินกว้างขึ้น มีราวจับเพื่อช่วยพยุง มีทางลาดสำหรับวีลแชร์ เก้าอี้ในร้านควรมั่นคงแข็งแรง มีพนักพิง โต๊ะค่อนข้างเตี้ยกว่ามาตรฐาน เพิ่มเมนูสุขภาพ อาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เป็นต้น

เมื่อโอกาสวิ่งเข้ามาแล้วผู้ประกอบการอย่างเราต้องรีบคว้าเอาไว้ให้ทัน ใครที่สร้างสรรค์หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจได้ดีที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด และที่สำคัญ ทำได้เร็วที่สุด ก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

เรื่องแนะนำ

ไวรัสโคโรน่า

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

จากข่าวการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 โรคติดต่ออันตรายที่กำลังแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศ ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ รวมถึงผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังที่ผ่านมานับพันราย และได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว จากเหตุการณ์นี้แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหลายรายในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหารก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์นี้    ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้ ไวรัสกระทบร้านอาหาร เสียรายได้หลักหมื่นล้านบาท นักท่องเที่ยวที่น้อยลงส่งผลกระทบต่อร้านอาหารตั้งแต่ SME รายย่อยไปจนถึงรายใหญ่ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดการณ์ว่า หากประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ภายใน 3 เดือน ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจะสูญเสียรายได้ไปแล้วประมาณ 16,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึง 6 เดือน อาจจะสูญเสียรายได้มากถึง 34,000 ล้านบาท    พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จำนวนลูกค้าต่างชาติที่ลดลงส่งผลอย่างมากต่อร้านอาหารในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี  รวมถึงร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ที่กระจายอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนี้ ลูกค้าคนไทยเองก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะ และใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เลือกทานอาหารในร้านที่คนไม่แออัด ซื้ออาหารสำเร็จรูปกลับไปทานที่บ้านแทน […]

วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ ใน วิกฤต COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ทั้งเรื่องของจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส ด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ ที่มีการรวมตัวของผู้คนจำนวนมาก จากข่าวดังกล่าวยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต จนทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลานี้ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการออกไปยังสถานที่สาธารณะ ที่มีผู้คนรวมตัวกันและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น  สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เพื่อลดการพบปะกับผู้อื่นขณะออกไปซื้ออาหาร ซื้อของใช้ที่จำเป็น และกักตุนอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาด ซื้อของมากขึ้นในแต่ละครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น  ใส่ใจเรื่องความสะอาด และที่มาของอาหารมากขึ้น  เกิดกระแส “Work form home” หรือการทำงานที่บ้าน    รณรงค์ให้มีการเว้นระยะห่างจากสังคม หรือ Social distancing เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัส ธุรกิจอาหาร ร้านอาหารต่างๆ แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีหน้าร้านเพียงอย่างเดียว เพราะตามที่มีการประกาศล่าสุดคือ ร้านอาหารสามารถเปิดให้บริการได้ แต่จะต้องเป็นการซื้อกลับบ้านเท่านั้น ทำให้หลายร้านต้องเริ่มปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้ร้านสามารถไปต่อได้ แต่เชื่อว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสบางอย่างซ่อนอยู่เสมอ ยังคงมีธุรกิจอาหารบางประเภทที่ยังสามารถไปต่อได้ในสภาวะแบบนี้ และคิดว่าผู้ประกอบการหลายรายก็ได้เริ่มทำบ้างแล้ว มาดูกันว่าธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19 มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นไอเดียให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆด้วย   […]

ธุรกิจผลิตอาหาร

นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

แม้ว่าสินค้าจะออกมาดี รสชาติอร่อย ก็ยังไม่จบ เพราะยังมีเรื่องของการตลาดและองค์ประกอบต่างๆ หลายอย่าง ดังนั้นธุรกิจผลิตอาหารต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ โดยนวัตกรรมถือเป็นตัวติดอาวุธให้ธุรกิจของคุณ ในการสู้กับคู่แข่งในทุกวันนี้

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.