จัดการร้านอาหารได้ดั่งใจด้วยตัวช่วยในยุคดิจิทัล - Amarin Academy

จัดการร้านอาหารได้ดั่งใจด้วยตัวช่วยในยุคดิจิทัล

ในยุคดิจิทัลที่ร้านอาหารไม่ได้มีคู่แข่งเป็นเพียงร้านอาหารด้วยกันเท่านั้นแต่ยังมีร้านอาหารออนไลน์และบริการจัดส่งอาหารถึงที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด เจ้าของร้านอาหารจึงต้องปรับตัวและนำเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกๆด้าน ดังเช่นวิทยากรทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารที่มากประสบการณ์และมาแบ่งปันความรู้ในงานเสวนา ร้านอาหารยุคใหม่ ปรับอย่างไร ให้ทันยุคดิจิทัล จัดขึ้นที่ ONLINESHOP SPACE ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5 โดยคุณอาริยะ คำภิโล เจ้าของร้านสลัดเพื่อสุขภาพ JonesSalad คุณกันติชา สมศักดิ์ เจ้าของร้านขนมหวานสไตล์เกาหลี Cheevit Cheeva  คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านบุฟเฟต์ชาบู Penguin Eat Shabu

ระบบหลังบ้านจัดการได้ด้วยซอฟต์แวร์

วิทยากรทั้ง 3 ท่านต่างยืนยันว่าระบบการจัดการงานบริการและงานครัวที่ดีนั้นสำคัญมาก ทุกร้านจำเป็นต้องมี SOP (Standard operating procedure) หรือสูตรมาตรฐานของร้านที่ใช้ควบคุมและประเมินผลการทำงาน  ในช่วงแรกร้าน Penguin Eat Shabu ใช้ระบบที่ทำขึ้นเองจากโปรแกรม Excel ซึ่งคุณธนพงศ์กล่าวว่าค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน เพราะต้องวิเคราะห์ตัวเลขสต็อกสินค้าและต้นทุนเองทั้งหมด ขณะที่ร้าน JonesSalad มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์เขียนระบบให้ ซึ่งมีข้อเสียที่ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงทีเพราะมีนักพัฒนาดูแลเพียงคนเดียว เช่นเดียวกันกับ Cheevit Cheeva ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในท้องถิ่นทำระบบให้ แต่ก็ต้องเสียเวลากับการแก้ไขปัญหาทีละจุดเช่นกัน

ปัจจุบันทุกร้านใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการร้านตั้งแต่การสั่งวัตถุดิบ คำนวณต้นทุน และเก็บข้อมูลลูกค้า ฯลฯ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐานและจัดเก็บข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต (Cloud Storage) นอกจากนี้ในส่วนของการจัดการวัตถุดิบและควบคุมคุณภาพอาหารให้มีมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ร้าน Cheevit Cheeva และ Jones’ Salad ยังแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ครัวกลางและจัดส่งอาหารกระจายไปยังสาขาต่างๆ แม้ว่าจะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเพิ่ม แต่เจ้าของร้านทั้งสองยืนยันว่าคุ้มค่ากับคุณภาพและรสชาติที่ได้มาตรฐานเหมือนกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ดึงดูดใจลูกค้าให้เลือกเข้าร้านไม่ว่าร้านจะตั้งอยู่ที่สาขาไหน

บริหารคนต้องใช้ใจ +ตัวช่วยออนไลน์

ต้องยอมรับว่าการบริหารคนนั้นต้องใช้หลักการบริหารที่อาศัยความเข้าใจและการสื่อสารเป็นหลักโดย คุณอาริยะสรุปปัญหาเรื่องพนักงานไว้ 2 ประเด็นคือ 1.หาคนมาทำงานไม่ได้จึงต้องรับทุกคนที่มาสมัคร 2.จัดการคนให้ทำงานได้ดี อยู่ได้นาน และทำงานตรงความถนัด ปัญหาเรื่องหาคนทำงานไม่ได้มักเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเปิดร้าน ระยะนี้เจ้าของร้านอาจต้องแก้ปัญหาด้วยการลงไปทำเอง แต่เมื่อเปิดร้านไปสักพัก ร้านเป็นที่รู้จักจะมีคนเข้ามาสมัครทำงานมากขึ้น

คุณกันติชากล่าวเสริมถึงหลักการคัดเลือกพนักงานว่าจะคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติตรงกับ DNA ของแบรนด์ คือ สดใส มีชีวิตชีวา ตามชื่อและสินค้าของร้าน เพราะนอกจากลูกค้าจะได้กินขนมหวานที่สดชื่นแล้วยังอยากให้ได้รับบริการจากพนักงานที่มีบุคลิกสดใสร่าเริงด้วย เมื่อรับเข้ามาทำงานแล้วจะมีระบบการสอนงานจากพนักงานรุ่นพี่ประกบ ซึ่งคล้ายกับระบบการเทรนนิ่งพนักงานของร้าน Penguin Eat Shabu ที่มีการสอนงานจากพนักงานรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน เช่น ขั้นตอนการชั่งตวงวัตถุดิบ วิธีการปรุงน้ำซุป

คุณอาริยะกล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานว่าทำได้โดยใช้ระบบการปรับตำแหน่งและเพิ่มค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน และคลุกคลีกับพนักงานร้านให้มากที่สุด ซึ่งนอกจากจะเข้าไปดูแลพนักงานที่ร้านตามสาขาต่างๆแล้วยังใช้ตัวช่วยในยุคดิจิทัลอย่างแอปพลิเคชั่นพูดคุยทางออนไลน์ (chat application) โดยใช้ในช่วงของการเช็กสต็อกสินค้าก่อนปิดร้าน ผู้จัดการของแต่ละสาขาจะต้องถ่ายรูปสต็อกวัตถุดิบที่เหลือส่งให้ดูทุกวันซึ่งนอกจากจะได้ควบคุมต้นทุนสินค้าแล้วยังได้สื่อสาร พูดคุย และรับฟังปัญหาของพนักงานทุกสาขาในทุกๆวันด้วย

สร้างตัวตนร้าน ทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย

ในยุคที่ผู้บริโภคเลือกเชื่อข้อมูลจากผู้บริโภคด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมการหาข้อมูลรีวิวร้านอาหารก่อนตัดสินใจเดินเข้าร้าน วิทยากรทุกท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าในปัจจุบันสื่อออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ในการโฆษณาสินค้าอย่างที่เคยเป็นมาแต่เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้ว่าทางร้านมีตัวตนและพร้อมสื่อสารกับเขาทุกเมื่อ

คุณกันติชากล่าวว่าสิ่งสำคัญในยุคนี้คือการสร้างสินค้าที่ดีในโลกออฟไลน์จนคนอยากแชร์บนออนไลน์ ดังจะเห็นได้จากลูกค้าที่ร้านมักถ่ายรูปขนมหวานของร้านลงบนโลกออนไลน์และเกิดการแชร์ต่อๆกันจนได้ลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคสร้างให้กับทางร้านเอง (UserGenerated Content)

ในส่วนของการสร้างคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ คุณอาริยะกล่าวว่าต้องเป็นเนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจของคนได้ภายใน 5 -10 วินาที โดยจุดยืนของแฟนเพจร้าน JonesSalad นั้นคือการให้ความรู้และสร้างชุมชนของคนรักสุขภาพ ทำให้แฟนเพจของร้าน JonesSalad มีตัวตนที่ชัดเจนและเป็นมากกว่าพื้นที่โฆษณาทางออนไลน์

เช่นเดียวกันกับคุณธนพงศ์ที่ย้ำว่าโลกออฟไลน์และออนไลน์นั้นผสมผสานเป็นเรื่องเดียวกัน คือ ร้านอาหารต้องทำอาหารให้อร่อย จัดไฟ จัดร้านเพื่อให้ลูกค้าถ่ายรูปออกมาสวย เพื่อให้ลูกค้าบอกต่อถึงความประทับใจไปในโลกออนไลน์ นอกจากนี้สื่อโซเชียลมีเดียยังเป็นช่องทางที่ทำให้เจ้าของรับฟังความเห็นลูกค้าได้แบบทันที (Real Time) ดังเช่นทางร้านที่เมื่อมีลูกค้าตำหนิถึงการบริการผ่านแฟนเพจ  ทางร้านจะส่งข้อมูลไปให้พนักงานที่สาขานั้นๆแก้ไขทันที

เมื่อปัญหาคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ร้านอาหารในยุคใหม่จึงต้องเรียนรู้ผู้บริโภคและเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม เพราะในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ร้านอาหารที่จะอยู่รอดคือร้านที่รู้จักปรับตัวและก้าวไปให้ทันกับทุกกระแสความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

เรื่องแนะนำ

เฟ้นหาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ พัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยดิจิทัล ในโครงการ SMART CITY D – BOOST CAMP, (EEC FORUM)

ดีป้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และบริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด (DURIAN) จัดโครงการ SMART CITY D - BOOST CAMP

Hai di lao

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

ถ้าพูดถึงร้านอาหารประเภท hot pot หม้อไฟ ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ จนคนต้องยอมต่อแถวรอคิวหลายชั่วโมงคงหนีไม่พ้น ร้านหม้อไฟสัญชาติจีนที่ชื่อว่า Hai di lao (ไห่-ตี้-เหลา) ร้านหม้อไฟที่โด่งดังในประเทศจีน รวมถึงอีกหลายประเทศ และเพิ่งมาเปิดสาขาในประเทศไทยได้ไม่นาน จนเกิดความสงสัยว่า ร้านนี้มีดีอะไร และทำไมลูกค้าถึงยอมที่จะรอคิวเพื่อให้ได้ทาน   ” Hai di lao “ จากความสงสัยก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมของร้าน Hai di lao ก็พบว่าธุรกิจนี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะแบรนด์นี้มีต้นกำเนิดจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน และก่อตั้งโดย Zhang Yong (จาง หย่ง) ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่การเริ่มต้นจากเชน Hotpot ในประเทศจีน แต่สามารถก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นเชนร้านอาหารระดับโลก ซึ่งปัจจุบันขยายไปแล้ว 400 กว่าสาขาทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น และมียอดขายในปี 2018 กว่า 17,000 ล้านหยวน ซึ่งถ้าเทียบกับร้านอาหารประเภทที่คล้ายกันในบ้านเราอย่าง MK Restaurant ที่คิดว่าใหญ่แล้ว มีทั้งร้านสุกี้และร้านอาหารญี่ปุ่น กว่า 600 สาขา […]

เทรนด์ธุรกิจอาหาร

5 เทรนด์ธุรกิจอาหาร ในประเทศไทย ปี 2020 ที่ยังโตได้

ในปีหน้า 2020 ธุรกิจอาหารในประเทศไทย ยังไปต่อได้ไหม? ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่? เชื่อว่านี่คงเป็นคำถามที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหาร หรือแม้แต่ผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาในแวดวงธุรกิจอาหาร มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ ซึ่งข้อมูลจาก EUROMONITOR พบว่า ธุรกิจตลาดอาหารในประเทศไทยยังไปได้ดี แต่จะมี เทรนด์ธุรกิจอาหาร ประเภทใดที่จะไปต่อได้ในปี 2020 มาดูกัน   5 เทรนด์ธุรกิจอาหาร ในประเทศไทย ปี 2020 ที่ยังโตได้ อย่างที่กล่าวไปว่า ในปีหน้า หรือปี 2020 นั้น เหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร คงมีความกังวลอยู่ว่า แนวโน้มตลาดอาหารในประเทศไทยนั้น จะไปในทิศทางใด และจะมีโอกาสที่เติบโตมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งก็ได้มีข้อมูลจาก EUROMONITOR บริษัทชั้นนำด้านข้อมูลการตลาด เผยว่า ภาพรวมตลาดอาหารในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมานั้น มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบัน และในอนาคต พฤติกรรมของผู้บริโภคเองก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ผู้ประกอบการเอง ก็ควรที่จะทำความเข้าใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเช่นกัน เมื่อตลาดอาหารในประเทศไทยปีหน้า ยังไปต่อได้ แล้ว เทรนด์ธุรกิจอาหาร ประเภทใดที่ยังน่าสนใจ และต้องจับตาในปี 2020 มาดูกัน   […]

Food Trend เทรนด์อาหารมาแรง 2018

เมื่อเทรนด์อาหาร ก็เหมือนเทรนด์แฟชั่น ที่ถูกเปลี่ยนไปตามกระแสไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ลองมาดู เทรนด์อาหารมาแรง ปี 2018 กันดีกว่าครับว่ามีอะไรบ้าง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.