“อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์มาแรงสายคลีน โอกาสทองของคนอยากมีธุรกิจ

“อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์มาแรงสายคลีน โอกาสทองของคนอยากมีธุรกิจ

หนึ่งในปัจจัยภายในที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีได้นั้น คงหนีไม่พ้น “อาหาร” นาทีนี้เรื่องของ “อาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ อาหารคลีนฟู้ด กำลังได้รับความนิยม อาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์มาแรงของคนยุคใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตลาดธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพขยายตามไปด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่สนใจอยากเปิดร้านอาหาร การลงทุนกับอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและเริ่มต้นได้ไม่ยาก วันนี้เราจึงขอนำเสนอแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนตีโจทย์ลักษณะของธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเป็นแนวทางในการนำไปเริ่มธุรกิจกัน

1.จุดยืนของอาหารเพื่อสุขภาพ

ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่า อาหารของเราทำมาจากวัตถุดิบที่สดใหม่และได้คุณภาพ ปรุงรสและผ่านกรรมวิธีที่ไม่ได้ลดคุณค่าทางอาหารจนเกินไป หากสนใจลงทุนกับธุรกิจด้านนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจอย่างเราก็ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโภชนาการและคุณค่าทางอาหารต่างๆ ด้วยเช่นกัน

เพราะเมื่อเอ่ยถึงอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคล้วนมองหาสิ่งดีๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีมาจากภายใน  เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี กรรมวิธีการปรุงอาหารที่ไม่มากเกินไปจนทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มคนรักสุขภาพมองเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะมองหาอาหารที่ช่วยควบคุมแคลอรี่และน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีรสชาติที่ดี  มีเมนูให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่จำเจหรือน่าเบื่อจนเกินไป จะเป็นเมนูอาหารเช้า ขนมทานเล่น ของหวาน หรือเมนูหลักก็สามารถสร้างสรรค์ให้หลากหลายได้

หลักในการปรุงส่วนใหญ่นั้น  ร้านควรเน้นวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ ไม่มีวัตถุดิบพวกหมักดอง หรือ ขัดขาว เช่นน้ำตาลทรายขาว ข้าวขาว อาหารควรไร้ไขมัน มีน้ำมันประกอบอาหารได้ในจำนวนน้อยและใช้น้ำมันพืชที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน และปรุงรสให้กลมกล่อมแบบกลางๆมากกว่าการเน้นรสจัด ที่สำคัญควรต้องครบห้าหมู่

2.กลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

แม้จะดูเหมือนว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่แท้จริงแล้วกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกระจายอยู่ในหลายอาชีพและช่วงอายุ ทั้งกลุ่มนักศึกษาที่อยู่หอพักหรือคอนโด ซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในการทำอาหารมากนัก, กลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้มีเวลาดูแลตัวเองเท่าที่ควร หรือกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งต้องเริ่มใส่ใจกับอาหารการกินมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่กลุ่มคนรักสุขภาพที่เข้าฟิตเนส หรือคนที่พยายามควบคุมแคลอรี่อาหารเท่านั้น แต่ทั้งหมดทั้งมวลตลาดกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมีเป้าหมายหลักร่วมกันคืออยากมีสุขภาพที่ดี

ก่อนเข้าไปลุยในธุรกิจนี้ เราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร ซึ่งความต้องการอาจหลากหลาย เช่น ต้องการสุขภาพ ต้องการลดน้ำหนัก เพราะขึ้นชื่อว่าอาหารเพื่อสุขภาพ สิ่งที่ผู้ซื้อต้องการก็หนีไม่พ้นเรื่องการมีสุขภาพที่ดี ที่มาจากการกินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไขมันต่ำ ผ่านกรรมวิธีการปรุงที่ไม่มากเกินไปจนสูญเสียคุณค่าทางอาหาร ซึ่งความต้องการของลูกค้าถือเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจนี้

ในช่วงแรกๆ เราอาจเปิดร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพแบบเล็กๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนที่พักอาศัยใกล้ๆที่เราอาศัยอยู่ หรืออยู่ในเขตชุมชนที่มีออฟฟิศมากๆ ก็ยิ่งดี จากกลุ่มลูกค้าเหล่านี้อาจต่อยอดขยายธุรกิจออกไป เช่น รับทำข้าวกล่อง อาหารว่าง ให้กับหน่วยงานต่างๆ หรือเมื่อมีงานเลี้ยงเล็กๆ งานพิธีต่างๆ เป็นต้น

บางคนเลือกที่จะลงทุนทำธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเป็นแบบเดลิเวอรี่ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่ที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำจนบางครั้งไม่มีเวลาได้ดูแลตัวเอง หรือแม้แต่เวลาจะเข้าครัวไปทำอาหาร การได้ทานอาหารดีๆ จึงเป็นวิธีที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงได้อยู่เสมอ

 

3.การตลาดช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ทุกวันนี้ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้นทุกวัน หลายคนเริ่มหันมาสนใจธุรกิจด้านนี้มากขึ้น การสร้างจุดเด่นให้ร้านของอาหารของตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม บางร้านเลือกหยิบเรื่องราวจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจมาเป็นจุดขาย บางร้านมีแรงบันดาลใจมาจากชีวิตของตัวเอง ครอบครัว หรือคนใกล้ชิด หรือบางร้านได้รับเมนูเด็ดตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภคได้ไม่ยาก

แต่ถ้าใครมีทุนน้อยและยังไม่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง อาจขายอาหารเพื่อสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ หรือผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น  Facebook, Instagram, LINE  เป็นต้น เพราะไม่มีต้นทุนด้านสถานที่ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ง่าย รวมถึงจัดการเรื่องการจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ได้สะดวกรวดเร็ว

ปัจจุบันนี้สื่อในโลกออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักที่หลายคนเลือกใช้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการทำการตลาดออฟไลน์จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ในระยะแรกเริ่ม เราอาจต้องพึ่งพาช่องทางนี้ เช่น การทำใบปลิวเมนูของร้านเพื่อโฆษณาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก เช่น คนในหมู่บ้านเดียวกันหรือกลุ่มคนที่ทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เราเข้าถึงได้ง่าย

แต่ไม่ว่าเราจะทำธุรกิจขายอาหารเพื่อสุขภาพแบบเปิดเป็นร้านอาหาร หรือขายออนไลน์ สิ่งที่เราจะลืมไม่ได้ก็คือการรักษาคุณภาพของวัตถุดิบและรสชาติของอาหารให้คงที่ เพราะสิ่งนี้จะทำให้ลูกค้าติดใจและกลับมาซื้ออาหารของเราอีกเรื่อยๆ

4.คุณภาพ ปริมาณ และราคา

เมื่อเราตีโจทย์สามตัวแปรข้างต้นได้ว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจว่าจะอุดหนุนร้านของเราต่อไปหรือไม่ โดยทั้งสามตัวแปรนี้ควรไปในแนวทางเดียวกัน เมื่อมีคุณภาพที่ดีแล้ว ปริมาณของอาหารก็ควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากไปจนเกินแคลอรี่ และไม่น้อยเกินไปจนเหมือนเอาเปรียบผู้บริโภค ขณะที่ราคาควรอยู่ในระดับที่ไม่แพงจนเกินไป จนทำให้ลูกค้าหนีหาย หรือถูกเกินไปจนเจ้าของร้านอาหารเป็นฝ่ายขาดทุนเสียเอง โดยอย่าลืมสำรวจตลาดและคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันการตั้งราคาอาหารเพื่อสุขภาพนั้น ควรตั้งราคาให้เหมาะกับวัตถุดิบที่เรานำมาทำ อาจเทียบจากราคาอาหารจานเดียวทั่วไป ที่มีราคา 35-40 บาท ดังนั้นอาหารเพื่อสุขภาพควรเริ่มต้นที่ราคา 55-80 บาท/กล่อง นอกจากนี้การบรรจุกล่องให้น่ารับประทานก็ช่วยเพิ่มราคาขายต่อกล่องได้ เราต้องคำนวณต้นทุนว่าหนึ่งกล่องใช้วัตถุดิบเท่าไหร่ ต้นทุนกี่บาท ในกรณีที่ต้องจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าควรบวกค่าจัดส่งไปด้วย อาจเพิ่มความสะดวกด้วยการใช้บริการจากแอปพลิเคชันส่งสินค้า และอย่าลืมบวกค่าแรงในการทำเข้าไปด้วย ควรตั้งให้เหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณอาหาร

5.สร้างความน่าเชื่อถือด้วยคุณค่าทางอาหาร

สำหรับคนที่สนใจทำธุรกิจเป็นแบบเดลิเวอรี่ อาจติดบอกคุณค่าทางโภชนาการและวัตถุดิบของแต่ละเมนูไว้ที่ข้างกล่อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคเชื่อว่าอาหารเหล่านี้ล้วนผ่านการคำนวณแคลอรี่และคุณค่ามาแล้ว คนที่เลือกเปิดเป็นร้านอาหารอาจทำการ์ดหรือแผ่นรองจานอาหารเป็นสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารไปได้ด้วย เช่น กระดาษรองจานของ MK สุกี้ซึ่งมักจะให้ข้อมูลความรู้อยู่เสมอ รวมไปถึงการคำนวณแคลอรี่ของมื้อที่เราเพิ่งทานไป เป็นต้น

สำหรับธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพนั้น  ถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่ก็มีรายละเอียดให้เจ้าของร้านศึกษาหาความรู้อยู่ไม่ใช่น้อย อีกทั้งต้องวางแผน ศึกษาและทำความเข้าใจให้ดี การฝึกฝีมือทั้งเรื่องการปรุงอาหาร การวางแผนจัดการ เรื่องสถานที่ เรื่องกำลังคน การกำหนดพื้นที่การให้บริการ ทุกอย่างควรต้องมีความชัดเจน หากมีการเตรียมความพร้อมอย่างดีแล้ว ก็ย่อมมีชัยมากไปกว่าครึ่ง และเมื่อใดที่ได้เริ่มลงมือทำนั้น ความมั่นใจย่อมเต็มเปี่ยมเกินร้อย การประสบความสำเร็จทางธุรกิจก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างแน่นอน

เรื่องแนะนำ

google trends Thai

รู้แนวโน้มตลาดง่ายๆก่อนใคร ด้วยสถิติการค้นหาจาก Google trends

ธุรกิจจะประสบความความสำเร็จได้ไม่ใช่เพราะโชคช่วย แต่เบื้องหลังต้องมีการวางแผนการตลาดที่ดี โดยอาศัยข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มความเป็นไปของตลาด และในบทความนี้ เราขอแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยสำรวจว่า คนไทยและคนทั่วโลกค้นหาอะไรมากแค่ไหนบนโลกออนไลน์ ด้วย Google Trends บอกสถิติการค้นหาจาก Google ในแง่มุมต่างๆ เพื่อติดตามเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และนำไปใช้การวางแผนการตลาดต่อไป บอกเลยว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่ควรพลาด!  รู้แนวโน้มตลาดง่ายๆก่อนใคร ด้วยสถิติการค้นหาจาก Google trends Google Trends คือ ?         Google นั้นเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมสำหรับการค้นหาออนไลน์ ทางเว็บไซต์จึงมีข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่ง Google Trend ก็คือเว็บไซต์สำหรับค้นหาเช่นกัน แต่ผลที่ได้คือข้อมูลทางสถิติ ว่ามีคนค้นหาหัวข้อนั้นๆ ในเว็บไซต์ Google มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง  (หน้าสำหรับค้นหาในเว็บไซต์ Google Trends)   เจ้าของธุรกิจจะใช้ Google Trend ให้เป็นประโยชน์อย่างไร ?          สถิติการค้นหาเหล่านี้ก็เป็นข้อมูลที่เราสามารถใช้วิเคราะห์ ดูแนวโน้มและคาดการณ์ทางธุรกิจได้ หรือแม้แต่ดูการรับรู้แบรนด์ของร้านอาหาร ว่ามีผู้บริโภคที่รู้จักหรือสนใจมากน้อยเพียงใด          ตัวอย่างที่ชัดเจนของผู้บริโภคที่สังเกตได้จากข้อมูลใน Google Trend ก็คือ พฤติกรรมการออกไปทานอาหารนอกบ้าน เมื่อดูข้อมูลการค้นหาคำว่า “ร้านอาหาร” และ […]

ตั้งราคาขาย

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ ตั้งราคาขาย อย่างไร  ให้ขายได้และร้านอยู่รอด         พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น          แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP […]

อยากโตในระบบอุตสาหกรรม ต้องทำอย่างไร ?

ช่องทางการเติบโตของธุรกิจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขา การแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ การหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ฯลฯ แต่ช่องทางที่น่าจับตามากที่สุดตอนนี้คือ

เจาะลึก พฤติกรรมผู้บริโภค “รุ่นใหม่” เป็นอย่างไรไปดูกัน

สำหรับใครที่วางกลุ่มเป้าหมายของร้านอาหารเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ควรอ่านบทความนี้ด่วน เพราะเราได้สรุป พฤติกรรมผู้บริโภค ของคนกลุ่มนี้เอาไว้แล้ว

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.