เตรียมความพร้อม ช่วยร้านช่วงพีคไทม์ ทำอย่างไรให้ร้านอาหารขายให้ได้มากที่สุด

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง

การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง

ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี

 

อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn

ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้

 

เตรียมอาหารให้พร้อม

มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ อีก เกิดจากปัญหาด้านการเตรียมความพร้อมวัตถุดิบแทบทั้งสิ้น การ Pre cook บางเมนู เพื่อลดระยะเวลาการปรุง รวมถึงการประสานความพร้อมในส่วนของครัวกับพนักงานรับออเดอร์จะช่วยให้คุณสามารถเชียร์ขายเมนูที่ทำได้เร็ว มีวัตถุดิบเพียงพอ จะช่วยให้การบริหารจัดการในช่วงเวลาพีคไทม์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

วางแผนจากข้อมูลใน POS

ข้อมูล POS เก็บบันทึกช่วงเวลาที่ลูกค้าเข้าร้านมากที่สุด สถิติในการใช้เวลาต่อลูกค้า 1 บิล เมนูอาหารที่สั่งในแต่ละช่วงเวลา ช่วยให้เจ้าของร้านอาหารสามารถนำข้อมูลที่เกิดจากการใช้บริการจริงของลูกค้า มาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทั้งการบริหารจัดการ และการออกแบบโปรโมชั่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้ายังสามารถนำมาออกแบบการจัดเมนูตามช่วงเวลา จะดีต่อการการบริหารจัดการหน้าร้าน เตรียมความพร้อมในการขายเมนูง่าย ๆ เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า และสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ตามช่วงเวลา

 

ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย

เทคโนโลยีต่าง ๆ ช่วยให้การบริหารจัดการได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์การจัดคิว การจองคิว และสั่งล่วงหน้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น หรืออุปกรณ์สั่งอาหารหน้าร้าน ช่วยลดขั้นตอนในการรับบริการ ลดงานพนักงานหน้าร้าน ลดความผิดพลาดด้านการจัดคิว หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากการจัดการหน้าร้านที่ไม่มีประสิทธิภาพ การจัดคิวล่วงหน้ายังช่วยให้ร้านจัดเตรียมอาหารไว้ก่อน ช่วยลดเวลารอ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเพื่อวางแผนการเดินทาง การรู้ระยะเวลาในการรอทำให้ลูกค้ารู้สึกดีมากกว่า เป็นการสร้างประสบการณ์ในการรับบริการที่ดีกว่า ข้อระวังก็คือ การจัดการคิวที่เหมาะสมระหว่างลูกค้าที่จองคิวล่วงหน้ากับลูกค้า Walk in เพื่อให้ลูกค้าทุกคนเกิดความรู้สึกในด้านดีกับร้านอาหารของคุณ

 

วางแผนพื้นที่นั่ง และออกแบบบริการ

การจัดวางแผนผังร้านอาหารยังช่วยให้การบริหารจัดการร้านทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ครัว การจัดวางอุปกรณ์ ตู้เย็นเก็บวัตถุดิบ ให้ทีมงานทำงานได้อย่างสะดวกในพื้นที่ใกล้ ๆ หรือพื้นที่เดียว

การจัดที่นั่งภายในร้านอาหารยังมีส่วนช่วยให้คุณสามารถรองรับลูกค้าได้มาก เช่น โต๊ะที่สามารถแยกออกจากกันได้ เพื่อให้รับได้ทั้งลูกค้ากลุ่ม และลูกค้าที่มาคู่ นอกจากนั้นปัจจุบัน การจัดให้มีบาร์สำหรับรับประทานคนเดียวเป็นไอเดียที่น่าสนใจ เพราะช่วยให้คุณทำรอบร้านได้เร็วขึ้น และยังสอดคล้องกับพฤติกรรมการกินอาหารของคนในปัจจุบันที่ชอบมากินอาหารที่ร้านคนเดียวได้อีกด้วย นอกจากนี้ควรออกแบบขั้นตอนการบริการ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งออเดอร์ การคิดเงินให้กระชับ รัดกุม ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการได้เช่นกัน

 

จะเห็นได้ว่าเป้าหมายในการบริหารจัดการร้านช่วงพีคไทม์ มีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ ๆ ก็คือ การสร้างยอดขายให้มากที่สุด และลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อวางแผนไว้อย่างดีแล้ว ควรมีการเก็บบันทึกและวัดผล เพื่อจะสามารถแก้ไขจุดผิดพลาด จะส่งผลต่อยอดขายในท้ายที่สุด

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

 

เรื่องแนะนำ

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!!

สมัยนี้คนที่อยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง หรือลงทุนอะไรเพิ่มเลยด้วยซ้ำ ด้วย “Ghost.Kitchen” หรือร้านอาหารที่มองไม่เห็น ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี ลองมาดูความเป็นมาและข้อดีข้อเสียของโมเดลร้านอาหารนี้กันครับ “Ghost Kitchen” ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ที่มาของครัวที่มองไม่เห็น “Ghost.Kitchen”  “Ghost.Kitchen” ก็คือการเปิด “ร้านอาหารที่มีแต่ครัว” โดยไม่ต้องเปิดขายหน้าร้าน แต่เน้นรับออเดอร์อาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่เท่านั้น โดยเจ้าของร้านเหล่านี้อาจจะขายอาหารได้แม้จะอยู่ภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียมที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็กภายในตัวเมือง แค่เชื่อมต่อร้านกับแอปลิเคชันเดลิเวอรีต่างๆ หรือรับออเดอร์ผ่านโซเชียลมีเดีย ถ้าใครสะดวกก็จัดส่งเองได้เลย หรือบางคนก็ใช้วิธีจัดส่งเป็นรอบๆ ในพื้นที่บริเวณที่กำหนด เทรนด์อาหารเดลิเวอรี่กับการเติบโตของ Ghost.Kitchen สถิติจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่มีเติบโตขึ้นราวปีละ 10% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวของร้านอาหารทั่วไปที่โตแค่ 3-4% ต่อปี สอดคล้องกับการโตของธุรกิจ Ghost.Kitchen โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิดที่กระตุ้นให้การเกิดเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นไปอีก จะเห็นได้ว่าแม้แต่คนรอบตัวของเรา ก็หันมาขายอาหารผ่าน application หรือออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ก็มีการแชร์ครัวประเภทนี้ร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงทุนทำครัวของแต่ละร้านเอง ตัวอย่างเช่น Grab Kitchen ที่รวมเอาร้านอาหารยอดนิยม 12 ร้าน […]

5 ปัญหาร้านอาหาร ยอดฮิต ที่เจ้าของมักเจอ

ปัญหากับร้านอาหารเป็นของคู่กัน ยิ่งช่วงเปิดร้านแรกๆ อาจต้องแก้ปัญหาเป็นรายวัน วันนี้เราจึงขอรวบรวม ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมักเจอมาแชร์ให้ทุกคนทราบกัน

กำไร เพิ่ม

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

ร้านอาหาร ส่วนใหญ่ มักโฟกัสที่การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ แต่กว่าจะลดได้ก็หืดขึ้นคอ ขณะที่การลดการจ้างพนักงานประจำ กำไร เพิ่ม ปีละแสน โดยไม่ต้องเหนื่อยเพิ่ม

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.