4 เหตุผล ทำไม เนื้อจากพืช (plant-based meat) ถึงเป็นที่นิยมมากขึ้น - Amarin Academy

4 เหตุผล ทำไม เนื้อจากพืช (plant-based meat) ถึงกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น

Plant-based Meat หรือเนื้อจากพืช คือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช 95% โดยใช้กระบวนการแปรรูปพืช ให้มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ทั้งผิวสัมผัสและรสชาติ ใช้ส่วนผสมของพืชและโปรตีนจากถั่วชนิดต่างๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าว น้ำมันทานตะวัน  มาผ่านขั้นตอนต่างๆเพื่อให้มีสีสัน ความชุ่มฉ่ำ และรสชาติเสมือนเนื้อมากที่สุด นับเป็นเทรนด์การรับประทานอาหารแนวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในต่างประเทศ

 

ความนิยม Plant-based Meat หรือ เนื้อจากพืช

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ อุตสาหกรรมเนื้อปรุงแต่งจากพืชกลายเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และอิสราเอล หรือมีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจประเภทนี้มากขึ้น ทำให้การแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตมีแต่ลดลง จนใกล้เคียงกับราคาเนื้อสัตว์แท้

จากข้อมูลของ Euromonitor พบว่าในสหรัฐอเมริกา ยอดขายอาหารสำเร็จรูปของ เนื้อจากพืช ขยายตัวต่อเนื่อง ระหว่างปี 2013 – 2018 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 15.4% เทียบกับเนื้อแปรรูป (Processed Meat) ที่เติบโตปีละ 1.2%  ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ NPD Group ผู้ประกอบการในสหรัฐอเมริกาที่ขายเบอร์เกอร์และแซนด์วิชเนื้อที่ทำจากพืช ก็พบว่ายอดขายระหว่างเมษายน 2018 – มีนาคม 2019 เพิ่มขึ้นถึง 7.8% ซึ่งมากสุดเป็นประวัติการณ์

ผู้เล่นใหญ่ในตลาดนี้ ก็คือ Beyond Meat ซึ่งมีการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมในซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าต่างๆ  มีการขายปลีกด้วย และมีการเป็นพาร์ทเนอร์กับเชนร้านอาหารรายใหญ่ๆ ในการออกเมนูด้วยสินค้าของ Beyond Meat ด้วย

และอีกหนึ่งคู่แข่งสำคัญ ก็คือ Impossible Foods ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับ Burger King ในการจำหน่ายเมนู Impossible Whopper หรือเบอร์เกอร์ที่ทำมาจากเนื้อไร้เนื้อ ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดีมาก

รวมถึงยังมีผู้เล่นรายอื่นๆ เข้ามาร่วมอีก อย่างเนสท์เล่ ก็ได้เปิดตัว “Incredible Burger” ขึ้นในยุโรปเมื่อเดือนเมษายน โดยผสมผสานถั่วเหลือง ข้าวสาลี สารสกัดจากบีทรูทและพืชอาหารอื่นๆ เนสท์เล่วางแผนจะเสนอเมนู “Sweet Earth” เบอร์เกอร์ผักที่ทำจากถั่วตามภัตตาคารจานด่วนในสหรัฐอเมริกา และบริษัทยูนิลีเวอร์ ปีที่ผ่านมาก็ได้นำเสนอร้านขายเนื้อเทียมที่ทำจากผัก โดยประกาศว่าจะเป็นเนื้อเทียมรายใหญ่สุดของโลกด้วยเช่นกัน

สำหรับในไทยนั้น ตอนนี้ร้านอาหารเชนใหญ่อย่าง Sizzler ก็ได้นำวัตถุดิบที่เนื้อจากพืช มาพัฒนาเป็นเมนูใหม่ถึง 4 เมนู และเริ่มวางจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว 

 

เนื้อจากพืช
Plant-based Meat

สังเกตได้ว่า กระแสความนิยมของการผลิตเนื้อจากพืช มีมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีหลายองค์กรใหญ่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ และดูเหมือนว่ากำลังจะกลายเป็นอาหารแห่งอนาคตไปแล้ว อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เนื้อจากพืช มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ

 

4 เหตุผล ที่ทำให้ Plant-based Meat หรือ เนื้อจากพืช ได้รับความนิยมมากขึ้น

เหตุผลที่ 1  ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ผู้บริโภคในยุคใหม่ เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเชื่อว่าการรับประทานพืชผักมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อที่ผ่านการแปรรูปหรือปรุงแต่ง เช่น ไส้กรอก แฮมต่างๆ อย่างที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เคยออกมาระบุว่า เนื้อแปรรูปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งได้ ทำให้คนรักสุขภาพหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือเนื้อแปรรูปโดยเฉพาะอาหารประเภทฟาสท์ฟู้ด ทำให้เนื้อจากพืช จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเนื้อจากพืชยังให้สารอาหาร เช่น โปรตีนแก่ร่างกายครบถ้วนด้วย

 

เหตุผลที่ 2 ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช พัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น

ผู้ผลิตมีการแข่งกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอเมนูใหม่ๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช มีความหลากหลาย น่าทดลองทาน  การที่ผู้เล่นในตลาดอาหารหลายรายบรรจุเมนูอาหารที่ทำจากพืชเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค สะท้อนความนิยมในอาหารประเภทนี้ว่ามีอยู่จริง ผู้เล่นบางรายถึงกับเทียบคุณค่าทางโภชนาการระหว่างผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จริง กับผลิตภัณฑ์เนื้อที่ทำจากพืชที่ออกใหม่ ว่าเนื้อที่ทำจากพืชดีหรือไม่ด้อยกว่าอย่างไร

 

เหตุผลที่ 3 ผู้บริโภคเปิดใจมากขึ้น

ในช่วงแรกนั้น เนื้อจากพืช ยังดูเป็นสิ่งใหม่และแปลกในสายตาของผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องยากที่จะกล้าลอง แต่ผู้บริโภคในปัจจุบันหรือคนรุ่นใหม่กล้าที่จะลองมากขึ้น และยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อประสบการณ์ให้ตัวเอง

จากผลสำรวจของ เว็บไซต์ Forbes เผยแพร่รายงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมบางชิ้นพบว่า ภายในปี 2050 เนื้อที่ทำจากพืชอาจกินส่วนแบ่งถึง 50% ของตลาดเนื้อสัตว์จริง

 

เหตุผลที่ 4  ผู้บริโภคในปัจจุบันจำนวนมากสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม

เนื้อจากพืช เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร รู้หรือไม่ ว่าโลกเราใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารถึง 77% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด แต่ได้ผลผลิตคิดเป็นเพียง 17% ของอาหารที่มนุษย์บริโภคเท่านั้น การผลิตเนื้อที่ทำจากพืชใช้ที่ดินน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง 47% – 99% ใช้น้ำน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง 72% – 99% เรียกว่าโดยรวมการผลิตเนื้อที่ทำจากพืชสิ้นเปลืองทรัพยากรการผลิตน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริงมาก

การผลิตและบริโภคเนื้อจากพืชยังช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย ซึ่งปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกผลิตขึ้นในโลกนี้ ราวหนึ่งในสี่มาจากอาหาร และปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มาจากอาหารเกิดจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์มากถึง 58% (โดยเฉพาะวัวและแกะ) กระบวนการผลิตเนื้อจากพืชปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์จริง 30%-90% นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า การบริโภคเนื้อจากพืช จะช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย

 

การบริโภคเนื้อจากพืช อาจไม่ใช่กระแสแค่ชั่วคราว หากแต่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เนื้อจากพืชมีจุดเด่นหลายเรื่อง ทั้งเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ให้คุณค่าทางโภชนาการไม่ด้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง ดังนั้น ผู้ผลิตควรใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว

 

 

ขอบคุณภาพ Beyond Meat / A Cuisine

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ส่องแบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Single-use plastics

ร้านอาหาร กับ บริการเดลิเวอรี่ วางสมดุลไม่ดี ร้านขาดทุนได้

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

เปิดตัว Grab Kitchen ครั้งแรกในไทย รวม 12 ร้านเด็ดไว้ที่เดียว ประเดิมที่แรกสามย่าน

ถอดบทเรียน “ หม้อเบ้อเร่อ “ พลิกวิกฤติร้านเกือบเจ๊ง ให้กลับมาอยู่รอดอีกครั้ง

กรณีศึกษา Copper Buffet รับมือกับปัญหาที่ไม่คาดคิดอย่างไร ให้ชนะใจลูกค้า

ประกาศผลร้านอาหาร มิชลินสตาร์ พร้อมเปิดตัว มิชลิน ไกด์ ฉบับกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา ปี 2020

 

เรื่องแนะนำ

ผ่านวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน กับเทคนิคปรับตัวของร้านอาหารในช่วงวิกฤติ COVID-19 จาก Penguin Eat Shabu

Penguin Eat Shabu ในสถานการณ์ที่อะไรๆ ก็ดูไม่เป็นใจ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความเศร้าปกคลุม จะดีกว่าไหม ถ้าเรามาเติมไฟในตัวให้ลุกโชนด้วยการนั่งดูสาระดีๆ เก็บความรู้ไปต่อยอด สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารผ่าน LIVE บนช่องทาง LINE Official Account : LINE for Business กันดีกว่าครับ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ผมได้นั่งฟัง “คุณต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu” พูดคุยถึงเรื่อง ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรในช่วง COVID-19? พร้อมคุณโซอี้-ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ LINE Certified Coach ที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมในการใช้ LINE เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างน่าสนใจมาก ผมเลยนำประเด็นมาสรุปและเรียบเรียงออกมาให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ Penguin Eat Shabu ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น ร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูขวัญใจทั้งวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ที่มาพร้อมกับสโลแกนน่ารักๆ ว่า “ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น” […]

อย่าพลาดเทรนด์ โฆษณาด้วย ASMR ทำให้ผู้บริโภคประทับใจกว่า!!

        หนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ คือคลิปวิดีโอ ASMR ที่มีผู้สนใจทั่วโลก เทรนด์ ASMR นี้คืออะไร? และ โฆษณาด้วย ASMR จะช่วยทำการตลาดให้ผู้บริโภคประทับใจและจดจำแบรนด์ได้ดีขึ้นอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้ครับ  โฆษณาด้วย ASMR ทำให้ผู้บริโภคประทับใจกว่า!! ASMR คืออะไร?         คำว่า “ASMR” ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response หรือการตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติ โดยใช้ภาพและเสียงเป็นสิ่งกระตุ้นให้สมองเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เหมือนได้รับการนวด เช่น การดูภาพที่มีการเคลื่อนไหวช้าๆ เป็นจังหวะ หรือเสียงกระซิบใส่ไมโครโฟน เสียงเคี้ยวอาหาร เสียงแคะหู เสียงเคาะสัมผัสสิ่งของ หรือเสียงที่ดังเป็นจังหวะซ้ำๆ โดยต้องใช้ไมโครโฟนพิเศษที่สามารถเก็บเสียงแผ่วเบาได้แบบแยกลำโพงฝั่งซ้ายขวา   ทำไมเทรนด์ ASMR ถึงเป็นที่นิยม?         ASMR ไม่ใช่เรื่องใหม่สักเท่าไหร่ แต่เริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นช่วงหลายปีมานี้ โดยเราจะเห็นคลิปการทำ […]

ขยะพลาสติก

ส่องแบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Single-use plastics

วิกฤตปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก กำลังส่งผลร้ายอย่างมากมายกับโลกของเรา เห็นได้จากข่าวต่างๆที่ผ่านมา เปิดปัญหากับสัตว์ต่างๆ และธรรมชาติอย่างร้ายแรง ทำให้ที่ผ่านมาหลายหน่วยงาน หลายองค์กรทั่วโลก เริ่มหันมาให้ความสำคัญ และตื่นตัวกับปัญหานี้มากขึ้น รวมถึงแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทั่วโลก ซึ่งเป็นธุรกิจที่นับว่ามีปริมาณการใช้ ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง (Single-use plastics) เป็นจำนวนมาก ก็เริ่มรณรงค์และหาทางออกในเรื่องนี้  เรามาดูกันว่ามีแบรนด์ใดบ้าง   แบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Starbucks แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ประกาศเลิกใช้หลอดพลาสติกใช้แล้วแบบ Single Use ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ของ Starbucks เพื่อให้แบรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากใช้หลอดที่ทำจากวัสดุดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างกระดาษ หรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทดแทนแล้ว ในปัจจุบัน Starbucks ยังออกแบบฝาปิดแก้วสำหรับเครื่องดื่มเย็นบางชนิดให้สามารถยกดื่มได้ง่ายแบบไม่ต้องใช้หลอด โดยเริ่มใช้ในหลายๆ สาขาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งหากสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้สำเร็จ Starbucks จะสามารถกำจัดหลอดพลาสติกไปได้กว่า 1,000 ล้านชิ้น/ปี เลยทีเดียว *ข้อมูลจาก Ocean Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลปกป้องมหาสมุทรพบว่า ตลอด 30 […]

ชานมไข่มุก

ชานมไข่มุก มาแรง! ลิปตัน ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวไอศกรีมรสใหม่ “ชานมลิปตันไข่มุก”

กระแส ชานมไข่มุก ยังมาแรงดีไม่มีตก ล่าสุด ลิปตัน บริษัทเครื่องดื่มชาชื่อดัง เปิดตัว “ชานมลิปตันไข่มุก” (Lipton Ice Tea Tapioka Milk Tea) ที่ประเทศญี่ปุ่น ชานมไข่มุก มาแรง! ลิปตัน ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวไอศกรีมรสใหม่ “ชานมลิปตันไข่มุก” เรียกว่าตลาด ชานมไข่มุก ในปัจจุบัน ยังคงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามอง เพราะยังคงมีกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการชานมไข่มุกรายเดิมก็ไม่หยุดที่สร้างสรรค์เมนู หาความแปลกใหม่ให้กับแบรนด์ของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ทำให้มีผู้เล่นรายใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ และมากันในหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดแบรนด์เครื่องดื่มชาชื่อดังอย่าง Lipton ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหม่ที่ตามเทรนด์กระแสชานมไข่มุก ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่ “ชานมลิปตันไข่มุก” (Lipton Ice Tea Tapioka Milk Tea) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง Lipton และ บริษัทผู้ผลิตไอศกรีมชื่อดังอย่างการิการิคุง (gari gari kun) เพื่อให้ได้ไอศกรีมชานมไข่มุกที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ไข่มุกยังมีความนุ่มหนึบ แม้จะถูกแช่แข็งขนาดไหนก็ตาม ปัจจุบันเริ่มวางขายในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนราคาอยู่ที่แท่งละ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.