ร้านอาหาร กับ บริการเดลิเวอรี่ วางสมดุลไม่ดี ร้านขาดทุนได้ - Amarin Academy

ร้านอาหาร กับ บริการเดลิเวอรี่ วางสมดุลไม่ดี ร้านขาดทุนได้

บริการเดลิเวอรี่ ก็เป็นส่วนสำคัญที่คนทำร้านอาหารควรมี เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้ แต่สงสัยหรือไม่ว่า บางร้านยอดเดลิเวอรี่ดี แต่ขาดทุน และบางรายเสียลูกค้าประจำไป เป็นเพราะสาเหตุอะไร  

 

ร้านอาหาร กับ บริการเดลิเวอรี่

วางสมดุลไม่ดี ร้านขาดทุนได้

 

การทำธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ามีการแข่งขันกันสูงขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นต่างๆ การทำการตลาดในหลายช่องทาง รวมถึง บริการเดลิเวอรี่ ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงในกลุ่มของลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบาย ซึ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าร้านอาหารก็ควรมีบริการนี้เพื่อให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย

แต่ถ้าเจ้าของร้านวางสมดุลระหว่างหน้าร้าน และบริการเดลิเวอรี่ไม่ดี ก็อาจจะทำให้ร้านคุณขาดทุน และสูญเสียลูกค้าได้เช่นกัน แล้วเจ้าของร้านอาหารควรทำอย่างไร มาฟังมุมมองจาก คุณธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food B.V. Amsterdam Netherland ที่จะมาให้ความคิดเห็นกับเรื่องนี้กันค่ะ

 

ปัญหาการแข่งขันในตลาด เดลิเวอรี่

จากประสบการณ์การทำร้านอาหาร ทั้งในประเทศไทย และร้านอาหารในต่างประเทศ คุณธามม์ ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ที่ผ่านมาเกือบตลอดทั้งปี จะเห็นได้ว่าการให้บริการแบบเดลิเวอรี่ กำลังมาแรงมากในการทำธุรกิจอาหารในประเทศไทย ร้านอาหารให้ความสนใจในบริการนี้ เพราะตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบัน ทำให้เกิดการแข่งขันในเรื่องตลาดเดลิเวอรี่ ค่อนข้างสูง มีตัวเลือกที่มากขึ้น หลายร้านพยายามหากลยุทธ์ในการส่งฟรี เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่กับร้านเราให้ได้

 

ต้นทุนร้านอาหารเพิ่มจาก บริการเดลิเวอรี่

เดลิเวอรี่ เป็นบริการที่ดี ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ซึ่งหากร้านอาหารร้านใด มีบริการเดลิเวอรี่ด้วย ก็เป็นผลดีกับร้านส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าเลือกซื้ออาหารจากร้านคุณ แต่หากมองลึกลงไปกว่านั้น ในมุมเจ้าของร้านอาหาร ก็นับว่าเป็นปัญหาของคนทำร้านอาหารอีกอย่างหนึ่งก็ว่าได้ แล้วเป็นปัญหาได้อย่างไร?

ในอดีตผู้ประกอบการร้านอาหาร จะเป็นคนส่งอาหารเอง ต่อมาก็มีการพัฒนาเรื่องการรับส่ง โดยมีบริการรับส่งอาหารจาก Grab / Uber / Lineman ฯลฯ ซึ่งบริการเหล่านี้บางรายจะมีการคิดค่าบริการจากเจ้าของธุรกิจร้านอาหารด้วย

นั่นทำให้เกิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องจ่ายเพิ่ม โดยบริการเดลิเวอรี่แต่ละที่ ก็มีการเรียกเก็บค่าบริการในราคาที่แตกต่างกันไป ซึ่งถือเป็นต้นทุนร้านอาหารทั้งสิ้น

 

หาสมดุลระหว่างร้านอาหาร และบริการเดลิเวอรี่

อย่างที่กล่าวมา เมื่อมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เจ้าของร้านต้องหาจุดสมดุลระหว่างหน้าร้าน และบริการเดลิเวอรี่ให้ได้ ลองสมมติเล่นๆว่า ถ้าต้นทุนเป็น 100% แล้วต้องจ่ายให้เดลิเวอรี่ประมาณ 30% เหลือ 70%  เป็นต้นทุนอาหาร 30% ค่าเช่า 20% เราจะเหลือ 20% ยังไม่รวมเงินเดือน ถ้าเงินเดือน 15% เราเหลือ 5% เพราะฉะนั้นอยากจะให้ตระหนักตรงนี้ เพราะถ้าร้านเราเปิดร้านมา มีที่นั่งหน้าร้าน แล้วรายได้ส่วนใหญ่มาจากเดลิเวอรี่ อันนี้น่าห่วง นอกจากร้านเราทำเดลิเวอรี่อย่างเดียวอันนั้นโอเค

แต่ยังทำหน้าร้านอยู่ อยากไฮไลท์เลยว่า ให้เจ้าของร้านระมัดระวัง หาจุดสมดุลว่ายอดขายเดลิเวอรี่ จากthird party บริษัทรับส่งอาหาร ที่เราต้องเสียให้เขา ควรมีสัดส่วนเท่าไหร่ ต้องจำกัดให้ชัดเจน

และที่สำคัญเจ้าของร้านต้องให้ความสำคัญกับคนที่ตั้งใจมานั่งทานที่ร้านด้วย มิเช่นนั้น มีออเดอร์เดลิเวอรี่มาเป็นจำนวนมาก อาจกระทบกับลูกค้าหน้าร้านได้ ทำให้อาหารออกล่าช้า และอาจจะสูญเสียลูกค้ประจำไปในที่สุด

 

กระแสเดลิเวอรี่ ในอนาคต

สำหรับกระแสเดลิเวอรี่ในประเทศไทยตอนนี้ ยังคงเป็นที่นิยมอยู่อย่างมาก แต่คุณธามม์เผยว่า ในต่างประเทศอย่างเช่นสิงคโปร์นั้น ตอนนี้กระแสเริ่มลดลงแล้ว เพราะผู้ประกอบการบางรายก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ เนื่องจากแบ่งสัดส่วนต้นทุนค่าบริการเดลิเวอรี่ไม่สมดุล อย่างที่กล่าวไป ทำให้หลายๆร้าน ยอดเดลิเวอรี่ดี แต่ร้านเจ๊ง นอกจากว่าร้านของคุณมีรายได้จากเดลิเวอรี่เกิน 60% ก็สามารถเปิดเดลิเวอรี่สโตร์อย่างเดียวได้ เช่น พิซซ่าฮัทบางสาขาที่มีเดลิเวอรี่อย่างเดียว ก็เป็นการลดต้นทุน ทำเป็นร้านเล็กๆ ใช้พนักงานน้อยลง จ่ายให้กับ third party ผู้ให้บริการรับส่งอาหารได้เต็มที่ หรือบางร้านที่ออเดอร์เดลิเวอรี่เยอะ ก็สามารถทำเป็นครัวกลาง (Cloud Kitchen) ก็จะช่วยในเรื่องการจัดการอาหารได้ดีขึ้น

 

เรียกว่าเป็นสิ่งท้าทาย ที่เจ้าของร้านอาหารต้องหาจุดสมดุลให้ได้ การตลาดที่ดี คือการบริหารจัดการหน้าร้านให้ดี สร้างความประทับใจให้ลูกค้า การบอกปากต่อปากสำคัญมาก การทำกิจกรรมการตลาดเป็นสิ่งที่ดี  แต่ต้องเลือกใช้ให้ถูกที่ ทำอย่างไรให้ลูกค้ามาแล้ว ต้องกลับมาอีกนั่นเอง

 

เรื่องแนะนำ

Company

ใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ มีกี่ขั้นตอน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

อาจจะถึงเวลาแล้วที่ผู้อ่านจะต้องเริ่มคิดถึงการ จดทะเบียนบริษัท เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หากเริ่มลองทำธุรกิจมาสักพักแล้วถึงจุดหนึ่งที่รายได้สูงพอสมควร การจ่ายภาษีในฐานะบุคคลธรรมดาอาจจะทำให้คุณเสียเปรียบได้ เพราะเป็นการจ่ายภาษีแบบขั้นบันได แต่เมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว อัตราภาษีจะคงที่อยู่ที 20% ในบทความนี้เราเลยรวบรวมเกี่ยวกับการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีทั้งหมดกี่ขั้นตอน และต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรไว้บ้าง? 1.ตั้งชื่อบริษัทสำหรับใช้ยื่นจดทะเบียนบริษัท ก่อนอื่นก็ต้องเข้าไปตรวจสอบในฐานข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในไทยของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนว่าชื่อบริษัทที่คุณต้องการนั้นไม่ได้ซ้ำกับบริษัทอื่น แต่ก่อนที่จะใช้งานได้ต้องลงทะเบียนบนเว็บไซต์ก่อนและหากพบว่าชื่อที่ตั้งใจจะใช้ไม่ได้ซ้ำกับใครแล้ว ก็ทำเรื่องจองชื่อบริษัทที่ต้องการและมองหาบริการรับจดทะเบียนบริษัทได้เลย 2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนที่จะจ้างบริการรับจดทะเบียนบริษัท หลังจากได้รับการรับรองชื่อบริษัทแล้ว ภายใน 30 วันต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ไว้ให้พร้อม ชื่อบริษัท ตำแหน่งที่ตั้งบริษัท วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท จำนวนของทุนจดทะเบียน ชื่อ อายุ ที่อยู่ พร้อมจำนวนของกรรมการและพยาน 2 คน จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วอย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน ชื่อผู้ตรวจสอบบัญชี พร้อมเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และค่าตอบแทน ชื่อ อายุ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้นและรายละเอียดจํานวนหุ้นของแต่ละคน 3.เตรียมเอกสารสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท แบบจองชื่อนิติบุคคลในข้อแรก สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท รวมทั้งของกรรมการทุกคน หลักฐานการรับชําระค่าหุ้น แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของบริษัท 4.เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสาร หลังจากที่ได้รับอนุมัติข้อมูลจากฝ่ายทะเบียน ให้เซ็นรับรองเอกสารให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมยื่นสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ในขั้นตอนนี้อาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากนายทะเบียนตามแต่การพิจารณา 5.ยื่นคำขอให้ได้รับจดทะเบียนบริษัทที่สำนักงานของกรมธุรกิจการค้าใกล้บ้าน เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนบริษัทและออกใบรับรองให้ไว้เป็นหลักฐาน […]

น้ำแข็ง

“น้ำแข็ง” วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม

        เครื่องดื่มอร่อยๆ ก็ต้องคู่กับ น้ำแข็ง เย็นๆ ชื่นใจ แต่ใครจะไปคิดว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อย่าปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้ร้านอาหารของคุณต้องมีเครื่องดื่มที่ไม่ได้คุณภาพ!         แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า น้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้  น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ –  น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส –  น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น  น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ น้ำแข็ง ประเภทไหน เหมาะกับเครื่องดื่มอะไรบ้าง?         […]

เจ๊จง หมูทอด

ถอดบทเรียน เจ๊จง หมูทอด ร้อยล้าน !

เจ๊จง หมูทอด เป็นร้านอาหารไม่กี่แห่งที่ขายดีมากอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีโอกาสคุยกับเจ๊จง เลยอดไม่ได้ที่จะชวนคุยถึงข้อคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

เทคนิคเรียกลูกค้า

เทคนิคเรียกลูกค้า (ที่ไลก์เพจ) ให้เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหาร

จะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่กดไลก์เพจ เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณกำลังกังวลใจกับเรื่องนี้อยู่ ลองนำเอา 5 เทคนิคเรียกลูกค้า นี้ไปปรับใช้กัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.