เสิร์ฟเร็วขึ้น 10 นาที เพิ่มยอดขาย ได้ปีละ 4 แสน! - Amarin Academy

เสิร์ฟเร็วขึ้น 10 นาที เพิ่มยอดขาย ได้ปีละ 4 แสน!

เสิร์ฟเร็วขึ้น 10 นาที เพิ่มยอดขาย ได้ปีละ 4 แสน!

ร้านอาหารที่ขายดีอยู่แล้ว แต่อยาก เพิ่มยอดขาย ควรทำยังไง ? ส่วนใหญ่มักเลือกเล่นโปรโมชั่นเพื่อ ดึงลูกค้าให้เข้าร้านเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่การทำโปรชั่นต้องแลกมากับการที่คุณอาจจะได้กำไรน้อยลง และถ้าหมดโปรโมชั่น ยอดขายก็อาจไม่พุ่งเท่าเดิม แล้วอย่างนี้มีวิธีอื่นๆ ไหม ที่ทำเราให้ได้ยอดขายเพิ่มขึ้น โดยที่กำไรไม่ได้ลดลง แถมยอดขายยังสูงสม่ำเสมอ เรามีวิธีดีๆ มาแนะนำ

วิธีที่ว่านั้นคือ เราต้องพยายามเพิ่มรอบ ให้ลูกค้าเข้าร้านได้มากขึ้น เช่น จากปกติรับลูกค้าได้วันละ 3 รอบ ก็เพิ่มเป็น 4 รอบ

อธิบายอย่างนี้อาจจะไม่เข้าใจ เราจะยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ฟัง

สมมติว่าร้านอาหารของคุณเป็นร้านก๋วยเตี๋ยว ตั้งอยู่ในโซนออฟฟิศสำนักงาน มีโต๊ะทั้งหมด 10 โต๊ะ โต๊ะละ 4 ที่นั่ง (เท่ากับทั้งหมดมี 40 ที่นั่ง) ซึ่งแต่ละโต๊ะจะใช้เวลานั่งในร้านประมาณ 40 นาที ค่าเฉลี่ยต่อหัวที่ลูกค้าจ่ายคือคนละ 50 บาท

ช่วงเวลาที่คุณเปิดร้านคือ 08.00 – 15.00 น. แต่ช่วงเวลาที่ขายดีคือ ระหว่างเวลา 11.30 – 13.30 เราจะมาลองเพิ่มรอบในช่วงเวลานี้กัน

  • ลูกค้ารอบแรก (คนหิวเร็ว) จะอยู่ในร้านช่วงเวลา 11.30 – 12.10 น.
  • ลูกค้ารอบที่สอง (คนตรงเวลา) จะอยู่ในร้านช่วงเวลา 12.10 – 12.50 น.
  • ลูกค้ารอบที่สาม (คนไม่อยากต่อคิว) จะอยู่ในร้านช่วงเวลา 12.50 – 13.30 น.

เท่ากับว่า 1 วัน คุณจะรับได้ 3 รอบ โดย 1 รอบ อาจจะนั่งไม่เต็มร้าน แค่ประมาณ 35 ที่นั่ง เมื่อคำนวณแล้วจะพบว่า

  • 1วันคุณจะมียอดขาย 5,250 บาท (35 ที่นั่ง คูณ 3 รอบ คูณ ค่าเฉลี่ยต่อหัว 50 บาท)
  • 1เดือน ขาย 22 วัน (หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์) เท่ากับ115,500 ต่อเดือน (5,250 คูณ 22 วัน)
  • 1ปี มี 12 เดือน เท่ากับ 1,386,000 บาท (115,500 คูณ 12 เดือน)

ตัวเลขนี้ คือยอดขาย ยังไม่หักต้นทุน ซึ่งตามปกติ กำไรของร้านอาหารจะอยู่ที่ 10 – 25 % ขึ้นอยู่กับระบบการจัดการ เราของยกเลขกลางๆ คือ 15 % เท่ากับ 1 ปี คุณจะมีกำไร ประมาณ 207,900 บาท

กลับกัน หากคุณทำให้ลูกค้าลุกเร็วขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการรับออร์เดอร์เร็ว เสิร์ฟอาหารเร็ว เช็คบิลเร็ว ลองมาดูตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกัน

เดิมลูกค้าจะใช้เวลาในร้าน 40 นาที ก็ลองปรับวิธีการทำงาน โดยพยายามทำให้อยู่ในร้านแค่ 30 นาที ลองมาคิดตามดู

  • ลูกค้ารอบแรก (คนหิวเร็ว) จะอยู่ในร้านช่วงเวลา 11.30 – 12.00 น.
  • ลูกค้ารอบที่สอง (คนตรงเวลา) จะอยู่ในร้านช่วงเวลา 12.00 – 12.30 น.
  • ลูกค้ารอบที่สาม (คนเดินช้า) จะอยู่ในร้านช่วงเวลา 12.30 – 13.00 น.
  • ลูกค้ารอบที่สี่ (คนไม่อยากต่อคิว) จะอยู่ในร้านช่วงเวลา 13.00 – 13.30 น.

เท่ากับว่า 1 วัน จากที่คุณจะรับลูกค้าได้ 3 รอบ ก็เพิ่มเป็น 4 รอบ รายได้จะเพิ่มเท่าไร ?

  • 1วันคุณจะมียอดขาย 7,000 บาท (35 ที่นั่ง คูณ 4 รอบ คูณ ค่าเฉลี่ยต่อหัว 50 บาท)
  • 1เดือน ขาย 22 วัน (หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์) เท่ากับ 154,500 ต่อเดือน (7,000 คูณ 22 วัน)
  • 1ปี มี 12 เดือน เท่ากับ 1,848,000 บาท (154,000 คูณ 12 เดือน)

เท่ากับ 1 ปี คุณจะมีกำไร ประมาณ 277,200 บาท

นั่นแสดงว่า 1 ปี ยอดขายคุณจะเพิ่มสูงถึง 462,000 บาท กำไรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 69,300 บาท*

(ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขสมมติ ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่ง จำนวนลูกค้า จำนวนค่าเฉลี่ยต่อหัว และอัตรากำไรของแต่ละร้าน)

แม้ว่าตัวเลขที่เรายกมาจะไม่ได้ตรงเป๊ะ แต่ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ทำให้คุณรู้ว่า เพิ่มยอดขาย อัพกำไร ไม่ได้มีวิธีแค่ทำโปรโมชั่นเพียงอย่างเดียว

แต่วิธีการลดระยะเวลาการทำงานลง เพื่อบริการลูกค้าได้เร็วขึ้นจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้

(5 เคล็ดลับ จัดการร้านอาหารดี บริการลูกค้าได้เร็ว ยอดขายเพิ่ม)

เรื่องแนะนำ

6 เคล็ดลับ การเปิดร้านอาหาร ให้ “รอด” และ “รวย”

บางคนคิดว่า การเปิดร้านอาหาร เป็นเรื่องง่ายมีเงินก็สามารถเปิดร้านได้แล้ว แต่จะเปิดให้อยู่รอดได้นั้นยากมาก แล้วเคล็ดลับที่จะทำให้ร้านอาหารอยู่รอด คืออะไร? ” การเปิดร้านอาหาร นั้นง่าย แต่ให้อยู่รอดนั้นยาก” คำกล่าวที่ใครหลายๆคนพูดไว้ ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจสำหรับคนที่พอมีเงินลงทุน มักจะเลือกลงทุน เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก อย่างไรก็ตามกลับพบว่า ร้านอาหารที่เปิดขึ้นมากมายในแต่ละปีนั้น ปิดตัวลงไปหลายร้าน สาเหตุอาจมาจาก รายได้ไม่เป็นไปตามที่คิด เงินทุนสำรองไม่พอ ค่าใช้จ่ายสูง ในที่สุดก็ต้องปิดกิจการลง สำหรับมือใหม่ที่อยากมีอาชีพด้วยการเปิดร้านอาหาร วันนี้เรามีเคล็ดลับการเปิดร้านอาหาร ให้รอด และ รวย  มาฝากคนที่อยากทำร้านอาหารค่ะ   1.ทำเลที่ตั้ง คนที่อยากจะเปิดร้านอาหาร ไม่ว่าใครต่อใครก็อยากอยู่ในบริเวณแหล่งชุมชนคนเยอะๆ ถ้าจะให้ดีควรลงพื้นที่สำรวจและสังเกตว่ามีกลุ่มลูกค้ามากน้อยแค่ไหน ดูว่ากลุ่มคนแถวนั้นเป็นลูกค้ากลุ่มใด เช่น พนักงานบริษัท กลุ่มคนทำงานโรงงาน กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือพ่อบ้านแม่บ้าน เพราะกลุ่มคนจะสัมพันธ์กับชนิดสินค้าและราคาที่เราจะขาย เช่น เราคงไม่เปิดร้านอาหาร Fine Dining ในย่านสถานศึกษาเพื่อขายนักเรียน แต่ควรขายของที่กินง่ายๆ อย่างไก่ป๊อบทอด เฟรนช์ไฟลส์ทอด ในราคาไม่แพง นอกจากนั้นต้องรู้ว่าเวลาเข้างาน พักเที่ยง เลิกงาน  เพื่อให้เรารู้ว่าเวลาไหนคนเยอะคนน้อย เตรียมของขายได้ถูกช่วงเวลา […]

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง!

หากคุณเปิดร้านอาหาร และต้องการทำตลาดออนไลน์ให้สำเร็จ ก็ต้องเริ่มต้นสร้างตัวตนในใจลูกค้าให้ได้ก่อน ร้านค้าเกือบทุกร้านใช้วิธีการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และแข่งกันด้วยการทำ Content Marketing จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร้านของคุณจะสามารถเป็นหนึ่งในร้านที่ลูกค้าเลือก มาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรที่น่าสนใจ และนำไปปรับใช้กับร้านของคุณได้บ้างสำหรับ มือใหม่เปิดร้านอาหาร  มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง! ทำให้….เหนือความคาดหมาย การสื่อสารที่ดีอย่างเหนือความคาดหมาย จะทำให้ลูกค้าจดจำคุณได้เพียงข้ามคืน  ยกตัวอย่างร้านอาหารเรือนจรุง ร้านอาหารไทยในจังหวัดอยุธยา สามารถรับลูกค้าได้เพียงโต๊ะเดียว การที่ลูกค้าจดจำว่าเป็นร้านที่จองยาก เป็นจุดขายที่แตกต่างก็จริง แต่ก็อาจจะทำให้ลูกค้าปัจจุบันที่ชอบความสะดวก ไม่ชอบรอนานจนถอดใจ แต่ร้านนำตรงนี้มาเป็นจุดแข็ง โดยกำหนดให้ลูกค้าอยากจะกินจริง ๆ เขียนจดหมายมาเพื่อบอกเหตุผลว่าทำไมถึงควรได้คิวที่ร้านไป การเขียนจดหมายเป็นรูปแบบวิธีการสื่อสารแบบเดิมขัดกับพฤติกรรมคนปัจจุบัน เป็นวิธีการที่เหนือความคาดหมาย แต่ยังสามารถบอกตัวตนของร้านที่เน้นการอาหารตำรับไทย ปรุงด้วยกรรมวิธีแบบเดิม ๆ อีกด้วย เห็นได้ว่า การทำให้เกิดการแชร์ Content เป็นเรื่องยากในปัจจุบัน แต่คนแชร์ที่เรื่องราวเหล่านี้ออกไปเพราะอยากแชร์ โดยไม่คำนึงว่ากำลังโฆษณาให้กับร้านนี้เลย จึงทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น   ทำให้รู้… Right Time Right Target           การสื่อสารว่าคุณเป็นร้านอาหารที่สามารถตอบความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการเป็นการสื่อสารกับลูกค้าทั่วไปที่อยากกินอาหารอยู่แล้ว มันจึงไม่เพียงพอ  การศึกษาความต้องการเชิงลึกของลูกค้าให้ได้ รู้ว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร อยากได้อะไร และสามารถนำเสนอมันได้อย่างถูกเวลา จะทำให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้มากกว่า เช่น ร้านอาจจะพบว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นหัวหน้าครอบครัว […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.