แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ป้องกันอาการขายดีจนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร

ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว
ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน!
.
📌ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
🔸ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40%
🔸ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15%
🔸ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20%
🔸ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าทำการตลาดค่าเสื่อม) ควรอยู่ที่ 10-15%
📌โดยต้นทุนเหล่านี้จะรวมกันอยู่ที่ 80% ดังนั้นกำไรร้านอาหารจึงไม่ควรต่ำกว่า 20%
🔸ยกตัวอย่างการตั้งราคาเมนูราดหน้าหมูนุ่ม🐷
.
สมมติเรารู้แล้วว่าค่าวัตถุดิบทั้งหมดของเมนูราดหน้าหมูนุ่มคือ 20 บาท
ให้เราถือว่า 20 บาทคือสาม 15% ของยอดขาย วิธีก็คือให้นำ 20 หารด้วย 35% จะได้ราคาขายราดหน้าหมูนุ่มในเบื้องต้นคือ 57 บาท
โดยที่ใน 57 บาทนั้นประกอบไปด้วย
✨ต้นทุนวัตถุดิบ COG = 20 บาท
✨ต้นทุนค่าเช่าที่ COR = 5.7 บาท
✨ต้นทุน พนักงาน COL 11.4 บาท
✨ต้นทุนอื่นๆ ETC = 8.55 บาท
✨ต้นทุนรวม คือ 80% = 45.65 บาท
กำไร 20% = 11.35 บาท
📌ทั้งนี้เราอาจจะปัดให้ราคาขายจาก 57 บาทเป็น 60 บาทก็ได้
🔸Competitive Base และ Branding Base✨
นอกจากนี้การตั้งราคาขายยังต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัยนั่นก็คือ Competitive Base หรือการตั้งราคาโดยคำนึงถึงการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคำนวณต้นทุนต่างๆ แล้วราคาขาย ราดหน้าหมูนุ่มของร้านเราสูงกว่าราคาขายของร้านคู่แข่ง
หากร้านเราไม่มีจุดดึงดูดอื่นที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าเมนูนี้จะสร้างยอดขายได้ ร้านอาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์บางอย่างเพื่อลดต้นทุนหรือทำให้เมนูของเราสามารถแข่งขันกับร้านอื่นได้
.
และอีกปัจจัย คือ Branding Base การตั้งราคาเพื่อให้เกิดรับรู้ของแบรนด์ เช่น การที่ร้านอาหารญี่ปุ่นตั้งราคาอาหารทุกจานให้เท่ากันที่ 88 บาท หรือร้านติ่มซำตั้งราคาทุกเมนูอยู่ที่ 15 บาท ซึ่งเป็นการตั้งราคาให้ถูกหรือแพงอย่างมีนัยยะ เพื่อสื่อถึงการมอบประสบการณ์ที่พิเศษเหนือกว่าคู่แข่ง
.
การตั้งราคาอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของร้านอาหารว่าจะขาดทุนหรือมีกำไร จะเจ๊ง หรือไปต่อได้สวยๆ ดังนั้นหากจะตั้งราคาอาหาร อย่าลืมคำนวณโครงสร้างต้นทุน เพื่อให้ร้านคุณขายดีและมีกำไร ไม่ใช่ขายดีจนเจ๊งนะ❗️
.

เรื่องแนะนำ

6 เคล็ดลับ การเปิดร้านอาหาร ให้ “รอด” และ “รวย”

บางคนคิดว่า การเปิดร้านอาหาร เป็นเรื่องง่ายมีเงินก็สามารถเปิดร้านได้แล้ว แต่จะเปิดให้อยู่รอดได้นั้นยากมาก แล้วเคล็ดลับที่จะทำให้ร้านอาหารอยู่รอด คืออะไร? ” การเปิดร้านอาหาร นั้นง่าย แต่ให้อยู่รอดนั้นยาก” คำกล่าวที่ใครหลายๆคนพูดไว้ ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจสำหรับคนที่พอมีเงินลงทุน มักจะเลือกลงทุน เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก อย่างไรก็ตามกลับพบว่า ร้านอาหารที่เปิดขึ้นมากมายในแต่ละปีนั้น ปิดตัวลงไปหลายร้าน สาเหตุอาจมาจาก รายได้ไม่เป็นไปตามที่คิด เงินทุนสำรองไม่พอ ค่าใช้จ่ายสูง ในที่สุดก็ต้องปิดกิจการลง สำหรับมือใหม่ที่อยากมีอาชีพด้วยการเปิดร้านอาหาร วันนี้เรามีเคล็ดลับการเปิดร้านอาหาร ให้รอด และ รวย  มาฝากคนที่อยากทำร้านอาหารค่ะ   1.ทำเลที่ตั้ง คนที่อยากจะเปิดร้านอาหาร ไม่ว่าใครต่อใครก็อยากอยู่ในบริเวณแหล่งชุมชนคนเยอะๆ ถ้าจะให้ดีควรลงพื้นที่สำรวจและสังเกตว่ามีกลุ่มลูกค้ามากน้อยแค่ไหน ดูว่ากลุ่มคนแถวนั้นเป็นลูกค้ากลุ่มใด เช่น พนักงานบริษัท กลุ่มคนทำงานโรงงาน กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือพ่อบ้านแม่บ้าน เพราะกลุ่มคนจะสัมพันธ์กับชนิดสินค้าและราคาที่เราจะขาย เช่น เราคงไม่เปิดร้านอาหาร Fine Dining ในย่านสถานศึกษาเพื่อขายนักเรียน แต่ควรขายของที่กินง่ายๆ อย่างไก่ป๊อบทอด เฟรนช์ไฟลส์ทอด ในราคาไม่แพง นอกจากนั้นต้องรู้ว่าเวลาเข้างาน พักเที่ยง เลิกงาน  เพื่อให้เรารู้ว่าเวลาไหนคนเยอะคนน้อย เตรียมของขายได้ถูกช่วงเวลา […]

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

สาเหตุหลักที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวคือ เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไปหรือมากเกินไป บางคนอาจสงสัยว่า หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร วันนี้เราจะมาเผยให้ฟัง

10 เหตุผลที่ร้านอาหาร ต้องรู้เรื่อง SOP

1. ช่วยในการควบคุมต้นทุนอาหาร             เมื่อพูดถึงการทำ SOP อาหาร เจ้าของร้านอาหารอาจจะนึกถึงการกำหนดขั้นตอนในการทำอาหารแต่ละเมนูเพียงเท่านั้น แต่การทำ SOP ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมาตรฐานอาหารเพื่อให้อาหารมีรสชาติที่คงที่ และสามารถช่วยควบคุมต้นทุนอาหารได้เป็นอย่างดีนั้น คือการกำหนดมาตฐานในการทำงานตลอดกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ วัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนปรุง ปริมาณเครื่องปรุง การจัดเสิร์ฟ รวมถึงการจัดเก็บวัตถุดิบเพื่อคงความสดใหม่ ยิ่งร้านของคุณสามารถลงรายละเอียดในขั้นตอนส่วนนี้ได้เท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ร้านสร้างกำไรได้มากขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง   2.ช่วยแก้ปัญหาพนักงานลาออก กระทบต่องานบริการหน้าร้าน             ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาพนักงานร้านอาหารลาออกสร้างผลกระทบต่อการทำร้านอาหารไม่น้อย และยังเกิดต้นทุนแฝง ทั้งงบประมาณ เวลา บุคคลากร ในการฝึกพนักงานใหม่ การทำ SOP คู่มือพนักงานที่ระบุขั้นตอนการทำงาน สิ่งที่พนักงานควรรู้ ข้อกำหนดและกฏระเบียบ จะช่วยลดเวลาในการดำเนินการนี้ทั้งหมด และยังสามารถทำให้คุณบริหารร้านอาหารได้อย่างต่อเนื่อง   3.ช่วยให้เจ้าของร้านอาหาร เหนื่อยน้อยลง      ไม่ใช่แค่เหนื่อย จากการบริหารร้านอาหารให้สามารถคงอยู่ได้โดยไม่ขาดทุน แต่คำว่าเหนื่อยของการทำร้านอาหาร ยังหมายรวมไปถึง การทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และเวลาทั้งหมดไปกับการแก้ปัญหาในแต่ละวัน การลดปัญหาจุกจิกที่สามารถแก้ไขได้โดยทีมงานร้านอาหารโดยที่เจ้าของร้านอาหารไม่ต้องลงมือไปแก้ทุกปัญหาเองเพียงแต่มอนิเตอร์เท่านั้น ก็คือ การสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมให้การทำงานแต่ละส่วนเกิดปัญหาน้อยที่สุด นั่นก็คือ การวางระบบ […]

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.