5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่ - Amarin Academy

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

ยุคนี้คนรุ่นใหม่หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น แน่นอนว่าคนรุ่นใหม่ย่อมมีไฟทางความคิด และความคิดสร้างสรรค์ดีๆ มากมาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจไม่มากพอ จนอาจก้าวพลาดในบางข้อ วันนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ฟังว่า ข้อพลาดของนักธุรกิจ มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจครับ

 1.ไม่กำหนดเป้าหมายก่อนลงมือทำ

เป้าหมาย ถือเป็นสิ่งแรกที่ควรคิดถึงเมื่อเริ่มทำธุรกิจ แต่เป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม (ส่วนใหญ่มักโฟกัสกับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากกว่า) โดยเป้าหมายที่ต่างกัน ก็จะส่งผลให้วิธีการดำเนินงานต่างกันด้วย เช่น หากคุณกำหนดเป้าหมายว่าต้องขยายร้านให้ได้ 3 สาขา ภายใน 5 ปี สิ่งที่คุณต้องทำคือ เร่งพัฒนาระบบงานให้ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อรองรับการเติบโต แต่หากเป้าหมายของคุณคือ การเพิ่มยอดขายให้แตะหลักล้านภายใน 1 ปี สิ่งที่คุณต้องทำคือเร่งทำการตลาดทุกช่องทาง เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จัก กระตุ้นให้เกิดการซื้อมากที่สุด

ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมาย ควรแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะยาว เพื่อให้เห็นภาพรวมธุรกิจทั้งหมดในอนาคต ระยะกลาง เพื่อกำหนดเส้นทางในการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายระยะยาว และระยะสั้น เพื่อจะได้ทราบว่าควรวางแผนดำเนินการอย่างไรเพื่อพิชิตเป้าหมายในแต่ละระยะได้สำเร็จ

2.ไม่วางแผนและกำหนดสัดส่วนการลงทุน

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลายคนมักประสบปัญหา “งบประมาณบานปลาย” สาเหตุหลักมาจากการไม่กำหนดสัดส่วนเงินลงทุน เช่น ร้านอาหารจำเป็นต้องแบ่งงบประมาณด้านค่าเช่าพื้นที่ การก่อสร้างหรือตกแต่งร้าน อุปกรณ์ครัว พนักงาน วัตถุดิบ และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากกำหนดงบประมาณแค่คร่าวๆ สุดท้ายแล้ว เงินอาจไม่พอสำหรับลงทุนในด้านอื่นๆ

หมายเหตุ: ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของร้านอาหารมักประสบปัญหางบประมาณส่วนตกแต่งร้านบานปลาย (เพราะต้องการให้ร้านในฝันสวยที่สุด) ไหนจะค่าโครงสร้าง ค่าตกแต่ง ค่าเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งร้านต่างๆ ฉะนั้นก่อนจะแต่งร้าน คำนึงไว้เสมอว่า คุณยังต้องใช้เงินลงทุนอีกมากในด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าร้านสวยแค่ไหน แต่พนักงานไม่พอ อาหารออกช้า วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ เพราะเงินหมด ธุรกิจก็ไม่ประสบความสำเร็จแน่นอน

3.พยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง                                                 

เชื่อว่าข้อนี้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เป็นกันทุกคน เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่เมื่อกิจการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ คุณต้องหยุดทำงานทุกอย่างเอง แต่ต้องแบ่งงานบางส่วนให้ลูกน้องทำ เพื่อที่ตัวเองจะได้เอาเวลาไปโฟกัสงานที่สำคัญและจำเป็น เช่น การวางแผนการเติบโตในอนาคต เป็นต้น

4.รอให้ทุกอย่าง Perfect ค่อยเริ่มลงมือ

ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ ยิ่งการทำธุรกิจ มักมีปัญหาเข้ามาให้แก้เสมอ ฉะนั้นถ้าคุณมัวแต่รอให้ทุกอย่างสมบูรณ์ 100% ก็อาจไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจเลยก็ได้ แต่สิ่งที่คุณทำได้คือ ทำทุกอย่างให้เต็มที่และเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

5.ยึดความต้องการตัวเองมากกว่าลูกค้า

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือฟังความต้องการของลูกค้าและนำมาต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ตรงจุด แต่จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจส่วนใหญ่ มักเริ่มจากความต้องการของผู้ประกอบการ เช่น อยากเปิดร้านอาหาร อยากทำธุรกิจโรงแรม อยากขายสินค้าออนไลน์ และอีกสารพัดอยาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่คุณอยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่ปัญหาสำคัญคือ การที่คุณจะนำสิ่งที่ตัวเองชอบ มาสร้างรายได้นั้น แค่ความชอบของคุณคนเดียวคงไม่พอ แต่ต้องศึกษาความชอบของลูกค้า ซึ่งเป็นผู้ที่จะจ่ายเงินให้คุณด้วย เพราะบางครั้งสิ่งที่คุณคิดว่าดี อาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ

ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตัวเองชอบอะไร อย่าเพิ่งลงมือทันที ควรศึกษาความต้องการของลูกค้าด้วย และนำทั้ง 2 สิ่งมาชั่งน้ำหนัก หาจุดร่วม เพื่อสร้างเป็นสินค้าและบริการที่คุณเองก็มีความสุขที่จะทำ และลูกค้าก็ยินดีที่จะซื้อ

เรื่องแนะนำ

โครงสรา้ง ต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร รู้ไว้…ไม่มีเจ๊ง

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร คือตัวชี้แนะแนวทางว่า ถ้าคุณจะเปิดร้านอาหารสัก 1 ร้าน ควรลงทุนกับสิ่งใดเท่าไรบ้าง และถ้าลงทุนเท่านี้ กี่ปีถึงจะคืนทุน

เซตอัพทีมงานหน้าร้าน ทัพสำคัญเพิ่มยอดขาย

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ร้านอาหารขายดี ? หนึ่งในคำตอบ ก็คือการบริการให้ดี เพราะเรื่องบริการ ไม่ใช่แค่เสิร์ฟอาหาร แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าและผู้ที่เป็นด่านหน้าในการทำหน้าที่นี้ในร้านอาหาร ก็คือ ทีมงานหน้าร้าน จึงมีความสำคัญที่เจ้าของร้านอาหารจะต้องวางระบบเพื่อสร้างมาตรฐานในการทำงานให้เกิดขึ้นให้ได้ ทีมงานหน้าร้านประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ในการบริหาร และจัดการร้านอาหาร ดูแลความเรียบร้อย ทั้งวางแผนและการแก้ปัญหา ผู้จัดการร้านต้องดูแลให้ทีมงานทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ยังมีหน้าที่สำคัญในการบริหารและจัดการยอดขายให้เป็นไปได้ตามเป้าอีกด้วย ดูหน้าที่ผู้จัดการร้านต้องเก่งอะไรบ้าง Click link  พนักงานต้อนรับ ส่วนใหญ่ร้านอาหารประเภท Casual และ Fine Dinning จะมีการจ้างพนักงานต้อนรับ ทำหน้าที่เป็น Host ในการต้อนรับลูกค้า จัดคิวในช่วงเวลาลูกค้าเยอะ ถือเป็นคนแรกที่ได้พูดคุยให้คำแนะนำร้านอาหารแก่ลูกค้า และเป็นคนสุดท้ายที่จะกล่าวลาลูกค้าและเชื้อเชิญให้กลับมาอีกครั้ง พนักงานต้อนรับจึงต้องมีทักษะในการจัดการ และมี Service mind ยิ้มแย้มแจ่มใส และบุคลิกที่สะท้อนต่อรูปแบบร้านอาหารเป็นอย่างดี แคชเชียร์ พนักงานเก็บเงิน ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน การจัดทำบิล คิดเงิน ทอนเงินที่ถูกต้องให้แก่ลูกค้า บางครั้งแคชเชียร์ต้องรับหน้าที่ในการจองโต๊ะด้วยถือเป็นด่านแรกที่ได้คุยกับลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าอยากมาใช้บริการหรือเกิดความประทับใจหรือไม่ด้วยเหมือนกัน พนักงานออกอาหาร / พนักงานเสิร์ฟ เป็นตำแหน่งที่ต้องเผชิญหน้ากับลูกค้ามากที่สุด จะต้องมีความรวดเร็ว แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี […]

ตั้งราคาอาหาร

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร

หลายคนไม่รู้จะตั้งราคาอาหารของตัวเองเท่าไร ตั้งสูงไปก็กลัวขายไม่ได้ ตั้งต่ำไปก็กลัวจะขาดทุน วันนี้จึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการ ตั้งราคาอาหาร มาฝาก

ทำอาหารไม่เป็น

ทำอาหารไม่เป็น เปิดร้านอาหารได้ไหม ?

จากการที่เราสังเกตและวิเคราะห์พบว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้มีคุณสมบัติเหมือนกันบางอย่าง ที่ทำให้เขาเปิดร้านอาหารได้ ทั้งๆ ที่ ทำอาหารไม่เป็น เราจะมาสรุปให้ฟัง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.