Airbnb ธุรกิจห้องพัก ที่ไม่มีห้องพักของตัวเองสักห้อง! - Amarin Academy

Airbnb ธุรกิจห้องพัก ที่ไม่มีห้องพักของตัวเองสักห้อง!

วิเคราะห์ความสำเร็จ Airbnb ธุรกิจห้องพัก ที่ไม่มีห้องของตัวเองสักห้อง!

Airbnb เริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ.2551 โดยเริ่มจากอพาร์ตเมนท์เพียง 3 ห้องในสหรัฐอเมริกา และมีรายได้จากการปล่อยเช่าครั้งแรกเพียง 240 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันAirbnbสามารถสร้างเครือข่ายห้องพักได้มากกว่า 3 ล้านแห่ง และสามารถทำรายได้ปีละ 2,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ! ทั้งๆ ที่ไม่ได้ลงทุนก่อสร้างห้องพักเองสักห้อง!

เพราะอะไรธุรกิจนี้จึงประสบความสำเร็จ เราจะมาถอดบทเรียนให้ฟังกัน

1.เปลี่ยนสิ่งที่ “คนอื่น” มีอยู่แล้วให้ทำเงิน

โมเดลธุรกิจของAirbnbคือวางตัวเองเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้เช่า (Host) กับผู้เช่า (Guest) โดยผู้ให้เช่าเพียงแค่มีห้องพักว่างๆ ภายในบ้าน หรือมีบ้านพักตากอากาศที่นานๆ จะไปเที่ยวพักผ่อนสักครั้ง ก็สามารถทำเงินได้ง่ายๆ เพียงแค่สมัครลงทะเบีบนเป็นผู้ให้เช่า พร้อมกำหนดราคาที่ตัวเองพึงพอใจเท่านั้น โดยแทบไม่ต้องลงทุนใดๆ เพิ่มเติมเลย (อาจต้องตกแต่งเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย)

เมื่อลงทุนต่ำและความเสี่ยงน้อย จึงทำให้Airbnbสามารถสร้างเครือข่ายผู้ให้เช่าทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันกระจายไปกว่า 60,000 เมือง ใน 191 ประเทศทั่วโลกแล้ว

2.ตอบโจทย์ความต้องการนักท่องเที่ยว

ผู้เช่าส่วนใหญ่ของAirbnbมักเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งบางครั้งการพักในโรงแรมอาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการ เช่น หากมาเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ก็ไม่สามารถพักห้องเดียวกันได้ เพราะส่วนใหญ่โรงแรมมักมีข้อจำกัดคือ เข้าพักได้ห้องละ 2-4 คน หรืออีกกรณีคือ ต้องการที่พักราคาถูก แต่ก็กังวลเรื่องความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้Airbnbสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ครอบคลุม เพราะมีที่พักให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งห้องพักภายในบ้าน (อยู่ร่วมกับผู้ให้เช่า) อพาร์ตเมนท์ที่มีความเป็นส่วนตัว หรือบ้านทั้งหลังที่สามารถเข้าพักได้นับสิบคน และมีแม้กระทั่งปราสาทและบ้านต้นไม้! ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้นAirbnbได้สร้างระบบรักษาความปลอดภัยไว้ค่อนข้างแข็งแกร่งคือ มี call center รับแจ้งปัญหาระหว่างการเข้าพัก มีแผนกที่ดูแลด้านความเชื่อมั่นและความปลอดภัย รวมทั้งดูแลด้านการบริการโดยเฉพาะ มีระบบตรวจสอบตัวตนของทั้งผู้ให้เช่าและผู้เช่าจากประวัติส่วนตัว เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ให้เช่าบางรายอาจมีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น ที่ไม่มีใน Guide book ซึ่งถือเป็นการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว จนเกิดการบอกต่อ จึงทำให้Airbnbได้รับความนิยมในเวลาอันรวดเร็ว

3.สร้างรายได้จากการเข้าพัก

Airbnbสามารถสร้างรายได้จากการเข้าพักจากทั่วทุกมุมโลก โดยไม่ต้องลงทุนก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ใดๆ เลย แถมไม่ต้องจ้างพนักงานทำความสะอาด พนักงานต้อนรับ เชฟ หรือเด็กยกกระเป๋า ฯลฯ

ทั้งนี้รายได้ของAirbnbมาจากการคิดค่าห้องเพิ่มจากที่ผู้ให้เช่าคิดมา 6-12% รวมทั้งเก็บค่าธรรมเนียมจ่ายเงินอีกประมาณ 3% จากผู้เช่า ต่อการจอง 1 ครั้ง โดยปัจจุบันAirbnbมีจำนวนยอดผู้เข้าพักแล้วกว่า 160 ล้านคน เฉลี่ยแล้วจะมีผู้เข้าพักประมาณ 500,000 รายต่อคืน! จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมธุรกิจนี้ถึงสามารถสร้างรายได้มหาศาล

จะเห็นได้ว่าเทรนด์การทำธุรกิจยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, Grab taxi, Uber ฯลฯ มักมีจุดเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัว และใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ก็สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

ถอดบทเรียนความสำเร็จ ทำไม Muji ถึงครองใจคนทั่วโลก

เรื่องแนะนำ

ภาพยนตร์อาหาร

6 ภาพยนตร์อาหาร ที่คนทำร้านอาหารควรดู

สำหรับคนทำร้านอาหาร แรงบันดาลใจถือเป็นสิ่งสำคัญ และการดูภาพยนตร์ ก็ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่ดีทางหนึ่ง วันนี้เราจึงขอรวบรวม ภาพยนตร์อาหาร มาฝาก

ครีเอทเมนูอาหาร

5 เคล็ดลับ ครีเอทเมนูอาหาร เรียกลูกค้าเข้าร้าน

การทำร้านอาหาร เป็นอีกธุรกิจที่ต้องสร้างความแตกต่าง เพื่อให้สามารถอยู่รอดในทุกสภาวะการแข่งขันของตลาดในปัจจุบัน และในยุคที่ลูกค้ามีตัวเลือกมากมาย ซึ่งการสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ของร้าน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจได้ คราวนี้เรามาดูกันว่า ถ้าอยากสร้างความแตกต่างให้เมนูอาหาร และให้เมนูของร้านคุณพิเศษกว่าคู่แข่ง จะต้องมีวิธี ครีเอทเมนูอาหาร อย่างไรบ้าง มาดู 5 เคล็ดลับนี้  5 เคล็ดลับ ครีเอทเมนูอาหาร เรียกลูกค้าเข้าร้าน   พลิกแพลง และปรับเปลี่ยน ลองใส่ไอเดียให้กับเมนูดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมในร้าน ด้วยวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อสร้างรสชาติหรือรสสัมผัสใหม่ ๆ  หรือใช้การนำเสนอที่แปลกตาไปจากรูปแบบดั้งเดิม ยกตัวอย่าง การเปลี่ยนสำรับกับข้าวแบบชาวเหนือ ให้เป็นลักษณะเบนโตะแบบญี่ปุ่น หรือการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบบางอย่างของเมนูในกระแสเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับกลุ่มลูกค้า เช่น เปลี่ยนไข่มุกเป็นเฉาก๊วยแบบไทยๆ สำหรับลูกค้าที่อาจจะไม่ชอบทานไข่มุก   ความคาดเดาไม่ได้ ถ้าต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบกระแสใหม่ ๆ อาจลองเพิ่มความรู้สึกแปลกใหม่ให้กับเมนู ด้วยสิ่งที่เขาคาดเดาไม่ได้ ไม่ว่าจะรสชาติหรือการนำเสนอหน้าตาอาหาร  เช่น ร้านเบอร์เกอร์ ธรรมดาชิ้นละ 25 บาท ให้กลายเป็น Challenge Meals  เสิร์ฟเบอร์เกอร์ชิ้นยักษ์เริ่มต้นที่เซตละ 2,500 บาท โดยนำไอเดียฟาสต์ฟู้ดมาทำการตลาด […]

การออกแบบเมนู

เทคนิค การออกแบบเมนู ให้เปรี้ยง

ทำไมบางครั้ง เราใช้เวลาเลือกอาหารเพียงไม่ถึง 1 นาที แต่บางทีเปิดเมนูพลิกไปพลิกมาอยู่นานก็ตัดสินใจไม่ได้ หรือว่า การออกแบบเมนู ส่งผลต่อการตัดสินใจของเราด้วย

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.