สรุป 4 ความรู้สำคัญจาก AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy - Amarin Academy

สรุป 4 ความรู้สำคัญจาก AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy

เริ่มแล้ว! สำหรับกิจกรรรมใหม่ AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy กิจกรรมสังสรรค์แบบเป็นกันเอง ของผู้ประกอบการร้านอาหาร เหล่าผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจอาหาร และงานดีไซน์ รวมถึงตัวแทนจากทีมงาน Amarin Academy ที่พร้อมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาปัญหากับกูรูอย่างใกล้ชิด แบบ Case by Case ซึ่งสำหรับการจัดในครั้งแรกนั้น ได้รับกระแสตอบรับดีเกินคาด

 

AA Sharing ครั้งที่1 

โดย Amarin Academy

AA Sharing  เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทาง Amarin Academy จัดขึ้น เพื่อต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจอาหาร และผู้ประกอบการได้มาพบปะ พูดคุยกัน และรับประทานอาหารร่วมกันในบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ซึ่งจะเป็นลักษณะกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เจ้าของร้านอาหารได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องราว ปรึกษาปัญหาที่ร้านกำลังประสบอยู่ รวมถึงขอคำแนะนำจากเหล่ากูรูแบบใกล้ชิด และเจาะลึกมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง และมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าของร้านไปในแต่ละครั้ง สำหรับในครั้งแรกนี้จะมีใครมาร่วมโต๊ะกับเราบ้าง และมีเนื้อหาอะไรบ้าง มาดูกันครับ

AA Sharing
ภาพบรรยากาศงาน AA Sharing

ผู้ร่วมกิจกรรม AA Sharing ครั้งที่ 1

  • อาจารย์ป๊อป ชิดชนก แก้วอัมพร วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ร้านอาหาร
  • คุณเกษม เกษมสันต์ สัตยารักษ์ General Manager ร้าน Copper International Buffet
  • คุณแวว เนตรนภา นราธัศจรรย์ เจ้าของร้าน Craftsman Roastery
  • คุณปิ๊ก สุภมาส คงวิวัฒนากุล เจ้าของร้าน กล่องแสนศุข
  • คุณป๊อป ฐิติพงศ์ เนตรพ่วง เจ้าของร้าน หม้อเบ้อเร่อ

 

โดยเนื้อหาในการพูดคุยในครั้งนี้ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นปัญหาที่แต่ละร้านกำลังเจอในแต่ละรูปแบบ เราสรุปเนื้อหาที่น่าสนใจไว้ดังนี้

 

1.ทำอย่างไรเมื่อร้านแบรนด์ดังมาเปิดข้างๆ

♦ ร้านหม้อเบ้อเร่อ ของคุณป๊อป ฐิติพงศ์ ซึ่งเป็นร้านชาบู ปิ้งย่างบุฟเฟต์ กำลังเผชิญกับปัญหา คือ มีร้านประเภทคล้ายๆกัน และเป็นแบรนด์ดัง กำลังจะเข้ามาเปิดสาขาใกล้ๆ ร้านของคุณป๊อป ทำให้มีความกังวลอย่างมากในเรื่องลูกค้าที่อาจลดน้อยลง

ซึ่งในเคสนี้ คุณเกษมสันต์ และอาจารย์ป๊อป ชิดชนก ก็ได้แนะนำแนวทางว่า อย่าเพิ่งมองคู่แข่งเป็นศัตรู แต่ให้เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า อย่าคิดว่าเขาจะมาแย่งลูกค้า แต่ให้มองว่า เขาอาจจะนำพาลูกค้าใหม่ๆ มาเพิ่มให้ร้านเราก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ เราต้องทำแบรนด์ของเราให้ชัดเจน เราเป็นสายจิ้มจุ่มแบบไทยๆ อีกร้านอาจจะไม่เหมือนแบบเราก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องยืดจุดแข็งของเรา ตัวตนของร้านเราให้แข็งแรง

และในบางครั้งเวลาที่เรามีคู่แข่ง เรามักพยายามที่จะจับผิดเขา แต่อยากให้คิดใหม่ แทนที่จะคอยจับผิด ควรหาข้อดีของเขา แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับร้านเราดีกว่า

 

2.บรรยากาศดี อาหารเยี่ยม แต่น้อยคนจะรู้จักร้าน

♦ ร้าน Craftsman Roastery ของคุณแวว เนตรนภา ซึ่งเป็นร้านที่เราใช้ทำกิจกรรมในครั้งนี้ ต้องบอกเลยว่าเป็นร้านที่มีความสวยงามและมีเรื่องราวที่น่าสนใจ Craftsman Roastery เป็นร้านคาเฟ่ ซึ่งตัวร้านเป็นอาคารเก่าที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เคยอาศัยอยู่จริงกว่า 8 ปี นอกจากจะเป็นคาเฟ่ที่มีกาแฟชั้นเลิศแล้ว ก็ยังมีเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ ร้านสวย กาแฟเลิศ บรรยากาศดี แต่ปัญหาของร้านนี้คือ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้เป็นที่รู้จัก และทำการตลาดออนไลน์น้อยมาก ทำให้น้อยคนที่จะได้เข้ามาสัมผัสร้านดีๆ แบบนี้

ซึ่งในเคสนี้ คุณเกษมสันต์ และอาจารย์ป๊อป ชิดชนก ก็ได้ให้คำแนะนำว่า ควรที่จะทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ประชาสัมพันธ์ร้านในช่องทางออนไลน์ต่าง เช่น Facebook Page หรือ Instagram และต้องทำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสำรวจว่ากลุ่มลูกค้าเรา คือกลุ่มไหน ซึ่งตัวร้านเองก็สามารถที่จะจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบศิลปะได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่วัยทำงานเท่านั้น และที่สำคัญคือ ก่อนที่จะทำการตลาด หรือโปรโมทร้านออกไป ควรเตรียมพร้อมกับระบบการจัดการหลังบ้านให้เรียบร้อยด้วย อาหารต้องดี เครื่องดื่มต้องดี Operation ต้องพร้อม เพราะหากยังไม่พร้อมแล้วลูกค้าหลั่งไหลมาจริง แทนที่จะได้ลูกค้าเพิ่ม อาจทำให้ต้องสูญเสียลูกค้าไป

AA Sharing
ภาพบรรยากาศงาน AA Sharing

 

3.จัดการกับขยะในร้าน ลดต้นทุนได้เป็นหมื่นต่อปี

♦ ร้าน กล่องแสนศุข ของคุณปิ๊ก สุภมาส จากจังหวัดชลบุรี ก็เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารตัวอย่างที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ก็ได้มาแชร์ถึงการให้ความสำคัญในการคัดแยกขยะจากร้านอาหารของตัวเอง เปิดร้านอาหารอร่อยแล้ว บริการดีแล้ว แต่ก็ไม่ลืมที่จะรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาสะโลลกร้อนด้วย

ร้านกล่องแสนศุข มีนโยบายในการลดจำนวนขยะลง เพราะรู้ดีว่าธุรกิจอาหารนั้น ก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก ซึ่งทางร้านได้มีการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการแยกขยะและเศษอาหารเพื่อนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งอยู่ด้านหลังร้าน รวมถึงการแยกขยะพลาสติก ขวดแก้ว กล่องกระดาษ เพื่อนำไปขายเป็นรายได้ของน้องๆ พนักงานต่อไป ซึ่งนโยบายนี้เห็นผลอย่างชัดเจน ทำให้จำนวนขยะของร้านลดลงจำนวนมาก จากจำนวนขยะนับสิบถุงต่อวัน เหลือเพียงแค่วันละ 2 ถุง และยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ต้องซื้อถุงขยะจำนวนมาก รวมถึงได้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากขยะ นำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ดีมากๆ ซึ่งเชื่อว่าร้านอื่นๆ คงอาจจะต้องเริ่มสนใจและเริ่มทำตามกันบ้างแน่นอน

AA Sharing

 

4. หลัก 4 ข้อในการทำธุรกิจของคุณเกษม

นอกจากนี้ คุณเกษมสันต์ ยังฝากทิ้งท้าย หลัก 4  ข้อในการทำธุรกิจ ไว้ด้วยว่า

  1. เราต้องดูตัวเองให้มากขึ้น งานที่เราได้รับมอบหมาย งานที่มอบหมายให้คนอื่นทำ งานถูกต้องไหม งานสำเร็จไหม ทุกอย่างมีอุปสรรคไหม นั่นคือการดูตัวเองให้มากขึ้น
  2. มองคนอื่นให้น้อยลง คือ ไม่ใช่คอยจับผิดคนอื่น แล้วก็เก็บมาเครียดเอง
  3. ให้ความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในการทำงานไม่ว่าจะเจอเพื่อนร่วมงานใหม่หรือเก่า อายุเท่าไหร่ หรือชนชาติไหน เราต้องให้เคารพและให้เกียรติกัน ถ้าเราเคารพคนอื่น คนอื่นก็จะเคารพเราเอง
  4. การให้อภัย งานคือปัญหา ในการทำงานเราต้องมีการถกเถียงกันบ้างในการทำงาน แต่เมื่อจบงานแล้ว เราต้องมีความให้อภัยกัน ก็จะสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้

 

>>> ติดตามข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ของ Amarin Academy ได้ที่

Website : Amarin Academy

Facebook Page :  Amarin Academy

 

เรื่องแนะนำ

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ” อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น . 1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ” . 2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น “ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย” “รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก” 3- ในขณะที่คนอื่น ๆ […]

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

มิชลินสตาร์

ประกาศผลร้านอาหาร มิชลินสตาร์ พร้อมเปิดตัว มิชลิน ไกด์ ฉบับกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา ปี 2020

เปิดตัวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับคู่มือมิชลิน ไกด์ ฉบับกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา ประจำปี 2020 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้ว พร้อมกันนี้ยังได้มีการประกาศร้านอาหารที่ได้รับรางวัล Michelin Star Revelation ( มิชลินสตาร์ ) อีกด้วย โดยในปีนี้ร้านที่ได้รับรางวัลมิชลิน 1 ดาว มีจำนวนทั้งหมด 24 ร้าน (เป็นร้านเดิม 20 ร้าน + ร้านใหม่ 4 ร้าน) และร้านที่ได้รับรางวัลมิชลิน 2 ดาว มีทั้งหมด 5 ร้าน (ร้านเดิม 3 ร้าน + ร้านใหม่ 2 ร้าน) มีรายชื่อร้านอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ   ร้านอาหาร มิชลินสตาร์ Michelin Star Revelation 2020 […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.