ดังกิ้น โดนัท ทุ่ม 10 ล้าน ลุย Food Truck เข้าหาลูกค้าถึงที่ - Amarin Academy

ดังกิ้น โดนัท ทุ่ม 10 ล้าน ลุย Food Truck เข้าหาลูกค้าถึงที่

การรอให้ลูกค้าเข้ามาหาอย่างเดียวนั้น คงจะใช้ไม่ได้แล้วในยุคนี้ ยุคที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจอาหารในบ้านเรา ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย เหล่าธุรกิจอาหารแบรนด์ใหญ่ ก็ใช่ว่าจะอยู่นิ่ง  ต้องวิ่งตามผู้บริโภคให้ทันอย่างเช่นแบรนด์โดนัทชื่อดัง ดังกิ้น โดนัท

 

ดังกิ้น โดนัท ทุ่ม 10 ล้าน ลุย Food Truck เข้าหาลูกค้าถึงที่

ล่าสุดดังกิ้น โดนัท แบรนด์โดนัทชื่อดังที่เราคุ้นเคย ก็ลุกขึ้นมาลุยทำการตลาดที่เข้าหาผู้บริโภคมากขึ้น และดังกิ้น เลือกที่จะทำ Food Truck หรือหน่วยรถขายโดนัท พร้อมเครื่องดื่ม ที่เปิดให้บริการนอกสถานที่ โดยรถคันนี้จะเข้าหาลูกถึงที่แบบใกล้ชิด เน้นเจาะตามชุมชนต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และคอมมูนิตี้มอลล์ ปัจจุบันเริ่มเปิดให้บริการแล้ว 2 สาขา คือ สาขาอิมแพค เมืองทองธานี และสาขาเดอะซีน ทาวน์อินทาวน์

การทำ Food Truck ในครั้งนี้ ของดังกิ้น ใช้งบลงทุนโดยเฉลี่ย ประมาณ 1 ล้านบาท ต่อ 1 คัน ซึ่งหลังจากที่ได้ทดลองเปิดให้บริการไปแล้ว 2 สาขา ก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดี ซึ่งคาดว่าอาจเป็นเพราะผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคในสมัยนี้ ที่ต้องการความสะดวกสบายเป็นอันดับต้นๆ ความรวดเร็ว ความแปลกใหม่ ดังนั้น เมื่อมีสินค้ามาหาถึงที่ ย่อมเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี รวมถึง การเข้าไปเจาะตามแหล่งที่เป็นชุมชน ซึ่งก็น่าจะตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ด้วย

และในปี 2563 ดังกิ้นมีแผนที่จะทุ่มเงินอีก 10 ล้าน เพื่อเพิ่มจำนวน Food Truck อีก 10 คัน และกำลังอยู่ในช่วงเตรียมแผนพัฒนาและหาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายสาขาเพิ่มขึ้นด้วย .

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ส่องแบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Single-use plastics

CRG ผุดแบรนด์ “ อร่อยดี ” เจาะตลาดสตรีทฟู้ด ทำรายได้แล้วกว่า 1.2 ล้านบาท/สาขา

4 เหตุผล ทำไม เนื้อจากพืช (plant-based meat) ถึงกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น

“ ไมเนอร์ ” ทุ่ม 2 พันล้าน ซื้อกิจการไก่ทอด “ บอนชอน ” ในไทย

 

เรื่องแนะนำ

เทรนด์ธุรกิจอาหาร

5 เทรนด์ธุรกิจอาหาร ในประเทศไทย ปี 2020 ที่ยังโตได้

ในปีหน้า 2020 ธุรกิจอาหารในประเทศไทย ยังไปต่อได้ไหม? ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่? เชื่อว่านี่คงเป็นคำถามที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหาร หรือแม้แต่ผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาในแวดวงธุรกิจอาหาร มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ ซึ่งข้อมูลจาก EUROMONITOR พบว่า ธุรกิจตลาดอาหารในประเทศไทยยังไปได้ดี แต่จะมี เทรนด์ธุรกิจอาหาร ประเภทใดที่จะไปต่อได้ในปี 2020 มาดูกัน   5 เทรนด์ธุรกิจอาหาร ในประเทศไทย ปี 2020 ที่ยังโตได้ อย่างที่กล่าวไปว่า ในปีหน้า หรือปี 2020 นั้น เหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร คงมีความกังวลอยู่ว่า แนวโน้มตลาดอาหารในประเทศไทยนั้น จะไปในทิศทางใด และจะมีโอกาสที่เติบโตมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งก็ได้มีข้อมูลจาก EUROMONITOR บริษัทชั้นนำด้านข้อมูลการตลาด เผยว่า ภาพรวมตลาดอาหารในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมานั้น มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบัน และในอนาคต พฤติกรรมของผู้บริโภคเองก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ผู้ประกอบการเอง ก็ควรที่จะทำความเข้าใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเช่นกัน เมื่อตลาดอาหารในประเทศไทยปีหน้า ยังไปต่อได้ แล้ว เทรนด์ธุรกิจอาหาร ประเภทใดที่ยังน่าสนใจ และต้องจับตาในปี 2020 มาดูกัน   […]

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ” อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น . 1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ” . 2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น “ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย” “รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก” 3- ในขณะที่คนอื่น ๆ […]

แฟรนไชส์

MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ

‘พาณิชย์’ ร่วมกับ SME Development Bank’ ลงนาม MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ ดัน Start Up เสริมแฟรนไชส์แกร่ง

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.