5 เหตุผลที่ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการธุรกิจร้านอาหาร - Amarin Academy

5 เหตุผลที่ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการธุรกิจร้านอาหาร

5 เหตุผลที่ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการธุรกิจร้านอาหาร

ในยุคดิจิทัลอย่างเช่นทุกวันนี้ การที่เราใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน การสื่อสารกันผ่านโลกออนไลน์ และ AI  ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ โดยหลายภาคส่วนได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาผนวกรวมไว้ในระบบกันอย่างจริงจัง ในธุรกิจร้านอาหารเองก็มีเทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการให้ง่ายขึ้น และนี่คือ 5 เหตุผลที่ทำไมเจ้าของธุรกิจร้านอาหารจำเป็นต้องเริ่มใช้เทคโนโลยี มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดการธุรกิจร้านอาหาร ของตัวเอง

 

1.เพิ่มโอกาสในการมองเห็นและเพิ่มรายได้ของแบรนด์

ผู้บริโภคมากมายใช้อินเทอร์เน็ตในการเสาะหาร้านอาหารสำหรับตัวเอง หากคุณทำหน้าตาเว็บไซต์ของร้านให้ดูดี มีการอัพเดทโซเชียลมีเดียอยู่ตลอดเวลา  หรือทำให้คนเสิร์ชหาร้านจาก Google ได้โดยง่าย (มีการทำ SEO) ก็จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ได้ดีขึ้น การมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายบนโลกออนไลน์ จะช่วยสร้างและส่งเสริมแบรนด์ ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการโปรโมทผ่านช่องทางออฟไลน์ อย่างโฆษณาบิลบอร์ด โฆษณาในนิตยสาร ฯลฯ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนคนเข้าถึง และยังมีราคาที่แพงกว่าการซื้อโฆษณาบนสื่อออนไลน์อยู่มาก

2.ปรับเปลี่ยนได้ทันใจ

เทคโนโลยีทำให้เกิดการคิดค้นและนวัตกรรมที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับวงการธุรกิจร้านอาหาร มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจคือ การเกิดขึ้นของ เมนูดิจิทัล  นอกจากจะแสดงหน้าตาของอาหารตามจริงได้แล้ว เมนูดิจิทัลยังอัปเดตแบบนาทีต่อนาที นั่นหมายความว่า พนักงานเสิร์ฟในร้านไม่ต้องมาคอยขอโทษลูกค้าว่าอาหารที่พวกเขาสั่งนั้นหมดไปแล้ว เพราะเมนูดิจิทัลสามารถตรวจสอบได้ว่าส่วนผสมหรือวัตถุดิบใดหมดไปแล้วบ้าง ทำให้คุณหรือพนักงานเสิร์ฟสามารถนำเอารายชื่ออาหารที่ปรากฏอยู่บนเมนูดิจิทัล ออกจากเมนูได้ภายในไม่กี่วินาที

 

3.ลดความผิดพลาดจากการรับออเดอร์

หากใครเคยไปกินสุกี้ที่ร้าน MK อาจพอคุ้นกับเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติกันมาบ้าง โดยลูกค้าสามารถกดดูเมนูและสั่งอาหารจากเครื่องรับออเดอร์นี้ได้โดยตรง การนำระบบการสั่งอาหารแบบดิจิทัลเข้ามาใช้ภายในร้าน นอกจากจะช่วยลดความผิดพลาดในการรับออเดอร์ของพนักงานเสิร์ฟแล้ว ลูกค้ายังสามารถตรวจสอบรายละเอียดของเมนูที่สั่งไปว่าครบถ้วนหรือไม่ สามารถตรวจเช็คขั้นตอนของอาหารแต่ละจานได้จากหน้าจอ รวมถึงแก้ไขเมนูคำสั่งด้วยตัวเอง (ในกรณีที่พนักงานครัวยังไม่ได้ปรุงอาหารจานนั้น) ได้อย่างทันท่วงที กล่าวอีกนัยหนึ่งระบบดิจิทัลช่วยจัดระเบียบคำสั่งซื้อให้เจ้าของร้านอาหาร ให้มีความถูกต้องโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสร้างความพึงพอใจของลูกค้าให้มากขึ้น

 

4.มอบความสะดวกให้ลูกค้า ด้วยการเพิ่มทางเลือกในการชำระเงิน

ตั้งแต่ธนาคารหลายๆ แห่ง ออกมาประกาศฟรีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมประเภทต่างๆ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกสะดวกสบายในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สำหรับร้านอาหารการเปิดให้ชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล นอกจากจะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าแล้ว ยังดีในแง่ของการติดตามและการทำบัญชีอีกด้วย เนื่องจากคุณสามารถติดตามรายรับและค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ ในขณะเดียวกันก็ลดความเป็นไปได้ที่เงินอาจหายไปจากลิ้นชัก โดยจับมือใครดมไม่ได้

5.หมดเรื่องปวดหัวกับการจัดการสต็อกสินค้า

หนึ่งในเรื่องน่าปวดหัวของคนทำธุรกิจร้านอาหารคือ การจัดการสต็อกสินค้าอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ แม้กระทั่งเจ้าของร้านและผู้จัดการร้านที่มีความชำนาญเป็นอย่างมากหลายคน ก็คงเคยประสบกับอาการปวดหัวที่ว่านี้กันมาแล้ว นั่นจึงเป็นช่องว่างให้เกิดแอฟพลิเคชั่นและโปรแกรมต่างๆ ที่มาช่วยในส่วนของระบบการจัดการข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดขึ้น

เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้การจัดการสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างสมบูรณ์ โดยใช้ข้อมูลการขายเพื่อคาดการณ์ความต้องการและลำดับการผลิต เพื่อลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด จึงสามารถรับประกันการสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งคือจำกัดการสูญเสียและเพิ่มรายได้ให้กับร้านอาหารนั่นเอง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 เทคโนโลยี SME ควรรู้ เหนื่อยน้อยลง เวลามากขึ้น

เทคโนโลยีสำหรับร้านอาหาร ‘Mobile Order’

7 Wastes ในร้านอาหาร ลดได้ กำไรพุ่ง!

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหารเจ๊ง

9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง !

รู้หรือไม่ 60 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหาร ปิดกิจการหรือเปลี่ยนเจ้าของภายใน 1 ปี เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะมาดู 9 เหตุผลที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง กัน

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า  ( SOP การเตรียมวัตถุดิบ + Portion Control = Perfect Dish ) ก่อนจะได้อาหารเลิศรสสักหนึ่งจานต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบ และหากว่าร้านอาหารของคุณต้องใช้ผักคะน้าจำนวนมาก แล้วคุณกำลังหาซื้ออยู่ที่ตลาดไท คุณจะเลือกผักคะน้าคละ หรือผักคะน้าคัดดีล่ะ ? สมมติว่าราคาผักคะน้าคละ ในตลาดไท ราคากิโลกรัมละ 23 บาท ก่อนจะนำมาปรุงได้ ต้องตัดใบแก่ ใบเหี่ยว ใบเหลืองทิ้ง ไป และตัดส่วนลำต้นที่แข็งออก คุณอาจจะเหลือผักคะน้าที่ใช้จริงแค่เพียง 7 ขีดเท่านั้น เท่ากับว่าต้นทุนจะไม่ใช่ 23 บาทต่อ 1 กิโลกรัมอีกต่อไป แต่จะเป็น 33 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม   นอกจากนี้คุณยังต้องเสียเวลาไปกับการคัดแยกเอาผักคะน้าสวยๆ ออกจากกองที่คละกันอยู่อีกต่างหาก ทำให้ต้องเสียคนไปด้วยหนึ่งคนกับกระบวนการนี้ และอย่าลืมว่าวัตถุดิบ คน และเวลา […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.