ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร
ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน

 พนักงานหลังร้าน
ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ 

ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น 

หัวหน้าเชฟ

  • หัวหน้าเชฟ

เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน  

  • ผู้ช่วยเชฟ 

มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ รวมถึงทำงานปรุงอาหารบางส่วน ถือเป็นตำแหน่งที่ฝึกการเป็นหัวหน้าเชฟก็ว่าได้

  • พนักงานครัว

คือพนักงานประจำสเตชั่นปรุงอาหารต่างๆ เช่น ครัวทอด ครัวย่าง ครัวผัด ครัวเย็น และจัดเตรียมวัตถุดิบอาหารที่ต้องใช้ มีบทบาทต่อการทำเมนูอาหารให้เป็นไปตามสูตรมาตรฐาน และหากจัดการได้ดีก็จะช่วยลด waste ของอาหารได้

  • พนักงานทำความสะอาดในครัว

ตำแหน่งสำหรับคนสู้งานในครัว ดูแลเครื่องใช้ให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงจะเป็นคนที่ช่วยสังเกตผลตอบรับของเมนู จากสิ่งที่เหลืออยู่ในจานได้ ว่าเมนูไหนที่ไม่ถูกปาก หรือลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ทานอะไรบ้าง นอกจากนี้ เชฟหลายๆ คนยังเริ่มต้นงานในร้านอาหารจากตำแหน่งพื้นฐานนี้ด้วย

 พนักงานหน้าร้าน

พนักงานหน้าร้านก็เปรียบเหมือนพนักงานต้อนรับ คอยบริการลูกค้าให้ได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไป ซึ่งการบริการของร้านสามารถเป็นทั้งจุดเด่น และจุดด้อยของร้านได้เลย จากรีวิวร้านอาหารส่วนใหญ่ก็มักจะติชมการบริการของพนักงานในร้านไว้ด้วย ตำแหน่งของพนักงานหน้าร้านแบ่งได้เป็น 

ผู้จัดการ

  • ผู้จัดการร้าน 

ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมความเรียบร้อยโดยรวมของร้าน มีอำนาจในการตัดสินใจในร้าน หน้าที่หลักๆ คือการวางแผนการทำงานของพนักงานให้เหมาะสม สั่งซื้อของที่จำเป็น บริการลูกค้าและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตรวจสอบยอดขายเพื่อรายงานแก่เจ้าของร้าน และจ้างหรือเลิกจ้างพนักงาน ดังนั้น ผู้จัดการจึงเปรียบเหมือนตัวแทนของเจ้าของร้าน และมีบทบาทเยอะมากที่จะทำให้ร้านประสบความสำเร็จ

  • พนักงานต้อนรับ 

ในร้านขนาดใหญ่อาจจะมีพนักงานต้อนรับอยู่ด้านหน้าของร้าน เพื่อคอยรับลูกค้า แนะนำเมนูเบื้องต้น และจัดคิวลูกค้า ตำแหน่งนี้พนักงานต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มรับแขก และสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้

  • แคชเชียร์ 

พนักงานในหน้าที่นี้ต้องดูแลเงินของร้าน บางร้านอาจจะให้รับจองโต๊ะ หรือตอบคำถามของลูกค้าทางโทรศัพท์คู่กันไปด้วย ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ มักจะใช้พนักงานที่น่าเชื่อถือ และทำงานในร้านมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง 

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

  • พนักงานเสิร์ฟ

ตำแหน่งที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดที่สุด เป็นภาพลักษณ์ของร้าน จึงควรจะมีใจรักในการบริการ พูดจาไพเราะ ต้องศึกษาข้อมูลเมนูอาหารในร้านเพื่อแนะนำให้แก่ลูกค้า รวมถึงส่งเสริมการขายอย่างเหมาะสม และมีไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ร้านที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่ก็จะให้พนักงานทำหน้าที่ทั้งต้อนรับ เสิร์ฟ จัดเก็บโต๊ะ และเป็นแคชเชียร์ไปพร้อมกัน 

ร้านอาหารอาศัยพนักงานหลายตำแหน่งมาทำงานร่วมกัน เจ้าของร้านจึงควรคัดเลือกคน มอบหมายงานอย่างเหมาะสม สร้างระเบียบและมาตรฐานการทำงาน โดยอย่าลืมส่งเสริมบรรยากาศในการทำงานที่ดี เพื่อความสุขในการทำงานของทุกคน และรักษาพนักงานที่ดีให้อยู่กับร้านได้ยาวๆ นะครับ 

 

เรื่องแนะนำ

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” คือเมนูเดียวกันไหม?

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูคิดไม่ตก ทั้งร้านและลูกค้า สั่งอันนี้ได้อีกอย่าง ตกลงเมนูเดียวกันไหม? “กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูเดียวกันหรือเปล่า? เป็นเมนูที่ค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับทั้งคนกิน คนขาย เป็นอย่างมากกับเมนู “กะหล่ำผัดน้ำปลา” และ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” ที่บางทีก็ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างลูกค้าและร้านได้ เมื่อเมนูนี้มาเสิร์ฟ ซึ่งล่าสุดก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งได้มาทวีตภาพเปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ว่าจริง ๆ แล้ว 2 เมนูนี้ คือคนละเมนูกัน! โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ได้ทวีตรูป 2 เมนูที่เป็นประเด็นพร้อมข้อความว่า “เทียบให้เห็นภาพ ซ้าย กะหล่ำ “ผัดน้ำปลา” ขวา กะหล่ำ “ทอดน้ำปลา” ที่เรามีปัญหาเพราะร้านอาหารส่วนมากจะเขียนลงเมนูว่า กะหล่ำทอดน้ำปลา แต่ทำออกมาหน้าตาแบบกะหล่ำผัด กะหล่ำผัดน้ำปลาจะน้ำเจิ่งนอง ผัดนิ่ม กะหล่ำทอดน้ำปลาจะแห้ง น้ำมันเคลือบผิวกะหล่ำ เกรียม ๆ น้ำปลาไหม้ ต่างอย่างเห็นได้ชัด” 🔸ความเห็นชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นแชร์ประสบการณ์ของตนเองด้วยเหมือนกัน เช่น 🗣💬 “เคยทำให้แฟนกินครั้งนึง เราทำออกมาแบบขวา ผช.บอกทำกับข้าวแค่นี้ก็ไหม้ […]

เทคนิค วางผังครัว ให้ได้อาหารมากขึ้น ลดต้นทุนได้มหาศาล!

ทำครัวร้านอาหารใหญ่ ๆ เสียค่าใช้จ่ายสูง เหลือพื้นที่ขายนิดเดียว ทำกี่ปีถึงจะคืนทุน  แล้วถ้าลูกค้าเยอะแต่ทำครัวไว้เล็ก ทำอาหารออกไม่ทัน ขายกันทั้งวันรายได้นิดเดียว แถมลูกค้าหนีเพราะช้าอีก เพราะครัวไม่ใช่แค่พื้นที่ทำอาหาร แต่เป็นปัจจัยสำคัญของการทำร้านอาหารว่าจะทำรายได้ให้คุณได้แค่ไหน การวางระบบร้านอาหารโดยคำนึงถึงครัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดีก่อน แล้วครัวที่ดีต้องมีการ วางผังครัว อย่างไร?   ครัวที่ดีสัมพันธ์กับตุ้นทุนอย่างไร ต้นทุนแรงงาน ขนาดครัวที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถกำหนดกำลังคนในการทำงานได้ ช่วยลดต้นทุนแรงงานที่ไม่จำเป็น มีการปฏิบัติงานที่ได้ประสิทธิภาพ ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์และการใช้งาน ต้นทุนวัตถุดิบ ผังครัวที่ดีต้องคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการจัดการวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ พื้นที่เตรียม การปรุง พื้นที่ทำความสะอาด ที่ง่ายต่อการใช้งาน การลดโอกาสของเสีย ช่วยให้เกิดต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสม ร้านจึงสามารถมีรายได้สุทธิที่มากขึ้น ต้นทุนเวลา การวางผังครัวที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ในการใช้งานทำให้ออกอาหารช้า ขายได้น้อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาพีคไทม์ที่ร้านต้องสามารถรันให้เร็วมากกว่าปกติ ผังครัวที่ไม่ได้คิดเผื่อการจัดเก็บวัตถุดิบ อาจทำให้เกิดต้นทุนแฝง เช่น ต้นทุนเวลาในการไปซื้อของที่ขาด เสียหาย ครัวควรมีขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม             ควรกำหนดให้สัดส่วนของครัวสอดคล้องกับพื้นที่ขาย โดยมีพื้นที่เหมาะสมกับการปรุงและจัดเก็บวัตถุดิบ พื้นที่ครัวควรมีขนาด 20-30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด  เนื่องจากครัวถือเป็นพื้นที่ใหญ่ในการออกแบบร้านอาหาร ซึ่งส่งผลกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครัวใหญ่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย การกำหนดพื้นที่ครัวที่เหมาะสมจึงต้องสอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้งานที่แท้จริง ซึ่งจะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอาหารต่ำลง คืนทุนได้เร็วขึ้น   […]

ไผ่ทอง ไอศกรีม

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้าน ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

ถอดบทเรียน ทำไมสุกี้ตี๋น้อยถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.?

ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.! ถ้าเราลูกค้าเยอะ เปิดเพิ่มอย่างเขาได้ไหม ? เชื่อว่าใครที่เป็นชาวธนบุเรี่ยน หรือคนฝั่งธนฯ น่าจะต้องเคยเห็นหรือได้ยินว่าตอนนี้เขามีตลาดมาเปิดใหม่ตรงถนนบรมฯ ชื่อ “ตลาดธนบุรี” อยู่แถว ๆ พุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ และรวมร้านเด็ด ร้านดังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงแบรนด์ร้านอาหารมากมายไว้ที่นี่ หนึ่งในนั้นก็คือ “ สุกี้ตี๋น้อย ” แต่ทว่าใกล้ ๆ นี้ ที่ The Paseo Park กาญจนาภิเษก ก็มีสาขาของ สุกี้ตี๋น้อย อยู่นี่นา ลองเปิด Google Map ดู ก็คืออยู่ห่างกันไม่ถึง 5 กิโลเมตรเลยนะ เพราะอะไร ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเลือกเปิดสาขาใกล้ ๆ กันขนาดนี้ล่ะ เราลองมาวิเคราะห์กัน   กฎการเลือกทำเลของ “สุกี้ตี้น้อย”ถ้าใครเคยได้ฟังบทสัมภาษณ์ของคุณเฟิร์น นัทธมน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.