Food Rotation Labels สติกเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวที่สำคัญ

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

Food Rotation Labels

สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ

มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

ทุกวันนี้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับอาหารการกินในทุก ๆ ทาง นี่จึงเป็นเหตุผลชวนให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจสุขลักษณะในการประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ลองเปลี่ยนมาใช้ สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ กัน!
.
สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ (Food Rotation Labels หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Daydot) คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดระบบวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยในสติกเกอร์จะมีหัวข้อให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบนั้น ๆ เช่น วัตถุดิบคืออะไร ผลิตวันไหน หมดอายุเมื่อไหร่ และใครเป็นคนเปิดใช้ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ในการบริโภค
✅ตัวอย่างข้อมูลที่ควรมีบนสติกเกอร์ติดอาหาร:
1.ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น คืออะไร
2.การจัดเก็บ (Type) : มีการจัดเก็บแบบไหน เช่น แช่แข็ง (Frozen) แช่เย็น (Chiller) หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง (Ambient)
3.วันที่ผลิต (Product Date)
4.เวลาผลิต (Production Time)
5.วันที่หมดอายุ (Expiry Date)
6.เวลาที่หมดอายุ (Expiry Time)
7.ชื่อพนักงานที่เตรียม (Staff Name) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นี้ใครเป็นคนเตรียม ซึ่งคนนั้นก็คือผู้รับผิดชอบการนำผลิตภัณฑ์นี้มาใช้ด้วย
หมายเหตุ: ข้อมูลข้อที่ 3-6 เป็นข้อมูลสำคัญที่กำหนดการนำผลิตภัณฑ์มาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามหลัก First in First out (FIFO) หรือมาก่อนใช้ก่อน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของอาหารที่นำมาเสิร์ฟให้กับลูกค้า อีกทั้งยังสามารถลดการเกิด Waste ที่อาจเกิดจากการจัดเก็บผลิตภัณฑ์เก่าและใหม่รวมกัน
🖊วิธีใช้: ใช้ติดที่บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุวัตถุดิบนั้น ๆ สำหรับของสด หากทำการล้างและตัดแต่งเสร็จแล้ว ให้กรอกรายละเอียดลงบนสติกเกอร์ จากนั้นทำการแปะลงบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุ แล้วทำการจัดเก็บ สำหรับของแห้งหรือเครื่องปรุง หลังจากการเปิดใช้งานให้กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ลงบนสติกเกอร์ ซึ่งข้อมูลสำคัญสำหรับวัตถุดิบประเภทนี้ คือ วันที่เปิดใช้ ผู้เปิด เป็นต้น
สติกเกอร์ที่ว่านี้มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือแบบ Daydot ที่มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกปี 1985 ในระบบอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสติกเกอร์สีตามวันในสัปดาห์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสีตามวันจึงได้กลายมาเป็นมาตรฐานและตัวกำหนดในการหมุนเวียนการใช้อาหาร
เราสามารถพบการใช้สติกเกอร์ติดอาหารได้ในครัวที่มีมาตรฐานระดับมืออาชีพ เช่น ครัวในโรงแรม ครัวภัตตาคาร หรือร้านที่มีระบบการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ เพราะมันเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเสิร์ฟอาหารที่ปลอดภัยให้กับลูกค้า ให้ความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ช่วยให้การจัดการในครัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความแม่นยำในการใช้วัตถุดิบ ลดขยะที่อาจหลงเหลือจากการใช้วัตถุดิบที่ไม่เป็นระบบ และที่สำคัญยังช่วยให้ธุรกิจคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
เพราะในหลายกรณีวัตถุดิบที่หมดอายุแล้วก็มีหน้าตาปกติ แต่จริง ๆ อาจมีแบคทีเรียหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตอยู่ในวัตถุดิบนั้นแล้ว หากเผลอนำมาใช้ก็จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เครื่องมือนี้จึงเป็นตัวบ่งบอกถึงความปลอดภัยของอาหาร ที่น่าเชื่อถือกว่ารูปลักษณ์ที่เราเห็น
เชื่อว่าคุณคงไม่ต้องการเสิร์ฟอาหารที่พอกินได้ให้กับลูกค้า แต่เป็นการเสิร์ฟอาหารที่มีคุณภาพให้กับลูกค้ามากกว่า เพราะคุณภาพของอาหารก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาหารจานนั้นอร่อย การติดสติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการรักษาคุณภาพของอาหาร และเป็นปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารมีระบบการจัดการที่ดี
สำหรับใครที่อยากได้ฉลากติดอาหารไปใช้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์
ซึ่งฉลากนี้เป็นรูปแบบเดียวกับที่ร้านปลาร้าเด้อ ร้านของพี่ธามม์ ประวัติตรีใช้ด้วยนะ
.

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหารวันแรก

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก หลายคนคงตื่นเต้นและดีใจที่ความฝันของตัวเองสำเร็จสักที แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินไป เพราะบางครั้งวันแรกก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง! ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน! . ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40% ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15% ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20% ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ […]

ลูกค้าทำของหายในร้าน

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป นี่ก็เป็นอีกวิธีที่อยากแชร์ให้ฟัง

เลือกทำเลร้านอาหาร

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

นอกจากคุณภาพอาหาร รสชาติ และการบริการ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการก็คือการ เลือกทำเลร้านอาหาร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.