8 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ - Amarin Academy

8 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

8 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

เปิดร้านอาหารทั้งที ใครๆ ก็อยากทำให้ดีที่สุด แต่จะทำอย่างไรให้ร้านอาหารของเราดีเยี่ยม เป็นที่ประทับใจของลูกค้าในทุกๆ ด้าน วันนี้เรามี 10 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ มาแนะนำ

1.มีพนักงานที่ดี

พนักงานบริการเป็นตำแหน่งสำคัญที่ช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้า หากพนักงานบริการดี ลูกค้าก็อยากกลับมาใช้บริการซ้ำ หากพนักงานแย่ ไม่ว่าอาหารจะอร่อยแค่ไหน ก็ไม่มีใครอยากกลับมาใช้บริการอีก ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของร้านที่จะสร้างทัศนคติที่ดีให้พนักงานทุกคน เพื่อให้พวกเขาบริการลูกค้าอย่างสุดความสามารถ

2.รู้จักเป็นผู้ให้

เมื่อคุณเป็นผู้รับแล้ว ต้องเป็นผู้ให้บ้าง การให้มีหลายวิธี ทั้งการจัดกิจกรรมการกุศลภายในร้านเพื่อระดมทุนไปช่วยเหลือองค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ หรือการสนับสนุนเงิน สิ่งของ หรืออาหารให้กิจกรรมชุมชน วิธีนี้นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกมีความสุขกับการทำสิ่งดีๆ แล้ว ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ร้านอาหารของคุณด้วย

3.ทำร้านอาหารให้เหมาะกับครอบครัว

การทำร้านอาหารของเราให้พร้อมสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม คือสิ่งที่เจ้าของร้านควรทำ ดังนั้นเจ้าของร้านต้องเตรียมรับมือกับลูกค้าทุกรูปแบบ โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัว ที่จะมีทั้งเด็กๆ และผู้สูงอายุ หากคุณอำนวยความสะดวกให้พวกเขาได้ดี เขาก็พร้อมจะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่การต้อนรับ การจัดเก้าอี้ (หากมาเป็นครอบครัวควรจัดโต๊ะใหญ่ เช่น มา 4 คน อาจจะจัดโต๊ะสำหรับ 6 คนให้แทน) มีจาน ช้อนส้อม เก้าอี้พิเศษสำหรับเด็กๆ ห้องน้ำต้องใหญ่พอและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ฯลฯ จากนั้นก็คอยสังเกตว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือใดเป็นพิเศษหรือเปล่า และให้บริการทันที

4.อย่าประหยัดจนเกินไป

หากลูกค้าไม่พอใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การบริการ หรือบรรยากาศร้าน นอกจากต้องขอโทษอย่างจริงใจแล้ว คุณควรมอบสิ่งของ ส่วนลดหรือบัตรของขวัญเป็นการขอโทษ เช่น หากลูกค้าไม่พอใจที่พนักงานเสิร์ฟอาหารผิด คุณควรมอบของหวานหรือเครื่องดื่มเป็นการขอโทษ หากลูกค้ายังไม่พอใจ ก็อาจมอบส่วนลดค่าอาหารให้ แม้ว่าบางครั้งคุณอาจจะได้กำไรน้อยลง ไปจนถึงขาดทุน แต่ก็อย่าลืมว่าความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และเคสเหล่านี้ก็ไม่ได้มีบ่อยนัก หลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาจะดีกว่า

 

5.กล่าวคำทักทาย

เมื่อลูกค้าก้าวเข้ามาในร้าน สิ่งแรกที่จะสร้างความประทับใจให้เขาได้คือการกล่าวคำทักทายอย่างจริงใจ โดยอาจเริ่มจากการสวัสดี แนะนำตัวเอง พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แนะนำเมนู และปล่อยให้เขาตัดสินใจเลือกอาหารสักพักจึงเข้ามารับออร์เดอร์ และเมื่อเขารับประทานอาหารเสร็จ ก็ควรสอบถามความคิดเห็นว่ามีข้อแนะนำหรือติดชมหรือไม่ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

 

6.พัฒนาเมนูเสมอ

หากร้านอาหารของคุณไม่เคยพัฒนาเมนูเลย คุณควรจะเริ่มเสียตั้งแต่วันนี้ ลองเช็คดูว่าช่วงนี้วัตถุดิบชนิดใดกำลังมาแรง เช่น หน้าร้อน ควรมีเมนูผลไม้หน้าร้อน ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ทุเรียน เงาะ หรือกระแสอาหารสุขภาพกำลังมาแรง ก็ควรเพิ่มเมนูนั้นเป็นทางเลือก เป็นต้น แล้วลองให้เชฟออกแบบเมนูใหม่ๆ มานำเสนอ เพื่อให้ลูกค้าไม่รู้สึกจำเจ และอยากมาลองเมนูใหม่ๆ

7.ติดตามปัญหาเสมอ

หากลูกค้าหรือพนักงานในร้านกำลังประสบปัญหา คุณควรติดตามและช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ไม่ใช่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป เพราะยิ่งเวลาผ่านไป ปัญหาอาจยิ่งรุนแรงยิ่งขึ้น

8.หาเวลาพักผ่อนบ้าง

การทำร้านอาหารคุณต้องเครียดเป็นธรรมดา เพราะเป็นธุรกิจที่เกิดปัญหาได้ไม่เว้นแต่ละวัน แต่จงจำไว้ว่า ควรหาเวลาพักผ่อนบ้าง เช่น ไปเที่ยวกับครอบครัว หากิจกรรมสนุกๆ ทำ เพื่อเป็นการพักผ่อนสมอง และคุณอาจได้รับแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อนำไปพัฒนาร้านอีกด้วย

การทำร้านอาหารมีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจมากมาย อย่ามองข้ามรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เพราะรายละเอียดเหล่านั้น คือสิ่งที่ทำให้ลูกค้าประทับใจ

เรื่องแนะนำ

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ทำธุริจคงหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติยาม ธุรกิจมีปัญหา มาฝาก

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า  ( SOP การเตรียมวัตถุดิบ + Portion Control = Perfect Dish ) ก่อนจะได้อาหารเลิศรสสักหนึ่งจานต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบ และหากว่าร้านอาหารของคุณต้องใช้ผักคะน้าจำนวนมาก แล้วคุณกำลังหาซื้ออยู่ที่ตลาดไท คุณจะเลือกผักคะน้าคละ หรือผักคะน้าคัดดีล่ะ ? สมมติว่าราคาผักคะน้าคละ ในตลาดไท ราคากิโลกรัมละ 23 บาท ก่อนจะนำมาปรุงได้ ต้องตัดใบแก่ ใบเหี่ยว ใบเหลืองทิ้ง ไป และตัดส่วนลำต้นที่แข็งออก คุณอาจจะเหลือผักคะน้าที่ใช้จริงแค่เพียง 7 ขีดเท่านั้น เท่ากับว่าต้นทุนจะไม่ใช่ 23 บาทต่อ 1 กิโลกรัมอีกต่อไป แต่จะเป็น 33 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม   นอกจากนี้คุณยังต้องเสียเวลาไปกับการคัดแยกเอาผักคะน้าสวยๆ ออกจากกองที่คละกันอยู่อีกต่างหาก ทำให้ต้องเสียคนไปด้วยหนึ่งคนกับกระบวนการนี้ และอย่าลืมว่าวัตถุดิบ คน และเวลา […]

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.