เผยเคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่” - Amarin Academy

เผยเคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่”


ร้านเบเกอรี่ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสเช่นกัน เพราะจะไม่ใช่อาหารมื้อหลักที่ผู้บริโภคจะซื้อทุกวัน รวมถึงวัตถุดิบที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ในบทความนี้ อาจารย์จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา จากสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ ร้านเบเกอรี่ต้นแบบที่มี “ทอฟฟี่เค้ก” ในตำนาน และมีกลุ่มลูกค้าเป็นธุรกิจจัดเลี้ยง 
จะมาแนะนำเคล็ดลับการจัดการวัตถุดิบ และการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf Life Extension) ที่ผู้ประกอบการควรรู้ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเบเกอรี่ เพื่อลดการสูญเสียต้นทุนจากสินค้าที่หมดอายุ 

เคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่
จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่”

ร้านเบเกอรี่วิธีถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการขาย หรือลด waste จากสินค้าที่หมดอายุ
        โดยปกติสินค้าเบเกอรี่ที่เราวางจำหน่ายก็จะมีการหาอายุการเก็บรักษาอยู่แล้ว ในช่วงนี้ทางบริษัทที่อาจารย์ส่งสินค้าด้วยก็จะสั่งเป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น ถ้าเป็นเบเกอรี่ก็จะเลือกเป็นเบเกอรี่ที่มีค่า Water Activity (aw) หรือค่าความชื้นในสินค้าต่ำ โดยอาจจะเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้อายุการเก็บรักษานานขึ้น หรือใส่ซองดูดออกซิเจน (Oxygen absorber) เพื่อช่วยป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ และไม่ให้เบเกอรี่มีกลิ่นเหม็นหืน

        นอกจากนี้ ในส่วนของการเก็บรักษาวัตถุดิบบางชนิด เช่น ธัญพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียเพราะจุลินทรีย์ แต่เสียเพราะเหม็นหืนได้ง่าย เราอาจจะต้องหาอุปกรณ์มาช่วย เช่น การแพ็คสุญญากาศ (Vacuum packaging) ก็จะช่วยยืดอายุของวัตถุดิบ หรือแม้แต่สินค้าเองให้อยู่ได้นานขึ้น และก็มีการทดลองสินค้าหลายๆ ประการ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีอายุการเก็บรักษายาวขึ้น

        และอาจารย์เองก็สรุปไว้ให้ว่า สินค้าที่จะขายหน้าร้าน ถ้าเป็นอาหารสดอยากให้เน้นเรื่องความสะอาดก่อน เพราะถ้าห้องครัวที่ผลิตอาหาร และขั้นตอนการบรรจุสะอาด ก็จะช่วยยืดอายุอาหารได้ระดับหนึ่งแล้ว และอาจจะต้องเน้นการแช่สินค้าไว้ในตู้เย็น เพื่อให้สินค้าเมื่อถึงมือลูกค้าแล้วยังอยู่ได้นานต่อไปอีกหน่อย แต่ถ้าเราเอาอาหารสดมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ก็จะทำให้หมดอายุเร็วขึ้นจริงๆ เรื่องที่สองคือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ใช้บรรจุภัณฑ์ปิดสนิท มีตัวซองที่ช่วยดูดออกซิเจน ทำให้สินค้าหมดอายุได้ช้าลง

ร้านเบเกอรี่ เทคนิคการจัดการวัตถุดิบเบเกอรี่ และวัตถุดิบอื่นๆ

  • วัตถุดิบหลักในการทำเบเกอรี่ อย่างเช่น ไข่สด ที่ร้านจะเน้นการสั่งแบบวันเว้นวัน หรือ Just-in-Time ซึ่งเป็นการสั่งวัตถุดิบในจำนวนที่เหมาะสมและส่งในเวลาที่จำเป็นต้องใช้พอดี หรือถ้ากรณีที่มีปริมาณไข่ไม่มากนัก ก็สามารถนำไข่ไปแช่ตู้เย็นเพื่อยืดอายุได้แน่นอน 
  • สำหรับวัตถุดิบประเภทแป้ง จากประสบการณ์แล้วจะต้องเปิดถุงดูก่อน เพื่อตรวจสอบดูคุณภาพของแป้งที่ได้มาว่าเป็นแป้งใหม่จริง ไม่เก่า เราจึงจะนำไปใช้ และจะจัดซื้อเป็นรอบๆ ในปริมาณที่พอสมควร ไม่มากจนเกินไป หากไม่มีระบุวันที่ผลิตก็ต้องก็ควรจะบันทึกวันที่ติดไว้ เพื่อจัดเก็บและนำวัตถุดิบมาใช้แบบ First In First Out 
  • กรณีของวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เราจะมีการแบ่งเป็นถุงๆ สำหรับหยิบใช้งานได้ง่าย หรือแม้แต่พวกผัก ส่วนใหญ่ก็จะเตรียมไว้ก่อน โดยนำมาล้างน้ำ ผึ่งและซับให้แห้ง ผักบางชนิดถ้าล้างแล้วใบจะช้ำ เราก็จะยังไม่ล้าง แต่เลือกส่วนที่เน่าเสียทิ้งไปก่อน อย่างพริก เราจะเด็ดหางแล้วล้างน้ำ หลายคนอาจจะนึกว่าล้างไม่ได้แต่จริงๆ อาจารย์ล้างนะคะ ซับให้แห้งแล้วก็เอาทิชชู่รองไว้ที่กล่อง เอาทิชชู่ปิดทับอีกสักชั้น ปิดฝาเก็บได้นานเลย  
  • พวกเครื่องเทศ เมื่อซื้อมาก็แบ่งบรรจุให้เป็นถุงในปริมาณที่พอใช้งาน ยิ่งถ้ามีถุงสุญญากาศ (Vacuum pack) ยิ่งดีเลย จะช่วยรักษากลิ่นของเครื่องเทศ และทำให้เก็บไว้นานก็ยังรู้สึกใหม่อยู่เสมอ อย่าลืมใส่วันที่ให้เรียบร้อย ถ้าตัดถุงมาใช้ก็ต้องระบุวันที่เปิดใช้ และจะใช้ไปนานแค่ไหน ไม่ใช่ใช้ไปจนครบหนึ่งปีตามวันหมดอายุบนซอง เพราะเมื่อเปิดใช้แล้วอายุของเครื่องเทศก็จะลดลง และบางทีจากที่เป็นผงก็จะจับตัวเป็นก้อน ข้อแนะนำของอาจารย์คือ ถ้าตัดถุงใช้แล้วอยากจะให้ใช้หมดภายในหนึ่งเดือน เพื่อไม่ให้คุณภาพของวัตถุดิบลดลง และลด waste ที่เกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ดี

ร้านเบเกอรี่
เมื่อไหร่จะต้องหาวิธียืดอายุสินค้า? 

        แนวโน้มสินค้าว่าต้องการยืดอายุหรือไม่ขึ้นอยู่กับลูกค้า เพราะเดิมเบเกอรี่ส่วนใหญ่ที่เป็นรายได้หลักของเราเป็นเบเกอรี่สด แต่ในช่วงนี้ลูกค้าเกือบทุกรายที่ซื้อสินค้าของเราไปขายต่อ โดยเฉพาะร้านกาแฟ ต้องการสินค้าประเภทที่ยืดอายุนะคะ ก็คือเป็นพวกขนมปังกรอบ คุกกี้ ขนมปังชุบช็อกโกแลต และขนมที่ไม่เสียไว มีอายุการเก็บรักษาประมาณ 3 เดือน และในสถานการณ์โควิดที่ลูกค้าออกมาซื้อสินค้ายาก สินค้าที่ยืดอายุได้เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้า 

        แต่ไม่ใช่ว่าเบเกอรี่สดไม่มีตลาดเลยนะคะ เพราะความอร่อยของเบเกอรี่ทำสดใหม่ ทอฟฟี่เค้กนุ่มๆ ชุ่มฉ่ำ ก็ยังเป็นที่ต้องการของลูกค้า และสามารถสั่งซื้อผ่านทางเดลิเวอรีค่ะ แค่การเพิ่มสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษานานมาเป็นทางเลือก และลูกค้าเองก็อยากให้เราหาวิธียืดอายุทอฟฟี่เค้กให้นานขึ้น เพื่อจะส่งไปขายไกลๆ ได้ 

        สรุปคือขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด แต่ละผู้ประกอบการจะมีจุดเด่นของตัวเอง ถ้าหากว่ายืดอายุสินค้าให้ส่งไปขายได้ไกลขึ้น อยู่ได้นานขึ้นได้ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจ และเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ได้ค่ะ 

เรื่องแนะนำ

ร้าน สวนผัก โอ้กะจู๋ ร้านอาหาร 100 คิว ธุรกิจดังแห่งปี

นั่งรอ ยืนรอ ช็อปปิ้งรอ เดินกลับมาที่ร้านก็ยังไม่ถึงคิว! เดินวนแล้วววว วนอีก  แต่คิวก็ไม่มีทีท่าจะลดลงเลย! ภาพคนยืนรอต่อคิวหน้าร้าน โอ้กะจู๋  ยังติดตาแอดมินมาจนถึงทุกวันนี้ วันธรรมดา หรือวันหยุดสุดสัปดาห์เสาร์อาทิตย์ โอ้กะจู๋ก็ยังคงแน่นด้วยคิวเป็นร้อยๆ ประวัติและข้อมูลเบื้องต้นเพื่อน ๆ คงพอหาอ่านได้จากพี่กู๋ (Google) อยู่บ้างแล้ว จากที่แอดมินคือหนึ่งในคนที่ไปรอคิวนานมาก บทความนี้จึงอยากวิเคราะห์จุดแข็งว่าเพราะเหตุใดที่ทำให้ผู้คนชื่นชอบและยอมมายืนต่อคิว “โอ้กะจู๋ ร้านอาหาร 100 คิว” นานขนาดนี้ได้ วันนี้ต้องยอมรับเลยว่า ‘โอ้กะจู๋’ คือร้านอาหารออร์แกนิกที่มาแรงสุดๆ เพราะเดินผ่านกี่ครั้งคนก็เต็มร้านจนต้องรอคิวกันนานสองนาน ความสำเร็จที่มัดใจคนได้แบบนี้ คงตามรอยสโลแกนร้านที่ว่า “ปลูกผักเพราะรักแม่” การให้ความใส่ใจกับลูกค้า เปรียบเสมือนว่าเขาคือคนในครอบครัว การทำอาหารจากใจ ปรุงด้วยวัตถุดิบที่สด สะอาด เสิร์ฟจานโตๆ จนกลายเป็นที่จดจำของลูกค้าไปแล้ว การทำอาหารทุกจานให้ออกมาดูดี มีคุณภาพ เหมือนกับทำให้แม่ทาน จนเกิดเป็นสโลแกน “โอ้กะจู๋ ปลูกผักเพราะรักแม่” ที่เปรียบลูกค้าเหมือนเป็นคนในครอบครัว ควรได้ทานอาหารดีๆ สด สะอาด และปรุงด้วยใจ แต่คงไม่ใช่แค่การเลือกดำเนินธุรกิจตามสโลแกนร้านอย่างเดียว ที่ทำให้ “โอ้กะจู๋” ประสบความสำเร็จ จนถูกพูดถึงเป็นวงกว้างอย่างเช่นทุกวันนี้ โอ้กะจู๋ ร้านอาหาร 100 […]

เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

สำรวจตัวเองให้พร้อม ก่อนตัดสินใจ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

ปัจจุบันจะสังเกตได้ว่า ร้านอาหารที่อยู่ภายในศูนย์การค้านั้น มีมากมายหลากหลายแบรนด์ ซึ่งก็มีทั้งแบรนด์ใหญ่ ร้านดัง หรือร้านที่ไม่ใช่ร้านดัง แต่เป็นร้านใหม่ๆ ที่เข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งร้านเล็กๆ ก็สามารถที่จะ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ได้เช่นกัน สำหรับใครที่กำลังมีความคิดว่า อยากขยายสาขาธุรกิจอาหารของตัวเองมาอยู่ในศูนย์การค้าบ้าง คุณต้องสำรวจความพร้อมของตัวเองก่อน แล้วความพร้อมที่ว่านี้หมายถึงความพร้อมในด้านใดบ้าง คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มีคำแนะนำมาฝากกัน   สำรวจความพร้อม ก่อนตัดสินใจ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า   1.เจ้าของร้านต้องสำรวจความพร้อมในการยอมรับกฎระเบียบของศูนย์การค้า ในแง่ที่ศูนย์การค้านั้น จะไม่เหมือนการเปิดแบบ Stand Alone เพราะจะมีกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ค่อนข้างละเอียดในการปฏิบัติตาม เหมือนเราเป็นลูกบ้านในหมู่บ้าน ที่ต้องปฏิบัติตามกฎ ซึ่งถ้าพร้อมและรับได้กับข้อบังคับต่างๆของศูนย์การค้า ก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุที่จะตามมาได้ ซึ่งความจริงแล้วกฎระเบียบไม่ได้ยุ่งยากมากอย่างที่คิด เพราะส่วนใหญ่จะเป็นกฎที่เน้นเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลักมากกว่า 2. เจ้าของร้านต้องสำรวจความพร้อมเรื่องเงินลงทุน ว่ามีเงินลงทุนที่พร้อมจะ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ได้เพียงพอหรือไม่ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่จะตามมา เพราะเจ้าของร้านต้องมีเงินลงทุนที่เพียงพอ ในส่วนของงานก่อสร้าง การออกแบบ การจ้างผู้รับเหมา […]

Laemgate Infinite

Laemgate Infinite ยอดขาย 100 ล้านต่อปี!

Laemgate Infinite สามารถสร้างยอดขายได้ 100 ล้านบาทต่อปี! เพราะอะไรร้านอาหารทะเลเล็กๆ จึงสามารถสร้างตัวตนและความแตกต่างได้มากถึงเพียงนี้ ไปติดตามกัน

kuppadeli

เรียนรู้จากข้อผิดพลาด พัฒนาสู่ความสำเร็จ Kuppadeli

Kuppadeli คือธุรกิจที่เรา “อยากทำ แต่ไม่มีความรู้” จึงต้องลองผิดลองถูก เรียนรู้จากข้อผิดพลาด กว่าจะรู้เทคนิคการบริหารจัดการ ก็ต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.