Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

Specialty Coffee คืออะไร ?
แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

แชร์มุมมองโดย คุณมิน เจ้าของร้าน
Gorilla Coffee&Bakery

ทุกวันนี้มีร้านกาแฟให้เราได้เลือกกินอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก็มีทั้งร้านที่เป็นรูปแบบคาเฟ่ ร้านกาแฟทั่วไป รวมถึงร้านแบบ Specialty ที่หลายคนให้คำจำกัดความร้านรูปแบบนี้ว่าเป็นร้านกาแฟที่มี “ความพิเศษ” ที่ต่างออกไปจากร้านกาแฟแบบอื่น ๆ ว่าแต่มันพิเศษยังไงล่ะ ? ลองมาดูมุมมองต่อความเป็นร้านกาแฟ Specialty ของคุณมิน ธมลวรรณ เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ร้านกาแฟ Specialty ย่านลาดกระบังกัน!
.


🔸นิยามของ Specialty✨
.
ในมุมมองของเรา Specialty Coffee คือ กาแฟที่พิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไป เพราะเราให้ความใส่ใจ สนใจตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่การเลือกสายพันธ์ุกาแฟ ประเทศที่ปลูก การชง คาแรกเตอร์ของกาแฟแต่ละแบบ เอามาให้ผู้บริโภคเลือกมากกว่าร้านที่ขายกาแฟแบบปกติ เพราะคาแรกเตอร์แต่ละประเทศก็จะแตกต่างกัน

เมื่อก่อนคนกินกาแฟ ก็อาจจะดูจากเรื่องความขม ให้ความกระปรี้กระเปร่า แต่เดี๋ยวนี้คนให้ความสนใจกับรสชาติ สุนทรียะด้วย ไม่ใช่แค่ร้านที่ Specialty แต่ลูกค้าก็มีความ Specialty ด้วย
.


🔸การเป็น Specialty😎
.
สำหรับร้านเรา เราให้ความสนใจในรายละเอียดตั้งแต่ต้นทาง green bean เมล็ดก่อนคั่ว แหล่งเพาะปลูก การคั่ว เราต้องเลือกเมล็ดกาแฟเป็น คัดเมล็ดกาแฟได้ มีความรู้ในการคั่ว การชง กว่าจะออกมาเป็นกาแฟแก้วนึง ไม่เกี่ยวว่าร้านมีเครื่องคั่วแล้วจะเป็น Specialty แต่มันให้เสน่ห์ว่าเราทำมาตั้งแต่ต้นทาง

ในมุมของเรา เรามองว่าเป็นการสนใจตั้งแต่ต้นทาง สนใจในที่นี้ คือเข้าใจในความเป็นกาแฟ การแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าในกรณีที่ลูกค้าต้องการกินแบบไหน เราทำให้ลูกค้าได้หรือเปล่า ในจุดที่เรามีอุปกรณ์เท่านี้ ทำได้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ไหม เรามองว่าในทุก ๆ ร้านก็ความ Special ในแบบของตัวเอง

เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็เป็น Specialty ได้ ถ้าเขียนต่อท้าย ซึ่งสำหรับเราที่เรียนมาจึงมั่นใจว่า เราก็เป็น Specialty ได้ เราเคยถามลูกค้าว่ามองอะไรถึงจะรู้ว่าร้านกาแฟนั้นเป็นแบบไหน ลูกค้าตอบว่าเขาดูร้านที่เป็น Specialty จากการที่ไม่เป็นแฟรนไชส์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ และกลิ่นไหม้ของกาแฟ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ๆ และยังนวมถึงการนำเสนอของบาริสต้าด้วย เช่นที่ร้านเราจะมีการแนะนำให้ลูกค้าได้เลือก บอกลูกค้าว่าเมล็ดแบบนี้ ก็จะกลิ่นแบบนี้นะ มีทางเลือกให้กับลูกค้า

เรามองว่าความเป็น Specialty ไม่ได้มีบรรทัดฐาน หรือนิยามไหนมาวัดได้ แต่เรารู้ว่าเราต่างจากร้านอื่นอย่างไร รู้สึกว่ามันพิเศษและแตกต่างไปจากร้านอื่นอย่างไร มีเมล็ดให้เลือกเยอะจนลูกค้าบอกว่าต้องโยนหัวก้อย
.


🔸ความยากของ Specialty✨
.
ในเรื่องของเทคนิคการทำกาแฟเรามองว่ามันไม่ได้ยากมาก แต่เรื่องที่ยากคือการเทรนพนักงาน การเข้าออกของพนักงาน ปัญหาคนเป็นเรื่องยากที่คน ๆ นึงต้องรับมือ อย่างเราต้องเทรนน้องไปด้วย และต้องทำงานไปด้วย ที่ร้านก็คนเข้า ๆ ออก อีกอย่างถ้าลูกค้าถามหรือขอคำแนะนำบางอย่างเขาก็ตอบไม่ได้ บางคนมาทำแล้วเขารู้สึกว่ายากเกิน เขาเหนื่อย เขาก็ออก ปัญหาเรื่องคนเป็นปัญหาที่เราหนักใจมากที่สุด
.
แล้ว Specialty Coffee สำหรับคุณต้องเป็นยังไง ? มาแชร์มุมมองต่อกาแฟแก้วโปรดกัน☕️💖
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Covid-19

ร้านอาหารต้องรอด! โชนัน (ChouNan) เพิ่มมาตรการ ปรับกลยุทธ์ รับมือ Covid-19

#ร้านอาหารเราต้องรอด …. เรียกว่าขอติดแฮชแท็กนี้ให้กับเหล่าผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในช่วงนี้เลยค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทุกท่าน ที่ต้องมีการปรับตัวกันอย่างเต็มที่ เพื่อรับมือกับวิกฤต Covid-19 ในช่วงนี้ให้ได้ และเพื่อให้ร้านอยู่รอด หลายร้านเราเริ่มเห็นแล้วว่ามีการเพิ่มมาตรการเรื่องความสะอาด ปลอดภัยภายในร้านมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ร้านโชนัน (ChouNan) ที่ไม่นิ่งนอนใจกับเรื่องนี้ และต้องบอกว่า โชนันมีการวางแผนเรื่องความสะอาด ปลอดภัยมาดีตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้ขึ้น ทางร้านจะมีมาตรการใดที่เพิ่มขึ้น และในแง่ของกลยุทธ์การขาย ต้องปรับตัวอย่างไร คุณปอ – กุลวัชร ภูริชยวโรดม เจ้าของร้าน โชนัน และคุณเบิร์ด – พิพัฒน์ สละสำลี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ   โชนัน (ChouNan) เพิ่มมาตรการ ปรับกลยุทธ์ รับมือ Covid-19 เรื่องของความสะอาด ปลอดภัย เรียกได้ว่าเราทำมานานแล้ว โดยเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว โชนันได้เข้าร่วมกับโครงการ GMP in Mass Catering ของสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่ต้องการยกระดับธุรกิจอาหารไทยและผู้ปรุงอาหารไทยให้ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการนำมาตราฐาน […]

ร้านเบเกอรี่

เผยเคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่”

ร้านเบเกอรี่ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสเช่นกัน เพราะจะไม่ใช่อาหารมื้อหลักที่ผู้บริโภคจะซื้อทุกวัน รวมถึงวัตถุดิบที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ในบทความนี้ อาจารย์จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา จากสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ ร้านเบเกอรี่ต้นแบบที่มี “ทอฟฟี่เค้ก” ในตำนาน และมีกลุ่มลูกค้าเป็นธุรกิจจัดเลี้ยง จะมาแนะนำเคล็ดลับการจัดการวัตถุดิบ และการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf Life Extension) ที่ผู้ประกอบการควรรู้ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเบเกอรี่ เพื่อลดการสูญเสียต้นทุนจากสินค้าที่หมดอายุ  เคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่” วิธีถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการขาย หรือลด waste จากสินค้าที่หมดอายุ         โดยปกติสินค้าเบเกอรี่ที่เราวางจำหน่ายก็จะมีการหาอายุการเก็บรักษาอยู่แล้ว ในช่วงนี้ทางบริษัทที่อาจารย์ส่งสินค้าด้วยก็จะสั่งเป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น ถ้าเป็นเบเกอรี่ก็จะเลือกเป็นเบเกอรี่ที่มีค่า Water Activity (aw) หรือค่าความชื้นในสินค้าต่ำ โดยอาจจะเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้อายุการเก็บรักษานานขึ้น หรือใส่ซองดูดออกซิเจน (Oxygen absorber) เพื่อช่วยป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ และไม่ให้เบเกอรี่มีกลิ่นเหม็นหืน         นอกจากนี้ ในส่วนของการเก็บรักษาวัตถุดิบบางชนิด เช่น ธัญพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียเพราะจุลินทรีย์ แต่เสียเพราะเหม็นหืนได้ง่าย เราอาจจะต้องหาอุปกรณ์มาช่วย […]

แสนแซ่บ

แสนแซ่บ จากร้านอาหารอีสานเล็กๆ สู่ร้านอีสานหลัก 100 ล้าน

เพราะอะไร แสนแซ่บ ร้านอาหารอีสานที่เคยเริ่มจากกิจการเล็กๆ ในครอบครัว จึงสามารถเติบโตจนมีรายได้หลักร้อยล้านได้ เราจะพาไปล้วงลึกเคล็ดลับกัน

Mee OK

ต่อยอดโรงงานบะหมี่ สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)

ไม่ใช่เรื่องง่ายของการทำธุรกิจที่จะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้ “Mee OK” หนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของ ธุรกิจร้านอาหาร ที่ต่อยอดมาจากโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ (ส่งร้านสุกี้ชื่อดัง) และแป้งที่มีประสบการณ์มากกว่า 80 ปี  จากประสบการณ์ผลิตบะหมี่กว่า 80 ปี สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)  “อยากให้เพื่อนได้กินบะหมี่ของตัวเอง” จุดเริ่มต้นง่ายๆ ของคุณม้ง – ปรมะ ห่อทองพูน เจ้าของร้าน Mee OK และเจ้าของบริษัทผู้ผลิตเส้นบะหมี่ให้ร้านดัง ที่คิดอยากจะทำแบรนด์ร้านอาหารของตัวเอง  แบรนด์มันคือสิ่งสำคัญที่ทำให้คนรู้จักเรา ธุรกิจโรงงานของเราเริ่มมาตั้งแต่รุ่นอากง จากทำเส้นบะหมี่ขายในชุมชนและย่านใกล้ๆ มาถึงรุ่นพ่อก็เริ่มขยับขยาย ขายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหารในเยาวราช ธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น มีลูกค้าเยอะขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เราจะได้ลูกค้าที่บอกกันปากต่อปาก ทีนี้พอมาถึงรุ่นผม ก็เลยตัดสินใจที่จะเปิดโรงงานผลิตเส้นบะหมี่และแป้ง เพื่อสร้างมาตรฐาน คุณภาพ และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ จนได้กลุ่มลูกค้าเพิ่มเป็นธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศ อยากทำแบรนด์ของตัวเอง  เหตุผลหลักๆ เลย ก็คือตอนที่เราทำโรงงานอย่างเดียว เหมือนเราต้องพึ่งลูกค้าเป็นหลักในการขาย เพราะเราเป็นโรงงาน ไม่มีหน้าร้านหรือแบรนด์แบบเค้า ยกเลิกออเดอร์ทีเราก็เสียกำไรตรงนั้นไป […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.