ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ?

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ?

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่
ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ?
ปรับปรุงอาคาร ที่จอดรถ เพื่อพาณิชย์
กฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนทำคาเฟ่

ธุรกิจคาเฟ่ยังคงเป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ประกอบการหลายต่อหลายคนให้ความสนใจที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาด ด้วยความนิยมนี้จึงทำให้เราสามารถพบเห็นการเปิดร้านคาเฟ่ใหม่ได้เรื่อย ๆ ซึ่งก็มีทั้งร้านขนาดใหญ่ กลาง เล็กคละกันไป แม้ว่าธุรกิจรูปแบบนี้จะเปิดได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าในการทำธุรกิจก็ยังต้องให้การคำนึงถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะในการเริ่มต้นเปิดร้าน ที่จะมีกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปลง ออกแบบอาคารเข้ามาเกี่ยวข้อง


ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นที่นั้น ๆ มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีความปลอดภัย รวมถึงมีเสถียรภาพในเชิงภาษีและการทำบัญชีในอนาคต แม้ว่าร้านกาแฟขนาดเล็กอาจไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายบางข้อ แต่การรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ ก็จะช่วยเปิดมุมมอง หรือทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อถึงคราวที่ต้องการขยับขยาย ว่าแต่เราควรรู้กฎหมายอะไรบ้าง ? มาดูกัน

 

  • กฎหมายควบคุมอาคารเบื้องต้น

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามทางกฎหมายอาคารของ “ร้านกาแฟหรือคาเฟ่” ว่าร้านรูปแบบนี้เข้าข่ายทั้งการเป็น “อาคารพาณิชย์” และ “ภัตตาคาร” จึงต้องทำการพิจารณากฎหมายของทั้งสองส่วนไปพร้อม ๆ กัน โดย ทางกฎหมายได้มีการนิยามว่า

– อาคารพาณิชย์ คือ อาคารใด ๆ ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้ และเป็นอาคารที่ก่อสร้างห่างจากถนนไม่เกิน 20 เมตร

– ภัตตาคาร คือ อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม มีพื้นที่สำหรับตั้งโต๊ะอาหารไว้บริการภายในหรือนอกอาคาร โดยไม่ได้กำหนดขนาดขั้นต่ำไว้

– ที่ว่าง คือ พื้นที่อันปราศจากหลังคา หรือสิ่งก่อสร้างปกคลุม อาจจะเป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ ที่พักขยะ หรือที่จอดรถ รวมถึงสิ่งก่อสร้างหรืออาคารที่สูงจากระดับพื้นดินไม่เกิน 1.20 เมตร และไม่มีหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุมเหนือระดับนั้น ซึ่งในกฎหมายบางข้อ อาจมีข้อห้ามในส่วนของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรด้วย

ซึ่งทั้งนี้การตีความก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เพื่อความชัดเจนและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เจ้าของร้านจึงควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รวมถึงขอคำแนะนำจากผู้ออกแบบก่อนวางแผนโครงการเสมอ

 

  • การเปลี่ยนอาคารเดิมเป็นคาเฟ่

หากเราต้องการเปลี่ยนอาคารเดิมให้เป็นคาเฟ่ เราต้องรู้ว่าอาคารเดิมได้ขออนุญาตไว้เป็นอาคารประเภทใด เพราะหากขออนุญาตไว้เป็นอาคารเพื่อการพักอาศัย การเปลี่ยนมาทำเป็นร้านกาแฟ ที่ถือเป็นการใช้สอยเพื่อการพาณิชย์ ก็จำเป็นที่จะต้องทำหนังสือขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ ข.๓) ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้ถูกต้อง
เนื่องจากตามกฎหมายอาคารพาณิชย์ได้กำหนดความสามารถของโครงสร้างในการรับน้ำหนักจร (Live Load) ที่มากกว่าอาคารที่พักอาศัย เราจึงจำเป็นต้องตรวจสอบว่าอาคารดังกล่าวมีความสามารถที่จะรับน้ำหนักจรได้ในระดับเดียวอาคารพาณิชย์หรือไม่ เพราะการใช้อาคารผิดจุดประสงค์ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารได้ในอนาคต

 

  • กฎหมายที่จอดรถ

กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ภัตตาคารที่มีพื้นที่นั่งน้อยกว่า 150 ตารางเมตร และอาคารพาณิชย์ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 300 ตารางเมตร ต้องมีที่จอดรถ ฉะนั้นหากคาเฟ่ของเรามีขนาดที่เล็กกว่าข้อกำหนดดังกล่าว ก็ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถตามกฎหมายก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจัดเตรียมที่จอดรถไว้ให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการก็ย่อมเป็นผลดีต้อร้าน และลดโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อชุมชนรอบ ๆ ร้านด้วย ซึ่งหากลองคำนวณจากอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนดแล้ว อาจประมาณได้ว่าเจ้าของร้านควรจัดให้มีที่จอดรถอย่างน้อย 1 คัน ต่อที่นั่ง 15 ตารางเมตร

 

  • กฎหมายบ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว

หากเราดัดแปลงบ้านแถว ห้องแถว หรือตึกแถวเป็นคาเฟ่ นอกจากจะต้องดูกฎหมายสำหรับภัตตาคารและอาคารพาณิชย์แล้ว ก็อย่าลืมคำนึงถึงกฎหมายสำหรับบ้านแถว ห้องแถว หรือตึกแถวด้วย เพราะการดัดแปลงหรือต่อเติมที่ขัดต่อข้อกฎหมาย อาจมีผลต่อความปลอดภัยและการใช้งานในอนาคตได้เช่นกัน

ตัวอย่างข้อบังคับ เช่น ห้องแถวหรือตึกแถวจะสร้างต่อเนื่องกันเกิน 10 คูหา หรือมีความยาวไม่เกิน 40 เมตรไม่ได้ ดังนั้นห้องริมสุดของตึกแถวที่ยาวถึง 40 เมตร จะต่อเติมต่อเนื่องออกไปอีกไม่ได้, ในส่วนของผนังตึกแถวหรือบ้านแถวต้องทำด้วย “วัสดุถาวรที่ทนไฟ” เช่น ผนังก่ออิฐหนา อย่างน้อย 8 ซม. เป็นต้น

กฎหมายเป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุก ๆ คน ไม่เว้นแม้แต่การทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะร้านอาหาร หรือคาเฟ่ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้ามที่จะเรียนรู้เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจของตน เพื่อสั่งสมเป็นองค์ความรู้ให้ตนเองทั้งรู้ทัน และรู้แจ้งในสิ่งที่กำลังทำให้ได้มากที่สุด

ส่วนหนึ่งจากหนังสือ HOUSE BECOMES CAFE เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นคาเฟ่ ซึ่งภายในเล่มยังมีไอเดียและเทคนิคการเปลี่ยนบ้านเก่าเป็นคาเฟ่อีกมากมายอัดแน่นอยู่ในเล่ม หากใครสนใจอยากดูไอเดียอื่น ๆ เพิ่มเติมสามารถสั่งซื้อได้ที่ https://www.naiin.com/product/detail/526784

#AmarinAcademy #ร้านอาหาร #Cafe

เรื่องแนะนำ

Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารก็อยากให้ร้านของตัวเองเป็นที่พอใจของลูกค้าอยู่เสมอ แต่ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกร้าน หลายร้านเองต้องประสบปัญหากับน้ำผึ้งหยดเดียวเนื่องจากรับมือไม่เป็น Crisis Management จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารในยุคนี้ต้องรู้จักและเตรียมตัวรับมือให้ดี ซึ่งสามารถทำได้ตามวิธีที่แนะนำดังนี้   Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร ตอบทันทีอย่าให้มีดราม่า ความไม่พอใจต่อเหตุการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นดราม่าได้หากได้รับการเพิกเฉย การตอบลูกค้ารวดเร็วจะทำให้ลูกค้าใจเย็นลง ดังนั้น ร้านอาหารควรจะวางแนวทางในการตอบคำถามไว้ โดยต้องใช้คำง่าย ๆ ตรงไปตรงมาในการตอบ และสุภาพ การพยายามเอาชนะลูกค้าย่อมไม่เป็นผลดี เช่น กรณีร้านที่เจ้าของร้านตอบโต้อย่างรุนแรงเมื่อลูกค้าติถึงคุณภาพอาหาร จากเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถจัดการได้ กับเป็นเรื่องใหญ่ที่ลุกลามไปยังช่องทางอื่น ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือจ้างคนมาทำหน้าที่แอดมินโดยตรง จะต้องเป็นคนที่ใจเย็นและสื่อสารได้ดี   ขอโทษอย่างจริงใจ ถ้าคุณคิดว่าการขอโทษแสดงถึงการยอมรับ คุณกำลังคิดผิด เพราะการขอโทษไม่ได้สื่อสารถึงลูกค้าคู่กรณีเพียงอย่างเดียว แต่ร้านกำลังสื่อสารไปถึงลูกค้าคนอื่น ๆ ด้วย ว่าคุณเป็นร้านอาหารที่ให้ความใส่ใจและเห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญเพียงใด  นอกจากนี้การขอโทษเป็นการทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงแค่ประเด็นเดียว ซึ่งดีกว่าการแก้ตัวที่จะทำให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ หากคุณรับมือได้ไม่ดีพอก็จะบานปลายเกิดผลเสียมากกว่าได้ในที่สุด   รวบรวมข้อมูล…เปิดอกไกล่เกลี่ย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ รสชาติ การบริการของร้านอาหาร คุณจะต้องสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรแบ่งระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ไว้ เช่น ขั้นต้น คือลูกค้าไม่พอใจรสชาติ […]

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า  ( SOP การเตรียมวัตถุดิบ + Portion Control = Perfect Dish ) ก่อนจะได้อาหารเลิศรสสักหนึ่งจานต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบ และหากว่าร้านอาหารของคุณต้องใช้ผักคะน้าจำนวนมาก แล้วคุณกำลังหาซื้ออยู่ที่ตลาดไท คุณจะเลือกผักคะน้าคละ หรือผักคะน้าคัดดีล่ะ ? สมมติว่าราคาผักคะน้าคละ ในตลาดไท ราคากิโลกรัมละ 23 บาท ก่อนจะนำมาปรุงได้ ต้องตัดใบแก่ ใบเหี่ยว ใบเหลืองทิ้ง ไป และตัดส่วนลำต้นที่แข็งออก คุณอาจจะเหลือผักคะน้าที่ใช้จริงแค่เพียง 7 ขีดเท่านั้น เท่ากับว่าต้นทุนจะไม่ใช่ 23 บาทต่อ 1 กิโลกรัมอีกต่อไป แต่จะเป็น 33 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม   นอกจากนี้คุณยังต้องเสียเวลาไปกับการคัดแยกเอาผักคะน้าสวยๆ ออกจากกองที่คละกันอยู่อีกต่างหาก ทำให้ต้องเสียคนไปด้วยหนึ่งคนกับกระบวนการนี้ และอย่าลืมว่าวัตถุดิบ คน และเวลา […]

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา”

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพรีเมียม ที่เลือกจะไม่แข่งขันเรื่องราคา แต่กลับทำให้ขายดีได้   เคยสงสัยไหม ? ทำไมร้านอาหารประเภทเดียว ๆ กัน บางร้านขายราคาค่อนข้างสูงเลย แต่ขายดีมาก นั่นเป็นเพราะ ลูกค้าไม่ได้โฟกัสแค่ราคาขายของสินค้า แต่ยังให้ความสำคัญกับความรู้สึกคุ้มค่าที่จะได้รับจากราคาที่จ่ายไปด้วย ซึ่งเมื่อพูดถึงประเด็นนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงโพสต์หนึ่งของคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน ที่ได้พูดถึงราคาขนมถ้วยของร้านทองสมิทธิ์ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือสุดพรีเมียม ของคุณปลา อัจฉรา เจ้าของ iberry Group เครือร้านอาหารที่มีกว่า 50 สาขา PRODUCT IS KING โดยคุณหนุ่ยได้กล่าวประมาณว่า แม้ขนมถ้วยของทองสมิทธ์ จะมีราคาขายต่อถ้วยอยู่ที่คู่ละ 29 บาท ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเทียบเท่าราคาขนมถ้วย 1 กล่องที่ขายกันตามท้องตลาด แต่ถึงอย่างนั้นผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็ต่างบอกว่าขนมถ้วย และกล้วยทอดของทองสมิทธิ์อร่อยมาก จนบางคนไปเพื่อซื้อขนมของทองสมิทธิ์โดยเฉพาะ หรืออย่างเช่นร้าน Copper ที่ได้แตกไลน์ร้านอาหารใหม่ออกมาเป็น “เตี๋ยวคอปเปอร์” ที่ได้นำเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือยอดนิยมในร้าน […]

อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

กลางวันเปิดคาเฟ่ กลางคืนอยากเปิดบาร์ เจ้าของร้านกาแฟถาม อยากขายแอลกอฮอล์กลางคืน แชร์ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่าย สุรา สำหรับร้านอาหาร เพิ่มรายได้ร้าน ตอนเช้าเป็นร้านกาแฟ ตอนเย็นเป็นร้านนั่งชิลล์ดีปะ ? วันก่อนแอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ที่เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์ขอคำแนะนำ เนื่องจากเขาทำร้านกาแฟอยู่และต้องการเปิด ขายสุรา ในช่วงเย็นด้วย ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง? โพสต์นี้มีคำตอบ! การขายสุรา ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร (สำหรับร้านอาหาร คือ ประเภทที่ 2) ซึ่งสำหรับการขออนุญาตขายสุราทาง “คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง” ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ขอใบอนุญาตได้จากไหน ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา สามารถติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการ การขอใบอนุญาตสุราผ่านอินเตอร์เน็ต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/…/LIQUOR-TOBACCO…/index.htm ต้องใช้อะไรบ้าง ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ นำเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้ไปแสดง 1.บัตรประจำตัวประชาชน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 Amarin Corporations Public Company Limited.