กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก - Amarin Academy

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

การทำ ธุรกิจขนาดเล็ก บางคนอาจกลัวว่าจะเจอคลื่นลูกใหญ่ซัดมาแล้วทำให้เซไป จนไม่กล้าที่จะลองลงมือทำอะไรใหม่ๆ กลายเป็นยึดติดอยู่กับความสำเร็จเดิมๆ แต่หากคุณเรียนรู้ที่จะรับมือกับปัญหา ก็อาจทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปได้อย่างก้าวกระโดด เราเลยลองเอาแนวทางและวิธีในการรับมือกับปัญหาบางส่วนมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองกันดู

การจ้างงานและการรักษาพนักงานให้อยู่กับคุณ

ท่ามกลางการแข่งขันในโลกธุรกิจ การจ้างงานและการเก็บคนเก่งไว้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องตระหนักถึงเป็นเรื่องแรกๆ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กกว่า 20% บอกว่าการรักษาพนักงานเอาไว้ไม่ได้ เป็นอุปสรรคใหญ่ในการเติบโตของธุรกิจ

พนักงานจะอยู่กับคุณได้นานขนาดไหน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจ้างงาน สิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้คือไม่ใช่แค่เพียงจ้างคนที่สามารถทำงานได้ แต่ควรจ้างคนที่รักในสิ่งที่ตัวเองทำและสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้ เจ้าของธุรกิจต้องตระหนักว่า เมื่อพนักงานทำงานอย่างหนักก็ควรจะได้รับผลตอบแทนที่ดี ไม่ว่าจะเป็นวันพักร้อน ประกันชีวิต โบนัสเพื่อสร้างกำลังใจในการทำงานและช่วยสร้างให้เป็นที่ที่น่าทำงานด้วย

อย่างร้าน Copper Buffet ที่มีนโยบายในการให้สวัสดิการที่ดีแก่พนักงาน หรือ The Yard Hostel โฮสเทลเล็กๆ ที่มีพนักงานเพียง 6 คน ก็ใช้วิธีสร้างความใกล้ชิดระหว่างเจ้าของและพนักงาน โดยทุกคนสามารถพูดคุยปรึกษาปัญหากันได้ทุกเรื่อง ทำให้พนักงานยังคงเป็นชุดเดิมตั้งแต่วันเปิด (ปลายปี 2558) จนถึงปัจจุบัน

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้

การนำเทคโนโลยีมาใช้ถือเป็นโอกาสของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ดัชนีการเติบโตในภาพรวมของธุรกิจขนาดเล็กพบว่า 65% ของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเชื่อว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยทำให้การทำงานเป็นไปได้ง่ายและราบรื่นขึ้น

การปรับตัวให้เข้ากับความก้าวหน้าอาจเป็นเรื่องยากและมีราคาแพง อย่างไรก็ตามความสามารถในการปรับตัวได้เร็ว ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กมีข้อได้เปรียบ เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์และเมนเฟรมไปสู่ Cloud อาจเป็นกระบวนการที่ทำได้ง่ายกว่า  และยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างเครื่องรับออเดอร์อัตโนมัติ เครื่องเรียกคิวไร้สาย ระบบช่วยในการเก็บข้อมูลการขาย รวมทั้งบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับสินค้าและบริการ (POS) ฯลฯ ก็จะช่วยให้ประหยัดทั้งกำลังคนและค่าใช้จ่าย (ในระยะยาว) นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความสะดวกสบายให้เกิดขึ้นแก่ผู้เข้ามาใช้บริการได้ในอีกทางหนึ่ง

 

การบริหารจัดการเวลา

การบริหารเวลาอาจเป็นปัญหาที่หลายคนหนักใจ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่มักสวมหมวกหลายใบ รับบทบาทในหลายหน้าที่ จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลามาทำทุกตำแหน่งในร้าน ไม่มีเจ้าของธุรกิจคนไหนเก่งในด้านการบริหารจัดการทุกเรื่องมาตั้งแต่แรก คุณอาจพบว่าตัวเองเสียเวลาไปกับการจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าปวดหัว แทนที่จะไปทุ่มเทเวลาและความสนใจให้กับเรื่องหลักอย่างการบริการ คุณภาพและรสชาติของอาหาร

อย่าประมาทการจัดลำดับความสำคัญของงาน สร้างเป้าหมายรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ และรายวันที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถโฟกัสกับสิ่งที่จะต้องทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย นอกจากนี้หากงานไม่สอดคล้องกันเป้าหมายคุณจะได้รู้ว่างานไหนไม่จำเป็น งานไหนที่สามารถมอบหมายให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในทีมไปจัดการ หรืองานไหนที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยประหยัดเวลาได้

แม้ว่าธุรกิจขนาดเล็กอาจไม่มีทรัพยากรมากมายเท่าองค์กรขนาดใหญ่ แต่ธุรกิจขนาดเล็กมักมีความยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ในบางธุรกิจมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับชุมชนในท้องถิ่นของตน ที่มักก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เป็นข้อได้เปรียบในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ

เจ้าของธุรกิจอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมาย จากการบริหารจัดการและการเติบโตของธุรกิจ แต่ถ้ามองให้เรื่องท้าทายเป็นโอกาสและเป็นตัวช่วยให้คุณเข้มแข็งขึ้น นั่นก็จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจของคุณเติบโต

บทความที่น่าสนใจ

FIFO วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ช่วยลดต้นทุนได้จริง!

เปิดร้านอาหาร แล้วไม่เจ๊ง ต้องทำอย่างไร?

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี และมีกำไร

หลายคนที่ลงทุนเปิดร้านอาหาร มีทำเลมี ทีมงานแน่น อาหารอร่อย แต่ตกม้าตายตรงการจัดการซะนี่ อย่างนั้นมาดูวิธี เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี และมีกำไร กันดีกว่า

Cloud Kitchen

Cloud Kitchen เช่าครัวลดต้นทุน-ขยายสาขาได้ไม่ยาก

ในปัจจุบันมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบ Cloud มากมาย ซึ่งมีทั้งการใช้เก็บข้อมูล การดูหนังฟังเพลงออนไลน์ และยังขยายมาถึงธุรกิจอาหารอย่าง “ Cloud kitchen ” ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจอาหารที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ โมเดลนี้มีจุดเด่นอย่างไร และเหมาะกับร้านอาหารแบบไหน มาหาคำตอบจากบทความนี้กันครับ  Cloud Kitchen เช่าครัวลดต้นทุน-ขยายสาขาได้ไม่ยาก  Cloud.kitchen คือ ? Cloud.kitchen เป็นร้านอาหารในรูปแบบไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน มีแค่ครัวสำหรับทำอาหารส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็น Ghost kitchen ในแบบที่มีความร่วมมือทางธุรกิจมากขึ้น จากมีการใช้ “ครัวกลาง” ซึ่งเป็นการเช่าพื้นที่ทำครัวและอุปกรณ์ต่างๆ แชร์ร่วมกับร้านอาหารแบรนด์อื่นด้วย เข้าร่วมครัวกลางได้ประโยชน์อย่างไร ?  จุดเด่นสำหรับโมเดลนี้ จะคล้ายกับการเปิด Ghost kitchen ก็คือต้นทุนที่ลดลงมากในส่วนของค่าเช่าที่ การตกแต่งร้าน ค่าแรงพนักงาน และยังช่วยแก้ปัญหาทำเลของร้าน ซึ่งโดยปกติแล้วทำเลที่ดีจะมีราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือการเช่าพื้นที่ การเช่าครัวกลางจึงช่วยให้ร้านสามารถจัดตั้งอยู่ในทำเลที่ดี สะดวกต่อการจัดส่งถึงลูกค้ามากขึ้น โดยไม่ต้องใช้ค่าเช่าที่ในราคาแพง หรือกังวลว่าพื้นที่ร้านจะเล็กเกินไปหรือไม่  ธุรกิจอาหารแบบไหนที่เหมาะกับโมเดลนี้ โมเดลนี้นอกจากจะเหมาะสำหรับการทดลองเปิดร้านอาหารใหม่แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ร้านอาหาร สามารถขยายสาขาร้านได้ในงบประมาณที่ไม่สูงจนเกินไป โดยเฉพาะในรูปแบบเดลิเวอรี ไม่ต้องเปิดหน้าร้านเต็มรูปแบบ บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น แค่เช่าพื้นที่และจ้างพนักงานมาทำอาหารในครัว […]

เรียนรู้นิสัยของทำเล ก่อนตัดสินใจเช่าพื้นที่

ย่านออฟฟิศ สำนักงาน (Office area) ทำเลย่านออฟฟิศ สำนักงานเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนคือ พนักงานออฟฟิศ แต่อาจมีกำลังซื้อแตกต่างกันในแต่ละทำเล ยิ่งเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง สาทร สีลม อโศก ฐานรายได้เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าก็อาจจะมากขึ้น ค่าเช่าก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาขายของร้านอาหารจะสูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานที่อยู่ถัดออกมา เช่น ย่านพหลโยธิน ทาว์อินทาวน์ หรือแจ้งวัฒนะ ทำให้ร้านอาหารที่อยู่ในทำเลออฟฟิศ สำนักงานในเมืองส่วนใหญ่ จึงเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (Check Average) ที่สูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานนอกเมือง วันธรรมดา ช่วงเช้า – อาจจะขายแบบ Grab and go ได้ ถ้าทำเลตรงนั้นเป็นทำเลที่อยู่ในหรือใกล้อาคารสำนักงาน  หรืออาจจะอยู่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารสำนักงาน เพราะพนักงานออฟฟิศโดยมากมักจะซื้อก่อนขึ้นไปทำงานตอนเช้า ช่วงกลางวัน – จะขายดีช่วง 11.30 – 13.30 น. โดยอาหารอาจจะต้องเป็นประเภทที่ใช้เวลาปรุงไม่นาน เพื่อที่ทางลูกค้าจะได้รีบทานและรีบกลับไปทำงาน ในอีกมุมหนึ่งก็จะทำให้ร้านอาหารสามารถทำรอบ ได้มากขึ้นด้วย ช่วงเย็น – ช่วงเวลาหลังเลิกงานคือ 17.30 – 20.00 น. […]

Food delivery

เทคนิคทำ Food Delivery อย่างไรให้ปัง

จะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จและมัดใจลูกค้าให้อยากกลับมาใช้บริการซ้ำได้นั้น เรื่องนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เจ้าของธุรกิจต้องคำนึงถึง ลองมาดูวิธีการทำ Food Delivery ให้ปังด้วยเทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้กันครับ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.