จัดการร้านอาหารได้ดั่งใจด้วยตัวช่วยในยุคดิจิทัล - Amarin Academy

จัดการร้านอาหารได้ดั่งใจด้วยตัวช่วยในยุคดิจิทัล

ในยุคดิจิทัลที่ร้านอาหารไม่ได้มีคู่แข่งเป็นเพียงร้านอาหารด้วยกันเท่านั้นแต่ยังมีร้านอาหารออนไลน์และบริการจัดส่งอาหารถึงที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด เจ้าของร้านอาหารจึงต้องปรับตัวและนำเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกๆด้าน ดังเช่นวิทยากรทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารที่มากประสบการณ์และมาแบ่งปันความรู้ในงานเสวนา ร้านอาหารยุคใหม่ ปรับอย่างไร ให้ทันยุคดิจิทัล จัดขึ้นที่ ONLINESHOP SPACE ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5 โดยคุณอาริยะ คำภิโล เจ้าของร้านสลัดเพื่อสุขภาพ JonesSalad คุณกันติชา สมศักดิ์ เจ้าของร้านขนมหวานสไตล์เกาหลี Cheevit Cheeva  คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านบุฟเฟต์ชาบู Penguin Eat Shabu

ระบบหลังบ้านจัดการได้ด้วยซอฟต์แวร์

วิทยากรทั้ง 3 ท่านต่างยืนยันว่าระบบการจัดการงานบริการและงานครัวที่ดีนั้นสำคัญมาก ทุกร้านจำเป็นต้องมี SOP (Standard operating procedure) หรือสูตรมาตรฐานของร้านที่ใช้ควบคุมและประเมินผลการทำงาน  ในช่วงแรกร้าน Penguin Eat Shabu ใช้ระบบที่ทำขึ้นเองจากโปรแกรม Excel ซึ่งคุณธนพงศ์กล่าวว่าค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน เพราะต้องวิเคราะห์ตัวเลขสต็อกสินค้าและต้นทุนเองทั้งหมด ขณะที่ร้าน JonesSalad มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์เขียนระบบให้ ซึ่งมีข้อเสียที่ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงทีเพราะมีนักพัฒนาดูแลเพียงคนเดียว เช่นเดียวกันกับ Cheevit Cheeva ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในท้องถิ่นทำระบบให้ แต่ก็ต้องเสียเวลากับการแก้ไขปัญหาทีละจุดเช่นกัน

ปัจจุบันทุกร้านใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการร้านตั้งแต่การสั่งวัตถุดิบ คำนวณต้นทุน และเก็บข้อมูลลูกค้า ฯลฯ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐานและจัดเก็บข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต (Cloud Storage) นอกจากนี้ในส่วนของการจัดการวัตถุดิบและควบคุมคุณภาพอาหารให้มีมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ร้าน Cheevit Cheeva และ Jones’ Salad ยังแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ครัวกลางและจัดส่งอาหารกระจายไปยังสาขาต่างๆ แม้ว่าจะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเพิ่ม แต่เจ้าของร้านทั้งสองยืนยันว่าคุ้มค่ากับคุณภาพและรสชาติที่ได้มาตรฐานเหมือนกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ดึงดูดใจลูกค้าให้เลือกเข้าร้านไม่ว่าร้านจะตั้งอยู่ที่สาขาไหน

บริหารคนต้องใช้ใจ +ตัวช่วยออนไลน์

ต้องยอมรับว่าการบริหารคนนั้นต้องใช้หลักการบริหารที่อาศัยความเข้าใจและการสื่อสารเป็นหลักโดย คุณอาริยะสรุปปัญหาเรื่องพนักงานไว้ 2 ประเด็นคือ 1.หาคนมาทำงานไม่ได้จึงต้องรับทุกคนที่มาสมัคร 2.จัดการคนให้ทำงานได้ดี อยู่ได้นาน และทำงานตรงความถนัด ปัญหาเรื่องหาคนทำงานไม่ได้มักเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเปิดร้าน ระยะนี้เจ้าของร้านอาจต้องแก้ปัญหาด้วยการลงไปทำเอง แต่เมื่อเปิดร้านไปสักพัก ร้านเป็นที่รู้จักจะมีคนเข้ามาสมัครทำงานมากขึ้น

คุณกันติชากล่าวเสริมถึงหลักการคัดเลือกพนักงานว่าจะคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติตรงกับ DNA ของแบรนด์ คือ สดใส มีชีวิตชีวา ตามชื่อและสินค้าของร้าน เพราะนอกจากลูกค้าจะได้กินขนมหวานที่สดชื่นแล้วยังอยากให้ได้รับบริการจากพนักงานที่มีบุคลิกสดใสร่าเริงด้วย เมื่อรับเข้ามาทำงานแล้วจะมีระบบการสอนงานจากพนักงานรุ่นพี่ประกบ ซึ่งคล้ายกับระบบการเทรนนิ่งพนักงานของร้าน Penguin Eat Shabu ที่มีการสอนงานจากพนักงานรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน เช่น ขั้นตอนการชั่งตวงวัตถุดิบ วิธีการปรุงน้ำซุป

คุณอาริยะกล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานว่าทำได้โดยใช้ระบบการปรับตำแหน่งและเพิ่มค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน และคลุกคลีกับพนักงานร้านให้มากที่สุด ซึ่งนอกจากจะเข้าไปดูแลพนักงานที่ร้านตามสาขาต่างๆแล้วยังใช้ตัวช่วยในยุคดิจิทัลอย่างแอปพลิเคชั่นพูดคุยทางออนไลน์ (chat application) โดยใช้ในช่วงของการเช็กสต็อกสินค้าก่อนปิดร้าน ผู้จัดการของแต่ละสาขาจะต้องถ่ายรูปสต็อกวัตถุดิบที่เหลือส่งให้ดูทุกวันซึ่งนอกจากจะได้ควบคุมต้นทุนสินค้าแล้วยังได้สื่อสาร พูดคุย และรับฟังปัญหาของพนักงานทุกสาขาในทุกๆวันด้วย

สร้างตัวตนร้าน ทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย

ในยุคที่ผู้บริโภคเลือกเชื่อข้อมูลจากผู้บริโภคด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมการหาข้อมูลรีวิวร้านอาหารก่อนตัดสินใจเดินเข้าร้าน วิทยากรทุกท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าในปัจจุบันสื่อออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ในการโฆษณาสินค้าอย่างที่เคยเป็นมาแต่เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้ว่าทางร้านมีตัวตนและพร้อมสื่อสารกับเขาทุกเมื่อ

คุณกันติชากล่าวว่าสิ่งสำคัญในยุคนี้คือการสร้างสินค้าที่ดีในโลกออฟไลน์จนคนอยากแชร์บนออนไลน์ ดังจะเห็นได้จากลูกค้าที่ร้านมักถ่ายรูปขนมหวานของร้านลงบนโลกออนไลน์และเกิดการแชร์ต่อๆกันจนได้ลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคสร้างให้กับทางร้านเอง (UserGenerated Content)

ในส่วนของการสร้างคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ คุณอาริยะกล่าวว่าต้องเป็นเนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจของคนได้ภายใน 5 -10 วินาที โดยจุดยืนของแฟนเพจร้าน JonesSalad นั้นคือการให้ความรู้และสร้างชุมชนของคนรักสุขภาพ ทำให้แฟนเพจของร้าน JonesSalad มีตัวตนที่ชัดเจนและเป็นมากกว่าพื้นที่โฆษณาทางออนไลน์

เช่นเดียวกันกับคุณธนพงศ์ที่ย้ำว่าโลกออฟไลน์และออนไลน์นั้นผสมผสานเป็นเรื่องเดียวกัน คือ ร้านอาหารต้องทำอาหารให้อร่อย จัดไฟ จัดร้านเพื่อให้ลูกค้าถ่ายรูปออกมาสวย เพื่อให้ลูกค้าบอกต่อถึงความประทับใจไปในโลกออนไลน์ นอกจากนี้สื่อโซเชียลมีเดียยังเป็นช่องทางที่ทำให้เจ้าของรับฟังความเห็นลูกค้าได้แบบทันที (Real Time) ดังเช่นทางร้านที่เมื่อมีลูกค้าตำหนิถึงการบริการผ่านแฟนเพจ  ทางร้านจะส่งข้อมูลไปให้พนักงานที่สาขานั้นๆแก้ไขทันที

เมื่อปัญหาคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ร้านอาหารในยุคใหม่จึงต้องเรียนรู้ผู้บริโภคและเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม เพราะในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ร้านอาหารที่จะอยู่รอดคือร้านที่รู้จักปรับตัวและก้าวไปให้ทันกับทุกกระแสความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

เรื่องแนะนำ

สังคมผู้สูงอายุ

5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ

โลกกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบในปี 2564 ทำให้เห็นว่าธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุกำลังมาแรง เราจึงขอแนะนำ 5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ

ไม่มีทุน

6 ธุรกิจน่าสนใจ ไม่มีทุน ก็ทำได้

ใครๆ ก็อยากมีธุรกิจ แต่หลายคนก็ติดปัญหาตรงที่ ไม่มีทุน ทำให้ต้องจำใจทำงานประจำต่อไป วันนี้เราจึงมี 6 ธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุน หรือใช้เงินลงทุนต่ำมาฝาก

วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ ใน วิกฤต COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ทั้งเรื่องของจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส ด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ ที่มีการรวมตัวของผู้คนจำนวนมาก จากข่าวดังกล่าวยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต จนทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลานี้ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการออกไปยังสถานที่สาธารณะ ที่มีผู้คนรวมตัวกันและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น  สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เพื่อลดการพบปะกับผู้อื่นขณะออกไปซื้ออาหาร ซื้อของใช้ที่จำเป็น และกักตุนอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาด ซื้อของมากขึ้นในแต่ละครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น  ใส่ใจเรื่องความสะอาด และที่มาของอาหารมากขึ้น  เกิดกระแส “Work form home” หรือการทำงานที่บ้าน    รณรงค์ให้มีการเว้นระยะห่างจากสังคม หรือ Social distancing เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัส ธุรกิจอาหาร ร้านอาหารต่างๆ แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีหน้าร้านเพียงอย่างเดียว เพราะตามที่มีการประกาศล่าสุดคือ ร้านอาหารสามารถเปิดให้บริการได้ แต่จะต้องเป็นการซื้อกลับบ้านเท่านั้น ทำให้หลายร้านต้องเริ่มปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้ร้านสามารถไปต่อได้ แต่เชื่อว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสบางอย่างซ่อนอยู่เสมอ ยังคงมีธุรกิจอาหารบางประเภทที่ยังสามารถไปต่อได้ในสภาวะแบบนี้ และคิดว่าผู้ประกอบการหลายรายก็ได้เริ่มทำบ้างแล้ว มาดูกันว่าธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19 มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นไอเดียให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆด้วย   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.