ทำไมต้องล้าง "วุ้นเส้น" ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจกินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้!
อวสานสายขี้เกียจ
กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทุกคนล้างวุ้นเส้นก่อนนำมาทำอาหารไหม? แอดได้เห็นเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ตั้งคำถามประมาณว่า “วุ้นเส้นห่อ ๆ นี่แกะแล้วลวกได้เลยไหม หรือต้องล้างก่อน?” ซึ่งก็ได้มีเพื่อน ๆ เข้ามาคอมเมนต์ในโพสต์นั้นกันเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็บอกว่า “แกะแล้วก็โยนลงหม้อ ลงกระทะเลย มันต้องล้างด้วยหรอ”

ซึ่งส่วนตัวแอดก็ล้างนะ เพราะปกติใช้วุ้นเส้นสด และข้างห่อมันก็บอกให้ล้าง แอดเลยไปหาข้อมูลมา แล้วก็พบว่า เห้ย มันต้องล้างจริง ๆ ต้องที่แบบว่า “ต้อง” เลยนะ!!! โดยเฉพาะเส้นสดๆ เนี่ย
.


🔸ทำไมต้องล้าง ?🤔
.
จากที่แอดได้ไปหาข้อมูลมา เพจ “เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว” ได้อธิบายถึงเหตุผลที่เราต้องล้างวุ้นเส้นได้อย่างเข้าใจง่ายว่า

เนื่องจากอาหารที่เป็นเส้นสด ไม่ได้อบแห้ง อย่างวุ้นเส้นสด เส้นหมี่สดนั้นจะมีการเติมสารประกอบ Sulfite เพื่อต้านการหืน และป้องกันการเกิด Oxidation ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย

🔸เอกลักษณ์ของสารกลุ่มนี้🤭

เมื่อโดนความชื้นหรือน้ำร้อน หรือมีสภาวะที่เป็นกรดจะส่งกลิ่นเหม็นของแก๊ส Sulfur dioxide ออกมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองของระบบหายใจ ไปจนถึงทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา และเป็นสารก่อภูมิแพ้

ถ้าเรากินเข้าไปในปริมาณไม่มาก ร่างกายจะสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้ากินมากเกินไป จะมีผลต่อการลดประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย และยังมีฤทธิ์ทำลายวิตามิน B1 ด้วย อีกทั้งถ้าเกิดการสะสมในร่างกายมาก ๆ อาจทำให้เรามีอาการหายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ในผู้ที่แพ้มากหรือเป็นหอบหืด

🔸ล้างก่อนกิน🍽

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสารกลุ่มซัลไฟต์สามารถสลายตัวได้ง่ายมาก ละลายในน้ำได้ดีมาก โดยเฉพาะในน้ำเดือดหรือน้ำประปาที่มีองค์ประกอบของสารประกอบคลอรีน ดังนั้นถ้าเราลวกวุ้นเส้นในน้ำเดือด หรือล้างน้ำประปาก่อนนำมาประกอบอาหาร ก็สามารถกำจัดซัลไฟต์ที่เป็นวัตถุเจือปนได้แล้ว

ฉะนั้นเวลาที่จะนำวัตถุดิบที่มีการถนอมคุณภาพด้วยซัลไฟต์มากินหรือมาทำขาย อย่าลืมล้างก่อนใช้ทุกครั้งนะ!!! สารภาพว่าแอดก็เคยแกะวุ้นเส้นที่มากับชุดหมูกระทะใส่ลงไปต้ม แล้วกินเลย ไม่ล้างใด ๆ ทั้งสิ้น จนได้มาเห็นข้างห่อ โอเค กินหมดแล้ว😢
.

ขอบคุณรูปภาพจาก Nagun Moms
Reference: https://www.facebook.com/506996079338831/posts/1919814511390307/
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

เทคนิคเรียกลูกค้า

เทคนิคเรียกลูกค้า (ที่ไลก์เพจ) ให้เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหาร

จะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่กดไลก์เพจ เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณกำลังกังวลใจกับเรื่องนี้อยู่ ลองนำเอา 5 เทคนิคเรียกลูกค้า นี้ไปปรับใช้กัน

ร้านอาหารเจ๊ง

9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง !

รู้หรือไม่ 60 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหาร ปิดกิจการหรือเปลี่ยนเจ้าของภายใน 1 ปี เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะมาดู 9 เหตุผลที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง กัน

พฤติกรรมผู้บริโภค

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร? เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ       พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง   […]

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.