ใจเขา ใจเรา...สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก

โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน

 

ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการ

ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า

 

ต้องมองภาพรวมให้ออก วางแผนหรือมองล่วงหน้าไปยาวๆ

เมื่อเราเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร การเจอสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงแบบนี้ก็ต้องมีการจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ควรทำตามต่อจากนี้คือการวางแผน และถอยออกมาจากจุดที่ยืนอยู่หนึ่งก้าว มองภาพรวมให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ไม่ได้โฟกัสแค่เรื่องธุรกิจแล้วว่าจะเป็นอย่างไรต่อ แต่ต้องมองให้ลึกไปถึงสายพานของธุรกิจด้วยว่ามีใครได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้บ้าง

ผู้ประกอบการหลายคนอาจวางแผนสถานการณ์นี้ไว้แค่ 3 เดือน แต่ผมอยากให้มองภาพไปไกลกว่านั้นครับ อาจจะต้องวางแผนสำรองไว้มากกว่า 6 เดือน หรือประมาณ 1 – 2 ปีเลยด้วยซ้ำ ลองนึกภาพดูว่าหากวิกฤตินี้อยู่กับเราไปถึงหนึ่งปี พนักงานเสิร์ฟ พนักงานส่งของ เชฟ หรือแคชเชียร์ จะใช้ชีวิตอยู่กันได้อย่างไร?

 

ลับหินที่อยู่ในมือให้กลายเป็นเพชร

แน่นอนว่าความใส่ใจต่อพนักงานในช่วงสถานการณ์ยากลำบากเช่นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก นอกจากการดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือการรักษาพนักงานที่มีอยู่ในมือ ไม่ให้หล่นหายไป อาจดูย้อนแย้งในเมื่อไม่มีรายได้เข้า ย่อมขาดทุน ต้องตัดงบในส่วนการจ้างพนักงานทิ้ง ยอมเฉือนเนื้อตัวเองตอนนี้ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดไปก่อน ไม่ใช่เก็บพนักงานไว้  แต่ผมอยากให้นึกภาพไปไกลอย่างนี้ครับ

หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติแล้ว ธุรกิจร้านอาหารสามารถดำเนินการได้  ผู้ประกอบการต้องสรรหาพนักงานใหม่นะครับ เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ นอกจากเสียเวลาคัดเลือกพนักงานที่ดีที่สุดแล้ว ยังจะต้องมาเรียนรู้งานกันใหม่ด้วย แทนที่จะเป็นการลดต้นทุนเดิม แต่ยังต้องเสียค่าเทรนนิ่ง ค่ายูนิฟอร์ม หรืออาจจะมีสวัสดิการอื่นๆ เพิ่มเติมอีก

ฉะนั้นหากผู้ประกอบการยังคงรักษาพนักงานที่มีอยู่ไว้ ร่วมกันผ่านวิกฤติอันเลวร้ายไปด้วยกัน เราจะได้พนักงานที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ เข้าใจในตัวขององค์กรอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังมีความผูกพันธ์กับบริษัทมากขึ้นกว่าเดิม เพียงแต่ผู้ประกอบการจะต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือพนักงานอย่างเต็มที่ เข้าใจปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญอย่างแท้จริง และพร้อมยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็นอยู่ตอนนี้ การจะพาธุรกิจตัวเองให้รอดก็แทบกระอักเลือดออกมาแล้ว การจะรักษาพนักงานเอาไว้จึงเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ซึ่งด้วยโจทย์ข้อนี้เองที่ทำให้เกิดโครงการ “เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ” โครงการดีๆ จากธนาคารกสิกรไทย ที่หวังช่วยให้ธุรกิจยังสามารถรักษาการจ้างงานเอาไว้ได้ โดยไม่ต้องเลิกจ้าง หรือแม้แต่ให้หยุดงานโดยไม่รับเงินเดือน

 

โครงการดีๆ ที่มาด้วยใจ แบ่งปันกันเป็นแพ็คคู่

โครงการนี้ธนาคารกสิกรไทยจะลดดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเงินที่ต้องเอามาจ่ายเป็นดอกเบี้ยไปจ่ายเป็นเงินเดือนให้พนักงาน ให้ยังมีรายได้และมีงานทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพนักงานรายได้น้อยที่ต้องพึ่งพาเงินเดือนในการเลี้ยงปากท้องของคนทั้งครอบครัว

แนวคิดของโครงการนี้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วน คือ เถ้าแก่ใจดี หรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการช่วยเหลือพนักงาน และเจ้าหนี้มีใจ หรือธนาคารกสิกรไทยซึ่งมองเห็นความสำคัญของพนักงานที่อยู่ในธุรกิจเหล่านั้นด้วย โดยวิธีช่วยเหลือที่จะทำให้เงินนี้ไปถึงมือคนที่ต้องการจริงๆ ที่ธนาคารทำได้ก็คือ สมมติว่า พนักงานมีเงินเดือน 1 หมื่นบาท  ธนาคารจะลดดอกเบี้ยให้เถ้าแก่ 5 พันบาท แล้วให้เถ้าแก่เอา 5 พันนี้ไปจ่ายพนักงาน และเมื่อรวมกับอีกครึ่งที่เถ้าแก่ต้องจ่ายอยู่แล้ว ก็จะทำให้พนักงานได้รับเงินเดือนเท่าเดิม เหมือนธนาคารและผู้ประกอบการช่วยกันจ่ายเงินเดือนให้พนักงานคนละครึ่งเพื่อให้พนักงานเหล่านี้มีรายได้ต่อไปจนกว่าวิกฤตจะคลี่คลายลง

นี่ถือเป็นโครงการดีๆ ที่จะช่วยพนักงานรายได้น้อยให้ไม่ถูกเลิกจ้างหรือลดเงินเดือน โดยโครงการนี้นำร่องช่วยเหลือไปแล้ว 2 เครือโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต และกำลังเดินหน้าขยับขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ด้วยงบประมาณ 500 ล้านบาท ที่หวังว่าน่าจะช่วยเหลือพนักงานรายได้น้อยทั่วประเทศได้กว่า 15,000 คนเลยทีเดียว

 

ทางด้านคุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย มองว่าผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้รุนแรงและต้องใช้เวลากว่าจะฟื้นตัว เพราะการค้าขายยังไม่เกิด เงินที่กู้ไปคือเงินที่นำไปหล่อเลี้ยงชีวิตคนทำงาน ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญอยู่ตรงที่เงินส่วนนี้ต้องถึงมือกลุ่มคนระดับล่างจริงๆ ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการติดตามที่พิสูจน์ได้ โปร่งใส และชัดเจน

สุดท้ายแล้วไม่ว่าอย่างไรทุกคนต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันหมด อยู่ที่ว่าจะมีสติรับมือกับเรื่องราวเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน นับได้ว่าอย่างน้อยก็เป็นเรื่องราวดีๆ ที่โครงการนี้เกิดขึ้น กสิกรไทยได้ให้ความสำคัญลูกค้า และยังห่วงใยไปถึงพนักงานที่ทำงานอยู่ในธุรกิจของลูกค้าสำหรับทางออกของวิกฤตในครั้งนี้ เราทุกคนต้องช่วยกัน ถ้าคนรายได้น้อยที่เหมือนเป็นรากฐานของสังคมอยู่ได้มั่นคง สังคมก็จะตั้งอยู่ได้อย่างยั่งยืน

เรื่องแนะนำ

6 ปัญหาที่ต้องระวัง  ในการนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

        การจะนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี เป็นทางเลือกกึ่งบังคับของผู้ประกอบการหลายๆท่าน ในช่วงที่มีการ Shutdown กรุงเทพฯ รวมถึงอีกหลายจังหวัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทำยอดขายทางออนไลน์ เพื่อชดเชยกับยอดขายหน้าร้านที่ลดลง รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการขายใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป ลองมาดูปัญหาที่ผู้ประกอบการควรระวังเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน!! หากต้องนำร้านอาหารเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี 6 ปัญหาที่ต้องระวัง  เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี 1. ไม่สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารได้         การส่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานของอาหาร โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอาหารจะต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ควรผ่านกระบวนการทำอาหารที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอกับปัญหารสชาติและคุณภาพของอาหารที่ด้อยลง ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากระยะเวลาในการจัดส่งที่ล่าช้า หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร เช่น อาหารทอด เมื่อนำบรรจุลงกล่องที่ปิดมิดชิด จะทำให้เกิดไอน้ำควบแน่นอยู่ที่ฝากล่อง และเกิดความชื้นทำให้อาหารนั้นไม่กรอบ รสชาติและสัมผัสของอาหารจึงไม่เหมือนเดิม ทางร้านควรมีแนวทางการแก้ไข โดยอาจจะเลือกใช้กล่องที่มีรูระบายความร้อน […]

ลูกค้าไม่พอใจ

เมื่อ ลูกค้าไม่พอใจ เราจะทำอย่างไรดี

แม้ว่าจะบริการดีสักแค่ไหน ก็อาจเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ ลูกค้าไม่พอใจ เจ้าของร้านก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ เราจึงมี 4วิธี ที่ช่วยให้สถานการณ์ผ่อนคลายลงมาแนะนำ

เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารต้องถอดเครื่องประดับ! แหล่งสะสมเชื้อโรค มาตรฐานที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ! เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี มาตรฐานความปลอดภัย ที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ เวลาทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ!!! รู้หรือไม่ว่าเครื่องประดับที่เราใส่ ๆ กันอยู่ทุกวันเนี่ย เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยนะ วันก่อนแอดได้เห็นโพสต์ที่เจ้าของร้านจิวเวลรีคนหนึ่งได้มาแชร์เป็นอุทาหรณ์ให้กับสมาชิกในกลุ่ม “เบเกอรี่พอเพียง” ถึงเรื่องการใส่เครื่องประดับทำขนมว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะการใส่แหวน เพราะว่ามันสกปรกมาก อีกทั้งยังได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของอาหารและร้านนั้น ๆ ด้วย 🔸แหล่งสะสมเชื้อโรค🤢 เจ้าของร้านจิวเวลรี่รายนี้ได้โพสต์ถึงประเด็นนี้ว่า “ว่ากันด้วยเรื่องของการใส่แหวนในการทำเบเกอรี่ ในฐานะของเจ้าของร้านจิวเวลรี่ อยากจะบอกทุกคนว่าให้ถอดก่อนทำเถอะค่ะ เพราะแหวนที่เราเห็นว่าสวยวิบวับเนี่ย ด้านในท้องแหวนหรือตามซอกเตยที่เกาะเพชร มันสกปรกมากเลยนะคะ เวลาเห็นคนที่ไลฟ์สดหรืออาจารย์ที่สอนตามคอร์สออนไลน์ใส่แหวนทำแล้วนี่รู้สึกไม่ดีทุกครั้ง เพราะเจอเวลาลูกค้าส่งแหวนมาทำความสะอาด มันไม่โอเคจริงๆ ค่ะ แล้วถ้าแม่ค้าใส่แหวนด้วยความเคยชินไม่ได้ถอด นึกภาพกันออกมั้ยคะว่าเรากำลังกินเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ แม้มันจะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม” พร้อมเสริมว่า “การทำความสะอาดแหวนทุกวันไม่ได้การันตีว่าแหวนเราจะสะอาดหมดจด เพราะตามซอกหลืบเล็กที่แปรงเข้าไม่ถึงยังมีเชื้อโรคที่สะสมอยู่ต้องทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เครื่องใหญ่แบบที่ใช้ในโรงงานเท่านั้น ถึงจะสะอาดจริง ๆ ซึ่งเธอยังได้บอกอีกว่าการมาโพสต์ในครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาโจมตีใคร หากทำให้ท่านใดรู้สึกเห็นต่าง หรือไม่พอใจก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย 🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 เมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มเบเกอรี่พอเพียงทั้งคนขายและลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์ว่าการใส่เครื่องประดับทำอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งคนทำเบเกอรีหลายคนก็ได้บอกว่าตั้งแต่ทำขนมขายก็ไม่ได้ใส่เครื่องประดับเลย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ความถนัด ความสะอาด เป็นต้น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.