ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier - Amarin Academy

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเองหรือ ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier ดี ? นี่เป็นคำถามที่ร้านอาหารถามกันเข้ามาเยอะมาก เพราะมักไม่รู้ว่าควรเลือกทางไหนจึงจะคุ้มค่ากว่า ซึ่งเจ้าของร้านส่วนใหญ่มักเลือกซื้อเอง เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

ซื้อวัตถุดิบเอง

ต้นทุนที่มองเห็น

1.ค่าวัตถุดิบ > ซึ่งมักถูกกว่าการสั่งจาก Supplier

2.ค่าเดินทาง > ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วย Taxi หรือรถส่วนตัว

3.ค่าแรงพนักงาน > จากปกติพนักงานอาจจะต้องเข้างานเวลาเปิดร้าน ก็ต้องเริ่มงานเร็วขึ้น เพื่อเดินทางไปซื้อวัตถุดิบก่อน

ต้นทุนที่มองไม่เห็น

1.ค่าเสียเวลา > แทนที่คุณหรือพนักงานของคุณจะมีเวลาไปทำอย่างอื่น แต่ต้องเสียเวลาเดินทางไปซื้อวัตถุดิบแทบทุกวัน และเมื่อซื้อกลับมาแล้ว ก็ต้องมาจัดเตรียมและตัดแต่งอีกเป็นชั่วโมง

นอกจากนี้ช่วงเวลาที่วัตถุดิบแต่ละชนิดเข้ามาที่ตลาดยังไม่เท่ากัน เช่น ผักบางชนิดเข้ามาช่วงตี 1 บางชนิดเข้ามาช่วง ตี 3 ถ้าคุณอยากซื้อของดี ก็ต้องไปให้ตรงช่วงเวลานั้นๆ เพราะถ้าไปช้า เจ้าอื่นๆ ก็จะเลือกของดีไปหมด ส่วนคุณก็จะได้ของคุณภาพต่ำ ไม่ตรงตามความต้องการ

2.ค่าความเสี่ยง > ความเสี่ยงนี้มีหลายด้าน

2.1 ด้านการขนส่ง >> หลังจากที่เราซื้อวัตถุดิบแล้ว ระหว่างการขนส่ง หากวัตถุดิบเสียหาย เช่น ผักช้ำ อุณหภูมิของเนื้อตก เราจะไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายใดๆ จากเจ้าของร้านได้เลย เพราะหลังจากที่คุณจ่ายเงิน ภาระความรับผิดชอบก็จะตกที่คุณทันที

2.2 ด้านปริมาณและคุณภาพ >> หากร้านของคุณใส่ใจเรื่องคุณภาพวัตถุดิบ จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบเกรดนี้เท่านั้น เช่น กุ้งต้องคัดไซส์ ผักต้องคุณภาพดี และในแต่ละวันต้องใช้ปริมาณเท่านี้ จึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน การซื้อวัตถุดิบเองถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ไม่มีใครมาการันตีคุณภาพให้ว่าจะได้ตรงตามสเป็กทุกครั้ง หรือมีปริมาณตามที่คุณต้องการทุกวัน

2.3 ด้านราคาที่ผันผวน >> อย่างที่รู้กันว่าราคาวัตถุดิบมีความผันผวนตลอดเวลา ขณะที่ราคาขาย (กว่าจะปรับขึ้นทีต้องคิดแล้วคิดอีก) โดยเฉพาะวัตถุดิบจำพวกผักและอาหารทะเล ที่ถือว่าผันผวนสุดๆ ถ้าคุณซื้อวัตถุดิบเอง ก็ต้องยอมรับความผันผวนนี้ให้ได้

3.ค่า Food waste > วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ซื้อจากตลาด มักไม่ผ่านการตัดแต่งมาก่อน ทำให้คุณต้องมาตัดแต่งให้พร้อมใช้งาน โดยเฉพาะผัก ไม่ว่าจะเป็นการนำผักใบแก่ ใบเหี่ยว ออก แทนที่จะใช้วัตถุดิบได้เต็ม 100% บางทีอาจต้องทิ้งเกือบครึ่ง (อ่านเพิ่มเติม 7 Wastes ในร้านอาหาร ลดได้ กำไรพุ่ง!)

นี่คือต้นทุนที่คุณต้องจ่าย หากคุณซื้อวัตถุดิบเอง กลับกัน หากคุณสั่งวัตถุดิบจาก Supplier ต้นทุนที่คุณต้องจ่ายมีดังนี้

รับวัตถุดิบจาก Supplier

ต้นทุนที่มองเห็น

1.ค่าวัตถุดิบ > อาจราคาสูงกว่าการซื้อเอง

2.ค่าขนส่ง > กรณีนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการสั่งซื้อ หากคุณสั่งซื้อจำนวนมาก บางเจ้าอาจไม่คิดค่าส่ง

ต้นทุนที่มองไม่เห็น

ค่าเสียโอกาสในการสั่งขั้นต่ำ > Supplier ส่วนใหญ่มักมีการกำหนดจำนวนวัตถุดิบขั้นต่ำในการสั่งซื้อ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับร้านอาหารเล็กๆ ที่จำนวนยอดขายไม่สูงนัก หากต้องสั่งวัตถุดิบมากักตุนจำนวนมาก

  • ส่งผลให้วัตถุดิบเน่าเสีย หากเก็บรักษาได้ไม่เหมาะสม
  • ต้นทุนจม การเงินขาดสภาพคล่อง เพราะต้องสั่งซื้อจำนวนมาก

ขณะที่ต้นทุนที่มองไม่เห็นด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

ค่าเสียเวลา

Supplier ก็เป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ เราเพียงแค่รอรับที่ร้าน ไม่ต้องเสียเวลาตัดแต่งวัตถุดิบ เนื่องจาก Supplier บางรายมีผักตัดแต่งแล้วจำหน่าย

ค่าความเสี่ยง

  • ด้านการขนส่ง >> ตราบใดที่เรายังไม่เซ็นรับสินค้า ที่มาส่งหน้าร้าน ความรับผิดชอบก็เป็นของ Supplier
  • ด้านปริมาณและคุณภาพ >> Supplier ส่วนใหญ่สามารถการันตีเรื่องปริมาณและคุณภาพวัตถุดิบให้ร้านอาหารได้ โดยเราสามารถกำหนดมาตรฐานและทำสัญญากับ Supplier ได้ตั้งแต่เริ่มสั่งวัตถุดิบ
  • ด้านราคาที่ผันผวน >> Supplier ส่วนใหญ่มักสามารถคุมราคาวัตถุดิบได้ในระดับหนึ่ง เพราะเขาสั่งปริมาณมากจึงมีอำนาจต่อรองสูงกว่า

ค่า Food waste

Supplier ส่วนใหญ่มักมีวัตถุดิบตัดแต่งแล้วจำหน่าย ซึ่งสามารถนำวัตถุดิบเหล่านั้นมาใช้ได้เกือบ 100% จึงมีอัตราวัตถุดิบเหลือทิ้งน้อยกว่าปกติ

แม้ว่าราคาวัตถุดิบจาก Supplier จะสูงกว่า แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนแฝงต่างๆ แล้ว ก็ถือว่าคุ้มค่าสมราคา เจ้าของร้านไม่ต้องปวดหัวแบกรับต้นทุนและความเสี่ยงอื่นๆ ที่ตามมาสารพัด

หากคุณเปิดร้านอาหาร จะเลือกทางไหน ?

เรื่องแนะนำ

เพิ่มกำไรอย่างก้าวกระโดด! ด้วยกลยุทธ์ ยกระดับธุรกิจอย่างมืออาชีพ

การทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตาม การพัฒนาและต่อยอดกิจการนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยิ่งอยู่เฉยไม่ได้ แม้จะเคยเป็นร้านดังในอดีต เคยมีลูกค้ามากมาย ก็อาจจะถูกร้านหน้าใหม่แซงยอดขายเอาได้ง่ายๆ จะเห็นว่าแม้แต่ร้านอาหารแบรนด์ดัง ก็ยังต้องปรับตัวและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาเรียกลูกค้าอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจอาหารอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณไม่อยากเดินตามหลังคนอื่นหนึ่งก้าว และกำลังหาวิธี ยกระดับธุรกิจอย่างมืออาชีพ บทความนี้มีเทคนิคดี ๆ ที่คุณไม่ควรพลาดมาฝาก ปรับโครงสร้างต้นทุน จัดการทำงานอย่างเป็นระบบ ก่อนจะเริ่มไอเดียใหม่ ๆ ต้องหันกลับมาแก้ปัญหาเดิม ๆ และอุดรอยรั่วของธุรกิจเสียก่อน โดยโครงสร้างต้นทุนในแต่ละด้านจะต้องอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่ ค่าแรงพนักงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หากคำนวณแล้วด้านไหนมีต้นทุนสูงจนเกินไป อาจจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจได้กำไรตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ระบบการทำงานในร้านก็ต้องชัดเจน ทั้งการเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้ได้คุณภาพคงที่ มีการจัดทำ Standard Operation Procedures (SOPs) หรือคู่มือการทำงานและสูตรมาตรฐานสำหรับเมนูอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้รสชาติของอาหารผิดเพี้ยน ช่วยลดปัญหาด้านพนักงาน และยังควบคุมต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้โดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องเข้ามาควบคุมดูแลเองทุกขั้นตอน   สร้างความโดนเด่นและแตกต่าง ตอบโจทย์ให้ได้ว่าลูกค้าจะจดจำแบรนด์ร้านของเราอย่างไร นอกจากรสชาติอาหารและเครื่องดื่มที่อร่อยแล้ว ยังต้องหาจุดขายที่ทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสตอรี่ให้กับแบรนด์ การตกแต่งร้านสไตล์ต่างๆ การนำเสนอที่แปลกใหม่ […]

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ พลิกโฉมกาแฟห้องแถว สู่ร้านกาแฟทันสมัยแต่แฝงกลิ่นไอความคลาสสิก

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ มีวิธีการปรับตัวเพื่ออยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงอย่างไร และมีเคล็ดลับการรักษาแบรนด์อย่างไร ไม่ให้ถูกกลืนหายไปกับกระแสสังคม

เปิดร้านอาหารวันแรก

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก หลายคนคงตื่นเต้นและดีใจที่ความฝันของตัวเองสำเร็จสักที แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินไป เพราะบางครั้งวันแรกก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด

เทคนิคตกแต่งจาน

เทคนิคตกแต่งจาน ช่วยประหยัดวัตถุดิบ

แต่งจานไปทำไม ในเมื่อไม่มีใครสนใจ และนอกจากลูกค้าไม่กินแล้ว ยังถือเป็นค่าใช้จ่ายที่คุณต้องแบบรับอีกด้วย เราจึงมี เทคนิคตกแต่งจาน ฉบับประหยัดวัตถุดิบมาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.