5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ - Amarin Academy

5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

5 เคล็ดลับของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

ถ้าคุณกำลังรู้สึกท้อกับการทำธุรกิจ เราอยากให้อ่านเรื่องของ ทาดาชิ ยานาอิ ประธานบริษัท ยูนิโคล่ บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ผู้ที่เคยเกือบล้มละลาย จากการวางกลยุทธ์ทางการตลาดผิดพลาด

เขาเคยเขียนหนังสือที่ชื่อว่า “ชนะหนึ่ง แพ้เก้า” เอาไว้ ในหนังสือเผยให้รู้ว่าเขาวางแผนไว้ 10 อย่างแต่ล้มเหลวไปเสีย 9 อย่าง แต่ความสำเร็จหนึ่งเดียวนั้น ทำให้เขาก้าวไกลจนยืนหยัดเป็น ยูนิโคล่ ในทุกวันนี้…

งานที่ทาดาชิ ยานาอิ ทำอย่างมีความสุขและทำให้เขาประสบความสำเร็จ ณ วันนี้เป็นงานเดียวกับที่เขาเคยคิดว่าไม่น่าจะทำได้ โดยยานาอิมีเคล็ดลับที่อยากฝากให้คนหนุ่มสาวเป็นพิเศษ 5 ข้อ คือ

1.อย่าด่วนตีกรอบตัวเอง

ในวัยที่ชีวิตเพิ่งเริ่มต้น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่าตัวเองเหมาะหรือไม่เหมาะกับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ควรลองทำดูก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่ามันไม่เหมาะกับตัวเองจริงๆ

2.จงมีความเชื่อมั่น

อย่ายอมให้ใครมาบอกคุณว่า “ทำไม่ได้” แม้คัมภีร์การตลาดฉบับมาตรฐานสอนไว้ว่า เวลาจะขายอะไรสักอย่าง เราต้องกำหนดลักษณะกลุ่มเป้าหมาย เช่น อายุ เพศ รายได้ ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ อย่างชัดเจน จะได้ผลิตสินค้าและทำการตลาดได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

อีกเหตุผลหนึ่งคือการคิดผลิตภัณฑ์เพื่อคนทุกคนเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่าจะเป็นไปได้…แต่ทาดาชิกลับคิดตรงกันข้าม เพราะแต่ไหนแต่ไรมาเขาตั้งใจจะผลิตเสื้อผ้าที่คนทุกเพศทุกวัยสมใส่ได้โดยไม่ขึ้นกับยุคสมัย และเขาย้ำเสมอว่าอย่าออกแบบเสื้อผ้าให้โดดเด่นจนกลบตัวคนใส่ จะว่าไปแล้วแนวคิดนี้ก็เหมือนกับแนวคิดของสตีฟ จอบส์ ที่ออกแบบแอปเปิลให้มีดีไซน์เรียบง่าย แต่ถูกใจคน (เกือบ) ทั้งโลก และจะเห็นว่ากฎทุกกฎมีข้อยกเว้นทั้งนั้น จงอย่าให้กฎเกณฑ์ใดๆ กลายมาเป็นข้อจำกัดของคน

3.คำนึงถึงคุณภาพ

แม้จะขายแต่เสื้อผ้าแบบพื้นฐานทว่าซีอีโอผู้นี้ให้ความสำคัญกับคุณภาพอย่างที่สุด เขาจึงทุ่มเททรัพยากรให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาก เช่น ผ้าฟลีซ (fleece) ซึ่งแต่เดิมเป็นผ้าที่ใช้ในวงการกีฬาเท่านั้น เขาก็ให้ทีมพัฒนาจนมันมีเนื้อเบาลง มีหลายสีหลายแบบและเป็นสินค้าที่ใช้ทำตลาดในช่วงปีแรกๆ หรือฮีตเทค (heattech) ผ้าเนื้อบางราวกับผิวหนังชั้นที่สองแต่ให้ความอบอุ่นก็เป็นสินค้ายอดฮิตในปัจจุบัน

4.เรียนรู้จากความผิดพลาด

ทาดาชิรู้ดีว่าญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อจำกัด ส่วนตลาดนอกญี่ปุ่นนั้นมีขนาดใหญ่มาก เขาจึงพยายายามไปเปิดตลาดในต่างประเทศ ปี ค.ศ.2001 เขาได้ไปเปิดสาขาที่อังกฤษถึง 20 สาขา แต่ทว่าทั้งหมดต้องปิดตัวลงในเวลาแค่สามปี เช่นเดียวกับตอนไปบุกตลาดที่จีนและอเมริกาในปี ค.ศ.2005 ทุกสาขาต้องปิดตัวลลงภายในเวลาไม่ถึงปี ซึ่งทำให้บริษัทเกือบจะล้มละลาย แต่ในที่สุดเขาก็คิดกลยุทธ์ใหม่ คราวนี้แทนที่จะเปิดร้านเล็กๆ หลายๆ แห่ง เขาเลือกเปิดร้านที่มีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าแฟล็กชิปสโตร์ เพื่อให้ร้านนี้ทำหน้าที่สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าในท้องถิ่นนั้นๆ

ร้านใหม่ที่นิวยอร์กสร้างขึ้นในปี ค.ศ.2006 มีขนาด 36,000 ตารางฟุต ตามมาด้วยสาขาที่ 2 และ 3 ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ ซึ่แม้จะใหญ่โตราวกับสนามฟุตบอล แต่ทุกวันนี้ก็มีคนเดินเต็มร้าน จนเรียกได้ว่าไหล่ชนไหล่กันเลยทีเดียว

5.ใส่ใจโลกและสังคม

เขาให้นโยบายไว้ว่าบริษัทต้องให้ความสำคัญกับการกุศลและท้องถิ่นยิ่งกว่าการทำเป้าการขาย เพราะทาดาชิตั้งใจจะสร้างบริษัทของเขาให้เป็นแบรนด์ระดับโลก ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าบริษัทไม่ใส่ใจโลกและสังคมก่อน

หากยังสงสัยว่ามหาเศรษฐีผู้นี้ไฟแรงขนาดไหน ก็ตอบได้ว่าแม้บริษัทของเขาจะก้าวมาได้ไกลขนาดนี้ แต่ทาดาชิ ยานาอิ ก็ยังยืนยันว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

ข้อมูลจาก: คิดแบบคนธรรมดาไปทำไม คิดแบบคนที่สำเร็จง่ายกว่า สำนักพิมพ์อมรินทร์

ขอบคุณภาพจาก: style-republik.com

fastretailing.com

เรื่องแนะนำ

muji

ถอดบทเรียนความสำเร็จ ทำไม Muji ถึงครองใจคนทั่วโลก

Muji แบรนด์ค้าปลีกชื่อดังจากญี่ปุ่น เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2006 เพราะอะไร Muji จึงประสบความสำเร็จ ครองใจคนทั่วโลกถึงเพียงนี้ ไปติดตามกันเลย  

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? รวมความคิดเห็นจากคนทำร้านกาแฟ เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป ร้านคุณกำลังเผชิญกับภาวะยอดขายตก ลูกค้าหายอยู่หรือเปล่า ? เจ้าของร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์ตั้งคำถามในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เกี่ยวกับการทำธุรกิจของตนเองในขณะนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า เดี๋ยวนี้ลูกค้าหายไปไหนหมด โดยโพสต์ดังกล่าวได้ระบุข้อความว่า “#ลูกค้าหายไปไหน มาชวนเพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อย คิดว่าตอนนี้หลายร้านคงเจอกับภาวะ “นั่งตบยุง” “นั่งไถมือถือ” “นั่งดู Netflix” เราเป็นคนนึงที่เคยไม่กินกาแฟ แต่พอเปิดร้านกาแฟกลายมาเป็นคอกาแฟ ขาดกาแฟไม่ได้สักวัน เปิดร้านกาแฟมาเข้าปีที่ 7 เราเริ่มสงสัยว่า “ลูกค้าหายไปไหน” ทั้ง ๆ ที่ในซอยที่ร้านเราอยู่ ไม่มีร้านกาแฟจริงจังที่เป็นคู่แข่ง อาจจะมีร้านชากาแฟที่เป็นคีออสบ้าง แต่ถ้าร้านกาแฟจริงจังมีเราร้านเดียว พอลูกค้าหายไป เราเลยเริ่มสงสัยว่าลูกค้าหายไปไหน หรือเกิดจากกระแส 1. กาแฟดริป/Moka pot ทานเองที่บ้าน 2. เครื่องทำกาแฟแคปซูล 3. กาแฟในร้านสะดวกซื้อ 4. ลูกค้าเลิกกินกาแฟ 5. ลูกค้าไปทานร้านอื่น เพื่อนๆ ช่วยเราคิดหน่อยว่าลูกค้าหายไปไหน?” . หลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีทั้งเจ้าของร้านกาแฟ และผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกัน โดยสรุปเป็นหลายปัจจัยดังนี้ ชงกินเองที่บ้าน […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

ทำร้านอาหาร

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หลายคนชอบบอกว่าเขาอยากทำร้าน เพราะชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินมีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านเลย

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.