สรุป 4 ความรู้สำคัญจาก AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy - Amarin Academy

สรุป 4 ความรู้สำคัญจาก AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy

เริ่มแล้ว! สำหรับกิจกรรรมใหม่ AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy กิจกรรมสังสรรค์แบบเป็นกันเอง ของผู้ประกอบการร้านอาหาร เหล่าผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจอาหาร และงานดีไซน์ รวมถึงตัวแทนจากทีมงาน Amarin Academy ที่พร้อมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาปัญหากับกูรูอย่างใกล้ชิด แบบ Case by Case ซึ่งสำหรับการจัดในครั้งแรกนั้น ได้รับกระแสตอบรับดีเกินคาด

 

AA Sharing ครั้งที่1 

โดย Amarin Academy

AA Sharing  เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทาง Amarin Academy จัดขึ้น เพื่อต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจอาหาร และผู้ประกอบการได้มาพบปะ พูดคุยกัน และรับประทานอาหารร่วมกันในบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ซึ่งจะเป็นลักษณะกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เจ้าของร้านอาหารได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องราว ปรึกษาปัญหาที่ร้านกำลังประสบอยู่ รวมถึงขอคำแนะนำจากเหล่ากูรูแบบใกล้ชิด และเจาะลึกมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง และมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าของร้านไปในแต่ละครั้ง สำหรับในครั้งแรกนี้จะมีใครมาร่วมโต๊ะกับเราบ้าง และมีเนื้อหาอะไรบ้าง มาดูกันครับ

AA Sharing
ภาพบรรยากาศงาน AA Sharing

ผู้ร่วมกิจกรรม AA Sharing ครั้งที่ 1

  • อาจารย์ป๊อป ชิดชนก แก้วอัมพร วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ร้านอาหาร
  • คุณเกษม เกษมสันต์ สัตยารักษ์ General Manager ร้าน Copper International Buffet
  • คุณแวว เนตรนภา นราธัศจรรย์ เจ้าของร้าน Craftsman Roastery
  • คุณปิ๊ก สุภมาส คงวิวัฒนากุล เจ้าของร้าน กล่องแสนศุข
  • คุณป๊อป ฐิติพงศ์ เนตรพ่วง เจ้าของร้าน หม้อเบ้อเร่อ

 

โดยเนื้อหาในการพูดคุยในครั้งนี้ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นปัญหาที่แต่ละร้านกำลังเจอในแต่ละรูปแบบ เราสรุปเนื้อหาที่น่าสนใจไว้ดังนี้

 

1.ทำอย่างไรเมื่อร้านแบรนด์ดังมาเปิดข้างๆ

♦ ร้านหม้อเบ้อเร่อ ของคุณป๊อป ฐิติพงศ์ ซึ่งเป็นร้านชาบู ปิ้งย่างบุฟเฟต์ กำลังเผชิญกับปัญหา คือ มีร้านประเภทคล้ายๆกัน และเป็นแบรนด์ดัง กำลังจะเข้ามาเปิดสาขาใกล้ๆ ร้านของคุณป๊อป ทำให้มีความกังวลอย่างมากในเรื่องลูกค้าที่อาจลดน้อยลง

ซึ่งในเคสนี้ คุณเกษมสันต์ และอาจารย์ป๊อป ชิดชนก ก็ได้แนะนำแนวทางว่า อย่าเพิ่งมองคู่แข่งเป็นศัตรู แต่ให้เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า อย่าคิดว่าเขาจะมาแย่งลูกค้า แต่ให้มองว่า เขาอาจจะนำพาลูกค้าใหม่ๆ มาเพิ่มให้ร้านเราก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ เราต้องทำแบรนด์ของเราให้ชัดเจน เราเป็นสายจิ้มจุ่มแบบไทยๆ อีกร้านอาจจะไม่เหมือนแบบเราก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องยืดจุดแข็งของเรา ตัวตนของร้านเราให้แข็งแรง

และในบางครั้งเวลาที่เรามีคู่แข่ง เรามักพยายามที่จะจับผิดเขา แต่อยากให้คิดใหม่ แทนที่จะคอยจับผิด ควรหาข้อดีของเขา แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับร้านเราดีกว่า

 

2.บรรยากาศดี อาหารเยี่ยม แต่น้อยคนจะรู้จักร้าน

♦ ร้าน Craftsman Roastery ของคุณแวว เนตรนภา ซึ่งเป็นร้านที่เราใช้ทำกิจกรรมในครั้งนี้ ต้องบอกเลยว่าเป็นร้านที่มีความสวยงามและมีเรื่องราวที่น่าสนใจ Craftsman Roastery เป็นร้านคาเฟ่ ซึ่งตัวร้านเป็นอาคารเก่าที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เคยอาศัยอยู่จริงกว่า 8 ปี นอกจากจะเป็นคาเฟ่ที่มีกาแฟชั้นเลิศแล้ว ก็ยังมีเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ ร้านสวย กาแฟเลิศ บรรยากาศดี แต่ปัญหาของร้านนี้คือ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้เป็นที่รู้จัก และทำการตลาดออนไลน์น้อยมาก ทำให้น้อยคนที่จะได้เข้ามาสัมผัสร้านดีๆ แบบนี้

ซึ่งในเคสนี้ คุณเกษมสันต์ และอาจารย์ป๊อป ชิดชนก ก็ได้ให้คำแนะนำว่า ควรที่จะทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ประชาสัมพันธ์ร้านในช่องทางออนไลน์ต่าง เช่น Facebook Page หรือ Instagram และต้องทำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสำรวจว่ากลุ่มลูกค้าเรา คือกลุ่มไหน ซึ่งตัวร้านเองก็สามารถที่จะจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบศิลปะได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่วัยทำงานเท่านั้น และที่สำคัญคือ ก่อนที่จะทำการตลาด หรือโปรโมทร้านออกไป ควรเตรียมพร้อมกับระบบการจัดการหลังบ้านให้เรียบร้อยด้วย อาหารต้องดี เครื่องดื่มต้องดี Operation ต้องพร้อม เพราะหากยังไม่พร้อมแล้วลูกค้าหลั่งไหลมาจริง แทนที่จะได้ลูกค้าเพิ่ม อาจทำให้ต้องสูญเสียลูกค้าไป

AA Sharing
ภาพบรรยากาศงาน AA Sharing

 

3.จัดการกับขยะในร้าน ลดต้นทุนได้เป็นหมื่นต่อปี

♦ ร้าน กล่องแสนศุข ของคุณปิ๊ก สุภมาส จากจังหวัดชลบุรี ก็เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารตัวอย่างที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ก็ได้มาแชร์ถึงการให้ความสำคัญในการคัดแยกขยะจากร้านอาหารของตัวเอง เปิดร้านอาหารอร่อยแล้ว บริการดีแล้ว แต่ก็ไม่ลืมที่จะรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาสะโลลกร้อนด้วย

ร้านกล่องแสนศุข มีนโยบายในการลดจำนวนขยะลง เพราะรู้ดีว่าธุรกิจอาหารนั้น ก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก ซึ่งทางร้านได้มีการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการแยกขยะและเศษอาหารเพื่อนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งอยู่ด้านหลังร้าน รวมถึงการแยกขยะพลาสติก ขวดแก้ว กล่องกระดาษ เพื่อนำไปขายเป็นรายได้ของน้องๆ พนักงานต่อไป ซึ่งนโยบายนี้เห็นผลอย่างชัดเจน ทำให้จำนวนขยะของร้านลดลงจำนวนมาก จากจำนวนขยะนับสิบถุงต่อวัน เหลือเพียงแค่วันละ 2 ถุง และยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ต้องซื้อถุงขยะจำนวนมาก รวมถึงได้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากขยะ นำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ดีมากๆ ซึ่งเชื่อว่าร้านอื่นๆ คงอาจจะต้องเริ่มสนใจและเริ่มทำตามกันบ้างแน่นอน

AA Sharing

 

4. หลัก 4 ข้อในการทำธุรกิจของคุณเกษม

นอกจากนี้ คุณเกษมสันต์ ยังฝากทิ้งท้าย หลัก 4  ข้อในการทำธุรกิจ ไว้ด้วยว่า

  1. เราต้องดูตัวเองให้มากขึ้น งานที่เราได้รับมอบหมาย งานที่มอบหมายให้คนอื่นทำ งานถูกต้องไหม งานสำเร็จไหม ทุกอย่างมีอุปสรรคไหม นั่นคือการดูตัวเองให้มากขึ้น
  2. มองคนอื่นให้น้อยลง คือ ไม่ใช่คอยจับผิดคนอื่น แล้วก็เก็บมาเครียดเอง
  3. ให้ความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในการทำงานไม่ว่าจะเจอเพื่อนร่วมงานใหม่หรือเก่า อายุเท่าไหร่ หรือชนชาติไหน เราต้องให้เคารพและให้เกียรติกัน ถ้าเราเคารพคนอื่น คนอื่นก็จะเคารพเราเอง
  4. การให้อภัย งานคือปัญหา ในการทำงานเราต้องมีการถกเถียงกันบ้างในการทำงาน แต่เมื่อจบงานแล้ว เราต้องมีความให้อภัยกัน ก็จะสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้

 

>>> ติดตามข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ของ Amarin Academy ได้ที่

Website : Amarin Academy

Facebook Page :  Amarin Academy

 

เรื่องแนะนำ

เทรนด์ธุรกิจปี 2018

เทรนด์ธุรกิจปี 2018 ธุรกิจใดมาแรงไปดูกัน

ใครที่กำลังวางแผนธุรกิจในปีหน้าอยู่ หรือกำลังคิดว่าอยากเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ ลองศึกษา เทรนด์ธุรกิจปี 2018 ดูนะครับ เผื่อนำไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม

สำรวจตัวเอง ก่อนเข้าใจ Digital Marketing ผิด

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการทำการตลาดที่คนส่วนใหญ่หันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จนมีหลายคนเริ่มสงสัยว่า Digital Marketing มันเป็นเพียงแค่กระแสความนิยมชั่วคราวหรือเป็นแฟชั่นรึเปล่า?

สไปร์ท

สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส ผลักดันการรีไซเคิลพลาสติกครั้งสำคัญ

เชื่อว่าเครื่องดื่ม สไปร์ท ขวดสีเขียว เป็นเอกลักษณ์และภาพจำที่คุ้นเคยของคนทั่วโลก แต่ด้วยกระแสการหันมาใส่ใจเรื่องการใช้พลาสติกมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญและตื่นตัวกับเรื่องนี้ ล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง โคคา-โคล่า ได้มีการประกาศเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ของ “ สไปรท์ ” โดยเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกแบบใส แทนการใช้ขวดสีเขียวแบบเดิม ในภูมิภาคอาเซียน โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก ที่พยายามผลักดันในการตามเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกพีอีที (Circular Economy)   สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส เครื่องดื่มสไปรท์จำหน่ายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกสีเขียวที่ผู้บริโภครู้จักดีมาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในฟิลิปปินส์เมื่อปี พ.ศ. 2511 และเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เนื่องด้วย The Coca-Cola Company ต้องการเดินหน้าโปรเจ็คตามวิสัยทัศน์ World Without Waste สานต่อความมุ่งมั่นเดินหน้าผลักดันการรีไซเคิลขวดพลาสติกเพื่อให้สามารถนำขวดพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ต่อไป  ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในยุโรป ประสบความสำเร็จในการยกเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวสำหรับสไปรท์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการเดินหน้าในโซนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้เริ่มเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกใสในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะทยอยเปลี่ยนในปี 2563 สไปร์ท เปลี่ยนสีขวด ช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกพีอีทีแบบใส แทนการใช้ขวดพลาสติกสีแบบเดิม ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคได้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ และเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดพลาสติกพีอีทีแบบสี คือข้อเสนอแนะสำคัญในรายงานการเร่งสร้างแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากบรรจุภัณฑ์ขวดพีอีทีหลังการบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับใหม่ อีกด้วย   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.