ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง?

ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ”

วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ประเมินความพร้อมในการขายแบบสั่งกลับบ้าน

1.ประเมินความพร้อม:

จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป

2.ต่อรองประนอมหนี้:

“รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้

คุยกับพนักงาน
3.เอายังไงกับพนักงาน:

แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ 1 คนทำได้หลายหน้าที่ ซึ่งอาจรวมไปถึงการขับรถส่งอาหารด้วย

ในอีกทางหนึ่งการที่ผู้ประกอบการยังคงรักษาพนักงานเอาไว้ อาจเป็นข้อดีในภายหน้า ในตอนที่สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ร้านขายได้เหมือนเดิม คุณจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการสรรหาพนักงานใหม่ ต้องเทรนใหม่ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการเทรนนิ่งพนักงานใหม่ ค่ายูนิฟอร์ม รวมถึงสวัสดิการอื่น ๆ และอาจจะทำให้ร้านคุณได้พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความเข้าใจและผูกพันกับองค์กรอย่างลึกซึ้งอีกด้วย

4.ปรับกลยุทธ์:

จากเดิมที่โฟกัสการขายหน้าร้านเป็นหลักก็เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ด้วย โดยนำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดียว่าทางร้านมีเมนูอะไรบ้าง มีโปรโมชั่นอะไร โดยอาศัยการถ่ายรูปเมนูอาหารให้น่ากิน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกตาเข้ามาใช้ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้อยากสั่ง อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคเห็นว่าร้านเราให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย อาหารทุกกล่องที่ส่งไปผ่านการตรวจสอบมาอย่างดี เพราะทุกคนในตอนนี้ก็มีความกังวลในโรคระบาด

สต็อกวัตถุดิบ
5.จัดการสต็อกให้ดี:

ด้วยสถานการณ์โรคระบาด ร้านเปิดได้ไม่เต็มรูปแบบรวมถึงผู้บริโภคมีพฤติกรรมรัดเข็มขัดกันแน่น เซฟค่าใช้จ่ายมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะเลือกทำอาหารกินเองที่บ้าน และสั่งอาหารมากินน้อยลง ดังนั้นร้านควรมีการประเมินยอดขายต่อวันเพื่อนำข้อมูลมาใช้พิจารณาการซื้อวัตถุดิบเข้าร้านให้สอดคล้องกับยอดขาย แต่ในกรณีที่ร้านซื้อวัตถุดิบมาไว้ก่อนหน้าแล้ว ให้ดูว่าสต็อกนั้นสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง โดยเลือกใช้วัตถุดิบตามหลัก FIFO หรือ First in First out มาก่อน ใช้ก่อน เพื่อลดต้นทุนร้านอาหาร ของไม่เหลือทิ้ง
.
แต่ทั้งนี้เมื่อเผชิญวิกฤตสิ่งที่ร้านอาหารควรทำไม่ใช่แค่การปรับตัวหรือวางแผนสำรองเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองเยอะ ๆ หันมาเติมใจ เติมพลังให้ตัวเองบ้าง
.
ยอมรับว่าการระบาดรอบนี้หนักและมีแต่จะซ้ำเติมเราให้ยิ่งทรุดจนบางคนแทบทนไม่ไหว แต่อยากบอกว่ามาถึงจุดนี้ก็เก่งที่สุดแล้ว สักวันหนึ่งแอดเชื่อว่าเราจะกลับมายืนหยัดได้เหมือนเดิม แอดเชื่อว่าอย่างนั้นและพร้อมอยู่เคียงข้าง คอยเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกคน เราจะผ่านมันไปได้ค่ะ✌🏻
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหาร

6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร

ร้านอาหาร จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่อาหารอร่อยหรือบรรยากาศดี แต่ยังรวมไปถึงงานบริการด้วย มีลูกค้าไม่น้อยเลยที่กลับมาใช้บริการซ้ำเพราะพนักงานดูแลดี มีงานบริการที่ประทับใจ ดังนั้น พนักงานจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการทำร้านอาหาร เพราะมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าโดยตรง และเปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงควรใส่ใจกับการบริหารจัดการพนักงาน เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาในร้านได้รับประสบการณ์ที่ดี และอยากกลับมาใช้บริการอีก ลองมาดูเคล็ดลับในการปรับปรุงการบริการในร้านของคุณกันครับ   6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร ฝึกอบรมพนักงาน ผู้ประกอบการควรคัดเลือกคนที่มีใจรักงานบริการเข้ามาทำงาน และจัดอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนเห็นความสำคัญของการบริการ และตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลัก จนถึงเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญ ตัวอย่างเช่น  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน ขั้นตอนการทำงานในช่วงต่างๆ (ก่อนเปิดร้าน, เปิดร้าน, หลังปิดร้าน) การกล่าวต้อนรับเมื่อมีลูกค้าเข้าร้าน ทวนรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด ใส่ใจดูแลลูกค้าในระหว่างรับประทานอาหาร และรีบเข้าไปบริการเมื่อลูกค้าต้องการ เช่น การเติมน้ำ สั่งอาหารเพิ่ม หรือเรียกเก็บเงิน ให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็วและทั่วถึง เมื่อลูกค้าชำระเงิน ให้พนักงานนับเงินต่อหน้าลูกค้าและแจ้งจำนวนเงินที่รับมา ตอนทอนเงินให้แจ้งจำนวนเงินที่ทอน และเตือนให้ลูกค้าตรวจนับก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด มารยาทต่างๆ เช่น พูดจาสุภาพ มีคำลงท้ายประโยค (ค่ะ/ครับ) ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับลูกค้า กล่าวขอบคุณหรือขอโทษ มีความอดทนในการทำงาน […]

Food delivery

เทคนิคทำ Food Delivery อย่างไรให้ปัง

จะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จและมัดใจลูกค้าให้อยากกลับมาใช้บริการซ้ำได้นั้น เรื่องนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เจ้าของธุรกิจต้องคำนึงถึง ลองมาดูวิธีการทำ Food Delivery ให้ปังด้วยเทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้กันครับ

ลดต้นทุน เพิ่่มกำไร

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน  ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น   ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น หลักการปรุงแบบ […]

เทคโนโลยีดิจิตอล ตัวช่วยร้านอาหารยุคใหม่

  ระบบจัดการร้าน POS ระบบบริหารจัดการร้าน  POS ที่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านนำมาใช้เพื่อบันทึกยอดขายหน้าร้าน   ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้รองรับการบริหารจัดการร้าน และสนับสนุนในด้านการตลาดด้วยฟังค์ชั่นที่ทำได้มากกว่าการแค่บันทึกยอดขาย หรือการจัดการที่นั่ง นั่นก็คือ การมีระบบหลังบ้านที่ช่วยบันทึกและประมวลผล ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่าง เช่น เมนูขายดี ช่วงเวลาขายดี จำนวนการซื้อต่อหัว จำนวนบิล การจัดการโปรโมชั่น และการเชื่อมต่อเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นได้ เช่น เดลิเวอร์รี่ การสั่งเมนูล่วงหน้า ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านในการบริหารจัดการเมนู และการตลาด แต่ทราบไหมว่าการใช้ POS ปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านยังใช้คุณสมบัติพิเศษของ POS ได้ไม่เต็มที่ เช่น  ความสามารถในด้านการประมวล ข้อมูลด้านต้นทุนต่อเมนู  ที่ POS สามารถบันทึก คำนวณผลกำไร การสูญเสีย รวมถึงสามารถใช้การบริหารวัตถุดิบ เพื่อจัดการสั่งซื้อได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวัตถุดิบขาด ต้องเสียต้นทุนแฝงในการไปซื้อในกรณีเร่งด่วนได้ ซึ่งหากร้านของคุณมีการจัดทำข้อมูลด้านต้นทุน หรือการทำ Recipe ที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะใช้คุณสมบัติสำคัญนี้ด้วย ระบบ  POS นับว่าเป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานต่อการบริหารให้ได้กำไรสูงสุดต่อร้านอาหารในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นร้านที่ใช้ระบบ POS อยู่แล้วควรให้ความสำคัญกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุด […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.