- Amarin Academy

 

หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า

 

ประเมินสถานการณ์

วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน

นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน

 

มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด

การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด

 

ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ

ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด จะช่วยให้พนักงานของคุณบริการลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  โดยผู้ที่รับตำแหน่งโฮสจะต้องเก่งในการบริหารจัดการโต๊ะอาหาร ให้ลูกค้ารู้สึกว่ายังได้รับความสะดวกสบาย

 

หาโจ๊กเกอร์

โจ๊กเกอร์ คือพนักงานที่สามารถช่วยอุดช่องว่างให้กับการบริหารจัดการร้านอาหารให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัวได้  โดยจะต้องเป็นคนที่รู้ลำดับขั้นตอนการทำงานทุกอย่าง มีความรวดเร็ว และแก้สถานการณ์เก่ง คุณอาจจะมีโจ๊กเกอร์ประจำในส่วนครัว สามารถช่วยเติมของที่ขาด ช่วยจัดเตรียมอาหารได้อย่างรวดเร็ว หรือเป็น food runner ที่สามารถช่วยเสิร์ฟ ดูแลลูกค้าได้ในทุกโซนได้อย่างคล่องตัว สามารถสลับตำแหน่งการทำงานแต่ละจุดได้อย่างเหมาะสม

 

SOP (Standard Operation Procedures) ช่วยได้เสมอ

แม้ว่าลูกค้าจะเยอะแค่ไหน แต่รสชาติต้องไม่ตก รวมถึงลำดับขั้นตอนในการบริการต้องคงมาตรฐานเดิม  SOP (Standard Operation Procedures) คือการลงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานในแต่ละส่วนที่ช่วยให้พนักงานในส่วนที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานตามนั้น  เช่น ขั้นตอนการให้บริการลูกค้า ขั้นตอนการปรุงในแต่ละเมนู  ซึ่งจะช่วยคุมคุณภาพอาหารและบริการให้ได้มาตรฐาน สามารถช่วยให้ทีมงานร้านอาหารแต่ละส่วนสามารถวางแผนการทำงานร่วมกันได้ รวมถึงง่ายต่อการที่พนักงานทดแทนเข้ามาทำงานได้ทันทีโดยเสียเวลาในการเทรนน้อยที่สุด

 

การสื่อสารกับลูกค้า  

แม้ว่าสถานการณ์ไม่พร้อม แต่คุณเป็นมืออาชีพในการให้บริการได้ การสื่อสารกับลูกค้าตรง ๆ ให้รับรู้สถานการณ์ เพื่อที่ลูกค้าจะได้ตัดสินใจที่จะรับบริการหรือไม่ตามความสะดวกของตัวเองตั้งแต่ทีแรก จะช่วยลดความคาดหวังในการรับบริการลง

นอกจากนี้ พนักงานรับออเดอร์ควรช่วยแนะนำเมนูที่สามารถทำได้ง่าย เร็ว ให้แก่ลูกค้า  ในทีมต้องสื่อสารข้อมูลความพร้อมในการเตรียมเมนูอาหารในช่วงเวลานั้น ๆ เพราะระยะเวลาในการปรุงอาหารแต่ละเมนูอาจเปลี่ยนไปตามจำนวนของลูกค้าที่สั่ง นอกจากนี้ ควรบอกกำหนดเวลาในการรอแก่ลูกค้า เช่น จะพร้อมเสิร์ฟจานแรกภายใน 10-15 นาที เมื่อครบกำหนด 10-15 นาที พนักงานต้องดูแลว่าลูกค้าได้รับอาหารหรือยัง เป็นต้น

 

ปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการ

             บางครั้งปัญหาขาดคนอาจเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของร้าน  ร้านอาจต้องพลิกสถานการณ์ที่แย่นี้เป็นสถานการณ์ที่เยี่ยมให้ได้ โดยเลือกปรับเปลี่ยนบริการในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ  จัดเป็นแคมเปญการตลาดที่น่าสนใจ เช่น เชิญเชฟพิเศษ เปิดบริการเป็น Chef Table  รับบริการล่วงหน้าแบบจองเท่านั้น หรือจัดทำเมนูพิเศษ มีขายเฉพาะบริการส่ง หรือซื้อกลับ แต่จะต้องวางแผนให้ดีเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อภาพจำของลูกค้า และความตั้งใจในการทำร้านอาหารของคุณในอนาคต

 

การเตรียมการล่วงหน้าจะช่วยให้คุณรับมือได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้คุณอาจมีการเตรียมเมนูพิเศษเพื่อให้ลูกค้ารับประทานระหว่างรออาหาร หรือเพื่อเป็นการแทนคำขอโทษหากเกิดข้อผิดพลาด หรือความล่าช้าในการให้บริการ  ที่สำคัญต้องคำนึงถึงการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม เมื่อพนักงานต้องทำงานหนักขึ้น หรือให้เบี้ยรางวัลเพื่อเป็นการจูงใจพนักงานอีกด้วย

 

มาเรียนรู้เทคนิคจากมืออาชีพโดยตรงกับ อาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง กับประสบการณ์การจัดการคน คลิกดูรายละเอียดหลักสูตร HR For Food Business การบริหารคน สำหรับธุรกิจร้านอาหาร รุ่นที่ 2 

>> หลักสูตรการ บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร (HR for Food Business) รุ่นที่ 2 <<

 

หลักสูตรนี้ จะตอบและแก้ไขปัญหาทุกสิ่งที่คุณอยากรู้

หยุดทุกปัญหาน่าปวดหัวของการทำธุรกิจอาหาร!!

เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

ในการบริหารคนภายในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ระยะเวลาในการอบรม : 2 วัน ในวันที่ 24 – 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 9.00-17.00 น.
📍สถานที่: ณ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
.
ค่าใช้จ่ายการอบรม: 12,000 บาท
🔥โปรโมชั่น : สมัคร 2 ท่านขึ้นไป ท่านละ 11,000 บาท
วิทยากร : อาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง (อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)

👉🏻 รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2ZQMeTA
👉🏻 สมัครเลย !! http://bit.ly/2RAeOFR
📍ด่วน!!ที่นั่งมีจำนวนจำกัด🔥

เรื่องแนะนำ

วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ

เชื่อไหมว่า… ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านประสบชะตากรรมยอดขายตก มักจะมีคำถามว่าทำการตลาดอย่างไรดีช่วงนี้ให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ แทนที่จะตั้งคำถามว่า Operation อย่างไรให้ดี จนลูกค้าบอกต่อโดยไม่ต้องทุ่มงบทำการตลาด ซึ่งเจ้าของร้านอาหารบางท่าน ก็ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า Operation ทำหน้าที่ไล่ลูกค้าไปกี่คนแล้วต่อเดือน !   ทำไมการตลาดเรียกลูกค้า Operation ไล่ลูกค้า ?             ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การจัดทำโปรโมชั่น ล้วนเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับร้าน ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และตัดสินใจลองใช้บริการมากขึ้นในช่วงนั้น ๆ ซึ่งร้านอาหารมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็นลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าประจำมีการซื้อมากขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้า Operation มีจุดบอดก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ามาเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริการไม่ดี อาหารออกช้า ความไม่คงที่ของรสชาติและปริมาณ แทนที่จะเพิ่มยอดขาย กลับทำให้ร้านเกิดผลกระทบด้านลบในระยะยาวแทน เช่นเดียวกัน ถ้าหากร้านของคุณยังมีปัญหาด้าน Operation ก็ยากที่จะครองใจลูกค้าไว้ได้ แม้จะดันการตลาดมากแค่ไหนก็ตาม   การตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงการ Operation หน้าร้านด้วย             กรณีศึกษา เกิดขึ้นกับร้านอาหารในประเทศจีน ทำการตลาดกินฟรี โดยกำหนดช่วงเวลา เพื่อหวังให้ร้านเป็นที่รู้จักในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าการจัดการหน้าร้านไม่สามารถรองรับจำนวนลูกค้าที่ล้นหลามได้ และยังทำให้ร้านอาหารประสบกับปัญหาขาดทุนจากการจัดการต้นทุนที่ผิดพลาด แทนที่ร้านจะมีชื่อเสียงกลับทำให้เจ้าของร้านต้องตัดสินใจปิดร้านในเวลาอันรวดเร็ว การทำการตลาดจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของการจัดการหน้าร้านด้วย […]

ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี

4 คุณสมบัติสำคัญที่ ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ควรมี

ผู้จัดการร้านอาหาร คือคนที่ทำหน้าที่ควบคุมร้านอาหารให้ดำเนินงานไปได้โดยราบรื่น อย่างนั้นมาดูกันสิว่า ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง

พร้อมเปิดร้านอาหาร

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

บางคนอาจยังไม่รู้ว่าตัวเองพร้อมสำหรับการเปิดร้านมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีแบบทดสอบง่ายๆ ให้คุณลองประเมินตัวเองดูว่าคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.