คาเฟ่ญี่ปุ่นจ้าง “ผู้ป่วยอัมพาต” ควบคุมหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร เติมเต็มคุณค่าการมีชีวิต

คาเฟ่ญี่ปุ่นจ้าง “ผู้ป่วยอัมพาต” ควบคุมหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร เติมเต็มความรู้สึกมีคุณค่าของการมีชีวิตอยู่

คาเฟ่ญี่ปุ่นจ้าง “ผู้ป่วยอัมพาต”
ควบคุมหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร
เติมเต็มความรู้สึกมีคุณค่าของการมีชีวิตอยู่

เพราะการได้ทำบางอย่าง ก็เป็นการเต็มเติมความรู้สึกมีคุณค่าของการมีชีวิตอยู่… นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร้านคาเฟ่ในญี่ปุ่น ได้มีการจ้างงานผู้ป่วยอัมพาต ให้มาควบคุมหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร บริการลูกค้าในร้าน เสมือนว่าหุ่นยนต์นั้นๆ เป็นตัวแทนของผู้ป่วย แสดงให้พวกเขาเห็นว่าตนเองก็มีตัวตนในสังคม…

ร้านนี้มีชื่อว่า DAWN หรือ Diverse Avatar Working Network เป็นร้านกาแฟที่ตั้งอยู่ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีจุดเด่นตรงที่พนักงานเสิร์ฟของร้านเป็น “หุ่นยนต์” และไม่ใช่หุ่นยนต์ธรรมดาๆ นะ แต่เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกควบคุมโดย “ผู้บกพร่องทางร่างกาย” ในด้านต่าง ๆ ที่ทำการควบคุมหุ่นยนต์จากที่บ้าน รถเข็นหรือเตียงได้ ผ่านเมาส์ แท็บเล็ต หรือรีโมทควบคุมการมอง

ซึ่งร้านกาแฟและโมเดลการใช้หุ่นยนต์ เข้ามาทำงานแทนคนนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาความโดดเดี่ยวทางสังคมและการจบชีวิตตัวเองในญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากการที่ประชากรที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ต้องกลับมาอยู่บ้าน แต่ด้วยมีความเจ็บป่วยทางร่างกาย จิต หรืออายุ ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานได้

บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี Ory Laboratory ผู้อยู่เบื้องหลัง ร้านกาแฟนี้ ชี้ให้เห็นว่าโมเดลการทำงานทางไกลผ่านหุ่นยนต์ของร้านกาแฟ อาจเป็นเส้นทางสู่การจ้างงานสำหรับคุณแม่ที่ต้องดูแลลูก คนที่เรียนอยู่บ้าน หรือผู้ที่ไม่สามารถมาทำงานได้ ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ ทางหนึ่งก็เพื่อให้พวกเขาสามารถค้นหาชุมชนใหม่ๆ และเข้าร่วมได้ในขณะที่อยู่บ้าน

โดยหุ่นยนต์บริการที่ว่านี้ แต่ละตัวจะมีความสูงที่ 120 ซม. มีความสามารถในการสื่อสาร เคลื่อนไหวร่างกาย และจัดเก็บสิ่งของต่าง ๆ ได้ตามโปรแกรมการใช้งาน ใน 1 ตัว จะประกอบไปด้วยกล้องในตัว ไมโครโฟน และลำโพง โดยผู้ป่วยสามารถทำการควบคุมหุ่นยนต์เหล่านี้ ผ่านการสั่งงานผ่านดวงตา(ระบบ OriHime eye + Switch) ซึ่งหุ่นยนต์แต่ละตัว จะมีผ้าพันคอ หมวก และบัตรประจำตัวของผู้ที่ควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้อยู่เบื้องหลัง ให้ความรู้สึกเหมือนคนๆ นั้นได้มาให้บริการ ณ ที่นั้นจริง ๆ

ในปัจจุบันนายจ้างในญี่ปุ่นจำนวนมากได้หันไปใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อลดช่องว่างในกำลังแรงงาน ทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของหุ่นยนต์มากที่สุดในโลก โดยมีหุ่นยนต์ประมาณ 3 ตัวต่อคนงานหนึ่งคนในภาคการผลิต สะท้อนถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ และยังเป็นการสร้างเสริมกำลังใจให้กับผู้ป่วย ให้ไม่ต้องนั่งเหงา ๆ อยู่บ้าน และลดปัญหาทางสังคมในญี่ปุ่นด้วย เป็นแนวคิดที่น่าชื่นชมจริง ๆ

Sources: https://qz.com/…/a-robot-cafe-staffed-by-remote…/, https://www.youtube.com/watch?v=vj1z6HEAkYY
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

แชร์ไอเดีย ออกแบบบรรจุภัณฑ์ อย่างไร ให้โดนใจลูกค้า

ยุคนี้คนหันมาให้ความสำคัญกับความสวยงามที่ตามองเห็นไม่น้อยไปกว่าคุณภาพของสินค้า เราจึงขอนำเสนอ ไอเดียการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้โดนใจผู้ซื้อ จนต้องหิ้วกลับบ้าน

Instagram

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

Social Media กลายเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือ ผู้ที่ทำธุรกิจอาหารในปัจจุบันขาดไม่ได้เลย ซึ่ง Social Media ที่ใช้ทำการตลาดนั้นมีมากมายหลายประเภท และที่ร้านนิยมใช้มากหนึ่งในนั้นก็คือ IG หรือ Instagram นั้นเอง   10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร Instagram หรือ IG แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เน้นการแชร์รูปภาพและวิดีโอเป็นหลัก ร้านอาหารส่วนใหญ่จึงใช้ช่องทางนี้สำหรับประชาสัมพันธ์ร้าน ด้วยการแชร์ภาพ หรือวิดีโอ ที่เห็นบรรยากาศร้าน และเมนูเด็ดของร้านให้ดูน่ารับประทาน และน่ารีวิว แต่บางครั้งเจ้าของร้านอาจจะรู้ฟังก์ชันการใช้งานInstagram แค่บางฟังก์ชันเท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีลูกเล่นที่เจ้าของร้านสามารถนำไปใช้ได้อีกมากมาย เรามาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรกันบ้าง ที่สามารถช่วยให้ร้านของคุณโดดเด่น และดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดตามได้   1.ชื่อโปรไฟล์ การตั้งชื่อโปรไฟล์ เหมือนง่ายแต่การตั้งชื่อโปรไฟล์ที่ดี คือ ชื่อจะต้องสะดุดหู หรือเป็นที่จดจำได้ง่าย กระชับ และสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ร้านของคุณได้ดีที่สุด 2. รูปโปรไฟล์ ส่วนของรูปโปรไฟล์นั้น ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าชื่อ เพราะเป็นสิ่งที่ผู้เข้ามาติดตามจะเห็นเป็นอันดับแรกๆ ดังนั้น รูปโปรไลฟ์แนะนำให้ใช้รูปโลโก้ของร้าน ก็เป็นตัวเลือกที่ดี หลีกเลี่ยงภาพเซลฟี่ […]

ภาพยนตร์อาหาร

6 ภาพยนตร์อาหาร ที่คนทำร้านอาหารควรดู

สำหรับคนทำร้านอาหาร แรงบันดาลใจถือเป็นสิ่งสำคัญ และการดูภาพยนตร์ ก็ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่ดีทางหนึ่ง วันนี้เราจึงขอรวบรวม ภาพยนตร์อาหาร มาฝาก

เปลี่ยนเรื่องยากของธุรกิจร้านอาหารให้เป็นเรื่องง่ายที่ OfficeMate

การทำธุรกิจร้านอาหารมักมีโจทย์มาให้แก้ทุกวัน หนึ่งในโจทย์ที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องเจอก็คือเรื่องของ “เวลา” เพราะธุรกิจร้านอาหารประกอบด้วยฟังก์ชั่นงานต่างๆมากมาย เริ่มตั้งแต่ งานตกแต่งร้าน งานครัว งานทำความสะอาด งานบัญชี งานไอที รวมไปถึงงานบริหาร ยิ่งมีงานเหล่านี้มากขึ้น คำถามคือ จะจัดการงานทั้งหมดอย่างไรในเวลาที่มีอยู่เท่าเดิม? แถมยังต้องมาเสียเวลาไปกับการเดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้เข้าร้านอีก จะดีกว่าไหมหากเราสามารถลดต้นทุนแฝงส่วนนี้ลงได้? และมีเวลาเหลือไปทำงานอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เลือกซื้อสินค้าสำหรับร้านอาหารที่ OfficeMate OfficeMate เป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่มีสินค้าที่ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างครบครัน เรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกส่วนงาน ตั้งแต่อุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างดำเนินกิจการ รวมถึงของใช้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ ทำให้การเลือกซื้อสินค้าที่ออฟฟิศเมท ช่วยประหยัดเวลาของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจในเวลาเดียวกัน ลดต้นทุนเวลา มาที่เดียวจบ เพราะทุกสิ่งมีครบที่ OfficeMate             อย่างที่บอกไปว่าการเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ OfficeMate ครอบคลุมงานแทบทุกส่วน มาดูกลุ่มสินค้าหลักๆ ที่สามารถเลือกซื้อได้ที่ OfficeMate กันค่ะ   สร้างมุมสวยด้วยเฟอร์นิเจอร์หลากหลายสไตล์ มุมสวยๆ เฟอร์นิเจอร์เก๋ๆ คือ องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของร้านอาหารยุค 4.0 เพราะลูกค้านิยมถ่ายรูปลง Social Media ดังนั้นร้านอาหารที่เลือกเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งร้านได้สวยและมีเอกลักษณ์ ย่อมสามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรได้ง่ายขึ้น แถมเป็นการโฆษณาร้านอาหารของเราทางอ้อมอีกด้วย แต่การเดินหาเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งร้านก็ใช้เวลาไม่ใช่น้อยเลย […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.